เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 3 "อ้อคำ" และ "บวกควาย"

อ้างอิง : หนังสือเพลงชีวิต “ศิลปินครูบ้านป่า สลา คุณวุฒิ”
สำนักพิมพ์มิ่งมิตร เขียนโดย ชูเกียรติ ฉาไธสง , คมทัพแสง
บรรณาธิการ แคน สาลิกา เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 3 "อ้อคำ" และ "บวกควาย"
โดย แคน สาลิกา : มีนาคม 2545
ดอกนุ่นสีขาวปลิวคว้างไปมาตามสายลมบางเบาที่พัดโบกรอบตัว มันหมุนวนไปรอบ ๆ แล้วค่อย ตกลงซบนิ่งบนพื้นดินเหมือนคนสิ้นแรงดวงตะวันยามบ่ายจัดจ้าราวจะเน้นภาพเบื้องหน้าให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ตึกอาคารใหย๋น้อยปลูกสร้างเรียงรายกลางหมู่ไม้เขียวที่ขึ้นแซมประปราย กลุ่มคนหนุ่มสาวในชุดนักศึกษาเดินขวักไขว่สวนกันไปมา นั้นเป็นอาณาบริเวณของวิทยาลัยครูอุบลราชธานี ซึ่งสลาได้เข้ามาศึกษาต่อ
"ผมเรียนจบ ม.ศ.3 จากโรงเรียนป่าติ้ววิทยา เข้าเรียน ว.ค.อุบลฯ ช่วงปี 2520-2521 หลักสูตร ป.กศ.เตี้ย ในโครงการครูตำบล...ก่อนจบ ป.กศ.เตี้ยเทอมสุดท้าย มีเวลาว่างมาก หน้าห้องสมุดมีเวทีลานพอกให้เป็นที่แสดงกิจกรรมของนักศึกษา ตัวแทนทุกห้องก็จักกิจกรรมไปแสดงทุกบ่ายวันพฤหัสผมกับเพื่อนกลุ่มขี้ดื้อคิดหาวิธีไม่ออก ก็เลยพากันตั้งวงดนตรีง่าย ๆ ขึ้นมาทั้ง ๆ ที่ไม่มีใครเล่นดนตรีเป็นเลยสักคน วิธีการก็คือผ่าเปลือกไม้ไผ่ถึงเยื่อบางๆ ตัดเป็นเลาคล้ายคลุ่ยแล้วนำมาเป่าเอาเสียงแคน ตั้งชื่อ รักน้องฟอนลูกทุ่งแบบบ มีผมเป็นนักร้องนำ เอาเเพลงสายัณห์ สัญญา ชุดแดคนชื่อเจี๊ยบมาร้องและในช่วงนั้นมีเพลงรักไม่ชื่อฉ่ำที่รามคำแหงกำลังดัง ผมเลยประยุกต์เป็น รักไม่ชื่นฉ่ำที่ ว.ค. พอเรียนจบพวกเราก็แยกย้านกันไป"
สลาเล่าถึงฉากชีวิตนักเพลงสมัครเล่นของนักเรียนฝึกหัดครู ป.กศ.ต้น ซึ่งหลังจากเรียนจบแล้ว เขาเองไม่มีสิทธิ์สอบบรรจุครู เพราะอายุยังไม่ถึง 18ปีจึงเรียนต่อ ป.กศ.สูง เอกวิทยาศาสตร์
ตอนที่เรียนในวิชาเอกวิทยาศาสตร์ เขาก็ยังคงฝึกฝนการเขียนบทกวี และเรื่องสั้นอย่างสม่ำเสมอ จนเป็นที่ยอมรับของเพื่อนๆ ในห้อง เวลามีกิจกรรมนิทรรศการจัดบอร์ด สลามักถูกไหว้วานให้เขียนบทกลอน หรือเรื่องสั้นติดบอร์ดประกอบไปด้วยเพื่อสร้างสีสันอยู่ประจำ
ยุคนั้นบรรยากาศดนตรีของหมู่นักศึกษาโดยรวมมักนิยมเพลงแนวเพื่อชีวิตเป็นส่วนใหญ่ แม้รอยเชื่อมต่อของสายธารเพลงตระกูลนี้จะสะดุดลงบ้างอันเนื่องจากปัญหาการเมือง ทำให้วงดนตรีระดับ หัวขบวน อย่าง คาราวาน,กรรมาชน ฯลฯต่างต้องหลบลี้ภัยเผด็จการไปสู่เขตป่าเขากันถ้วนทั่วที่เหลือมีเพียงวง แฮมเมอร์ ซึ่งรับอิทธิพลทั้งด้านรูปแบบและเนื้อหาของคาราวานมาโดยไม่ผิดเพี้ยน ต่างกันเพียงวงแฮมเมอร์ดัดแปลงตัวเพลงให้เบากว่าคาราววานเท่านั้น
นักศึกษาวิชาเอกต่าง ๆ ตั้งตารอ เพื่อส่งรายชื่อการแสดงดนตรีของตัวเองในวันพฤหัสบดีเป็นประจำ ทำให้เอกวิทยาศาสตร์ต้องหันมาปรึกษากันเพื่อทำวงสมัคเล่นกับเขาบ้าง แม้โดยรวมจะมีแต่คนขี้อายก็ตาม
ยามนั้นดอกไม้ดนตรีต่างแข่งกันเบ่งบานเหนือวิทยายครูอุบลฯจนลานตา สลาให้ข้อมูลตรงนี้ว่า ความกึกคักส่วนหนึ่งมาจากเพื่อนนักดนตรีหนุ่มที่มีฝีมือจัดจ้านนาม วิทยา กีฬา ซึ่งมีโอกาสมาเรียนในรั้วสถาบันนี้เช่นกัน วิทยา กีฬา โดดเด่นเป็นอย่างยิ่ง เพราะได้รับเชิญร้องเพลงประกอบภาพยนตร์เกี่ยวกับชีวิตครูหลาย ๆเรื่อง ที่กำกับการแสดงโดย สุรสีห์ ผาธรรมอาทิ ครูดอย, ครูวิบาก ...การได้ร้องเพลงในภาพยนตร์เป็นเรื่องยิ่งใหญ่มากสำหรับความรู้สึกของเพื่อน ๆ นักศึกษาช่วงวัยขนาดนั้น วิทยาและเพื่อน ๆ กลุ่มของเขา ตั้งวงดตนรีในรั่ววิทยาลัยชื่อวง สุดสะแนน เป็นที่ฮือฮามาก ตรงจุดนี้เองทำให้กลุ่มเอกวิทยาศาสตร์ของสลาตัดสินใจตั้งวงดนตรีของตัวเองบ้าง โดยใช้ชื่อว่า วงอ้อคำ " อ้อคำ " เป็นวงดนตรีสไตล์โฟล์คซองที่เรียบง่าย มีกีตาร์โปร่งเพียง 3 ตัวเท่านั้น... สลารับหน้าที่ร้องนำเพราะเขาเล่นตดตรีไม่เป็นแม้แต่ชิ้นเดียวก่อนทำวงนี้สลาไปซุ่มดูวงอื่น ๆ แสดงอย่างตั้งใจก่อน ซึ่งทำให้ตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างยิ่งเพราะล้วนแล้วแต่ฝีมือฉกาจฉกรรจ์ทั้งนั้น ว่ากันโดยทักษะทางดนตรีแล้ว "อ้อคำ" สู้วงอื่นไม่ได้เลย ยิ่งถ้าร้องเพลงของศิลปินดังๆ ที่วงทั่วไปนิยมร้องแล้วก็ยิ่งเห็นข้อแตกต่างทางฝีมือชัดเจนยิ่งขึ้น (ขณะนั้นวงดนตรีโดยรวมจะเล่นเพลงของ แฮมเมอร์ เป็นหลัก) ดังนั้น พวกเขาจึงต้องหา "จุดขาย" ของตัวเองให้ได้เพื่อลบข้อด้ออยที่มีอยู่ และนี่เป็นก้าวแรกของการแสวงหามุมมองเพื่อสื่อสารบทเพลงสู่วงกว้างของสลา คุณวุฒิ สลา วางจุดขายของอ้อคำไว้ที่การเน้นกลิ่นอายความเป็นพื้นบ้านอีสาน ไม่ว่าจะด้านเนื้อหาหรือภาษามาใส่ให้มากที่สุด และต้องสร้างผลงานเพลงของตัวเองเป็นหลัก ไม่งั้นคงสู้วงอื่นไม่ได้แน่ ภาพชนบทของหมู่บ้านนาหมอม้าที่เขาจากมาแวบเข้ามาในความคิดเป็นฉาก ๆ กลางผืนนากว้างนั้นมีฝูงควายเดินเล็มหญ้าเป็นกลุ่มๆ บางตัวก็ลงนอนแช่ในปลักโคลนตมอย่างสบายใจ กลิ่นอายตรงนั้นจัดจ้านจนเขารู้สึกและสัมผัสได้แม้จะเพียงในจิตนาการ สลา แต่งเพลง บวกควาย (เป็นภาษาอีสาน หมายถึง แอ่งน้ำที่ควายนอนพัก ) สำหรับวงอ้อคำเป็นเพลงแรก และหลังจากนั้นเพลงอื่นๆก็ตามมาอย่างไม่ขาดสายโดยเน้นเนื้อหาพื้นถิ่นใกล้ตัวเป็นหลัก ความรู้สึกแรกของการขึ้นเวทีเป็นสิ่งที่เขาไม่มีวันลืม แม้จะรักการร้องเพลงมาตั้งแต่เด็กแต่เมื่อเจอสานตาคนฟังนับร้อยคู่ หนุ่มน้อยจากบานนาหมอม้าก็ยังอดรู้สึกประหม่าไม่ได้ เหงื่อปห่งความตื่นเต้นแตกซิกไปทั้งร่าง อย่างไรก็ตามวงอ้อคำก็ได้รับความนิยมจากหนุ่มสาวชาว ว.ค. อุบลฯพอสมควร โดยเฉพาะเพลง สาวชาวหอ ที่เขาแต่งเพื่อความสนุกสนานยิ่งได้รับความนิยมมากกว่าเพื่อน "สลาไม่ลองเมาเพลง สาวชาวหอ ไปขายหรอให้พวกศิลปินดัง ๆ ร้อง อาจจะดังงกับเขาบ้างน่ะ" เพื่อนร่วมชั้นเรียนแสดงความเห็นพร้อมกับยุส่ง แรกๆ เขาก็ไม่สนสจนัก แต่พแมีคนพูดถึงเพลงนี้บ่อย ๆ ก็ทำให้สลาเกิดแรงบันกาลใจบางอย่างขึ้นมา หากเพลงใดเพลงกนึ่งที่เขาแต่งมีโอกาสได้บันทึกแผ่นเสียงก็คงมีความสุขไม่น้อย ความรื่นรมย์ใดเล่าจะเทียบเท่ามีคนชื่นชมเพลงที่เราแต่งแล้วนำไปร้องต่อ ๆ กันไป ตอนนั้น หากสลา คุณวุฒิ จะรู้ว่าในอนาคนเพลงสาวชาวหอนี้มีนักร้องลูกทุ่งระดับประเทศคนหนั่งนำไปร้องในวงกว้าง เขาก็คงตื่นเต้นจำทำอะไรไม่ถูกเป็นแน่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น