เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 1 ศิลปินครูบ้านบ้านป่า

อ้างอิง : หนังสือเพลงชีวิต “ศิลปินครูบ้านป่า สลา คุณวุฒิ” สำนักพิมพ์มิ่งมิตร เขียนโดย ชูเกียรติ ฉาไธสง , คม ทัพแสง บรรณาธิการ แคน สาลิกา เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 1 ศิลปินครูบ้านบ้านป่า โดยแคน สาลิกา : มีนาคม 2545
พ.ศ. ที่ผมเดินทางมาถึงอำนาจเจริญ ก่อนจะเตลิดเลยเข้าสู่ภูไพร..ภูโพนทอง “สลา คุณวุฒิ” ยังเป็นนักเรียนขาสั้นถีบจักรยานจากบ้านนาหมอม้า ไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนป้าติ้ววิทยา เมื่อผมเดินทางกลับมาจากภูไพร หนุ่มอำนาจเจริญคนนี้เป็นครูประจำการที่โรงเรียนบ้านไร่ขี และที่นี่เราได้พบกันครั้งแรก เวลานั้นผมเป็นนักเขียน-นักข่าวอิสระ เขียนบทความ เขียนสารคดีส่งให้นิตยสารการเมืองรายสัปดาห์หลายฉบับวัตถุดิบในการทำงานของผม ก็คือ เรื่องราวความเป็นไปและความเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมชนบทอีสาน มนต์เพลง “เทียนก้อม” ชุดแรก เป็นแรงดลใจให้ผมขับมอเตอร์ไซค์ (เกือบฮ่าง) มาหาครูหนุ่มถึงบ้านพักครูที่โรงเรียนบ้านไร่ขี วันนั้นเราพูดคุยกันหลายเรื่อง โดยเฉพาะแนวเพลงเพื่อชีวิตที่มีกลิ่นอายเพลงลูกทุ่งของ “เทียนก้อม” ซึ่งต่างไปจากบทเพลงของวงดนตรี “คนโคก” ที่ยังยึดติดอยู่กับแนวเพลงของ “แฮมเมอร์” และ “ฟ้าสาง” อีกหลายสิบปีต่อมา ผมเฝ้าติดตามข่าวความเคลื่อนไหวของครูหนุ่มอย่างเงียบๆ และออกแรงเชียร์เขาอีกครั้งในหน้าหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์ เมื่อครูหนุ่มปรากฏตัวในนามศิลปินครูบ้านป่า “จังหัน” กับอัลบั้ม “สาวตีข้าว” ผมอยากให้เขาประสบความสำเร็จ ทั้งที่รู้สึกว่าเพลงแนวนี้ ของสลาและเพื่อนยังไม่ โดนใจผม ที่ชื่นชอบเพลงลูกทุ่งมากกว่าเพลงเพื่อชีวิต ตรงกันข้าม ผมกลับรู้สึกตื่นเต้นกับเมื่อเห็นชื่อ “สลา คุณวุฒิ”ปรากอยู่บนปาเทปชุด “ล้างจานในงานแต่ง” ของศิริพร อำไพรพงษ์ หมอลำสาวเจ้าของฉายา “แหบเสน่ห์” ที่โด่งดังมากจากกลอนลำเดินชื่อ “โบว์รักสีดำ” ผลงานการประพันธ์ของ สุพรรณ ชื่นชม ล้างจานในงานแต่งเป็นกลอนลำที่มีเนื้อหาเป็นเรื่องสั้นเรื่องหนึ่ง ที่ผู้แต่งหยิบเอา มุมเล็กๆ จากงบานแต่งงานของบ่าวสาวคู่หนึ่งมาเขียน ซึ่งต่างจากกลอนลำสลับเพลงทั่วไปจึงไม่แปลกที่กลอนลำกลอนนี้จะได้รับความนิยมจากแฟน ๆ ไม่แพ้ “โบว์รักสีดำ” ดูเหมือนว่าแนวทางการเขียนกลอนลำของสลาไม่ต่างจากแนวทางการเขียนเพลงลูกทุ่งของเขา ที่เน้นการสร้างพล็อตเรื่องและการนำเสนอเรื่องที่กระชับ ไม่เยิ่นเย้อไม่วกวน พูดง่าย ๆ ว่าคุมเรื่องให้อยู่ตั้งแต่ตนจนจบ พลันที่เศรษฐกิจสังคมไทยตกอยู่ในสภาพเดียวกับคนไข้อาการโคม่า เมื่อต้น พ.ศ. 2541 บทเพลง “ยาใจคนจน” ของสลา ก็มาได้ถูกที่ถูกเวลา กลายเป็ยจุดเริ่มของเพลงลูกทุ่งสายพันธ์ใหม่ ที่มีส่วนผสมระหว่าง พาฝัน กับ เพื่อชีวิต โดยมีกลวิธีนำเสนอแบบเรื่องสั้นเป็นจุดแข็ง และแนวเพลงที่ใกล้ตัวผู้ฟัง และทุกคนจับต้องได้เป็นจุดขาย ปรากฏการณ์ที่น่าบันทึกไว้ในวงการลูกทุ่งระหว่าง พ.ศ. ฟองสบู่แตก จนถึงพ.ศ. คิดใหม่ ทำใหม่ ก็คือบทเพลงจากปลายปากกาของสลา ที่บับขานโดยนักร้อง ชาย-หญิงหลายคนหลายค่าย ได้รับความนิยมจากแฟนเพลงอย่างต่อเนื่อง 2541-2542 เพลงยาใจคนจน, ขายแรงแต่งนาง,พี่เมาวันเขาหมั่น,น้ำตาผ่าเหล้า,ติด ร.หัวใจ 2543 เพลงรองเท้าหน้าห้อง, เหนื่อยไหมคนดี,ปริญญาใจ,หัวใจคิดฮอด,กระเป๋าแบนแฟนทื้ง 2544 เพลงแรงใจรายวัน,ทำบาปบ่ลง,นักสู้ ม.3 ,ต้องมีสักวัน,สัญญากับใจ,เพื่อรักเพื่อเรา เพลงเหล่านี้มีส่วนสำคัญในการต่ออายุเพลงลูกทุ่งให้ยืนยาวออกไปและเพลงก็ประสบความสำเร็จทางธุรกิจหรือเรียกขานกันในหมู่นายห้างเทปว่าเป็น”เพลงขายได้” บ่อยครั้งที่ผมได้อ่านบทวิจารณ์เพลงลูกทุ่งของนักวิชาการบางคนหรือผู้รู้บางคนท่าน รู้สึกหงุดหงิดที่คนเหล่านั้นมักจะมองแค่มิวสิควีดีโอเพลงลูกทุ่งทางหน้าจอทีวี ได้เห็นได้ยินแต่เพลงค่าแฟ่..อ้อนเสี่ย ฮ้อนป๋า หาผัว เลยพาลเหมารวมว่าวงการเพลงลูกทุ่งกำลังตกต่ำ หรือบางคนก็หลับตาฟันธง “ลูกทุ่งตายแล้ว” ไปโน่นเลยโดยไม่ยอมทำการบ้านเรื่องเพลงลูกทุ่ง พ.ศ.นี้อย่างจริงจัง ว่าไปแล้ว เพลงลูกทุ่งจำนวนมาก นับจาก พ.ศ.ฟองสบู่แตกเป็นต้นมา เป็นเพลงคูณภาพที่มีการคัดสรรพอสมควร เพราะเงินทุกบาททุกสตางค์นั้นมีค่ายิ่งนักในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ถ้าอัลบั้มไหนไม่มีเพลงที่ฟังได้จริง ก็อย่าหวังว่าจะได้เงินจากแฟนเพลง ต่อให้ลงทุนโปรโมต 5-10 ล้านบาทก็ตามที มีตัวอย่างให้เห็นกันบ่อย ๆ ในตลาดเพลงลูกทุ่ง ในนั้นก็มีเพลงของสลา อยู่จำนวนหนึ่งที่มีส่วนเสริมสร้างภูมิตานทานให้เพลงลูกทุ่งมีความเข้มแข็ง สู้กับมลพิษเพลงขยะได้ กวาจะมาถึงวันแห่งความสำเร็จของสลา คุณวุฒิ ในพ.ศ.ปัจจุบัน ดูจะใช้เวลายาวนาน และผ่านการเรียนรู้ การฝึกฝนจากสนามจริงหลายครั้งหลายหน มีทั้งสำเร็จและล้มเหลว สลาจึงไม่ใช่นักแต่งเพลงประเภท “โชคช่วย” หรือ “เส้นสาย” ได้ผู้ใหญ่อุปถัมภ์ เขาสู้ด้วยสมองและสองมือ พิสูจน์กันด้วยผลงานเหมือนอาชีพครู ที่เริ่มจาก “ครูน้อย” ทำงานหนักอยู่หลายปีจนได้เลื่อนขั้นเป็น”ครูใหญ่” หนังสือ เพลงชีวิต “ศิลปินครูบ้านป่า”สลา คุณวุฒิ จะบอกเล่าเรื่องราวของนักแต่งเพลงคนหนึ่ง ที่ใฝ่ฝันอย่างเป็นนักเขียนมารตั้งแต่เรียนชั้นมัธยม แต่ชะตาคนมิอาจฝืนฟ้าลิขิต ครูบ้านป่าจึงต้องจับปากกาเขียนเพลง และในท้ายที่สุดเขาก็พบเส้นทางเพลงที่นำไปสู่ความสำเร็จในระดับเดียวกับครูเพลงอาวุโสอีกหลายคนที่เคยได้รับในอดีต เหตุที่ผมรับอาสามารช่วยปรุงแต่งหนังสือเล่มนี้ บอกันตรงๆ ว่า ชื่นชอบผลงานของครูสลา ทั้งที่เป็นกลอนลำและเพลง ปรารถนาที่จะให้นักแต่งเพลงรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ชีวิตนักไต่ฝัน ที่มีความอดทน รอจังหวะและโอกาส แม้มันจะใช้เวลานาน 10 ปี 20 ปี ก็ต้องเฝ้ารอเฝ้าคอย และเพื่อให้ได้อรรถรสในการอ่านเพลงชีวิตครูบ้านป่า ผมจึงแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วน คือ “ ร้อยชีวีกวีเพลง” และ “คมกับสลา” ส่วนแรงนั้น ชูเกียรติ ฉาไธสง รับหน้าที่บันทึกและเรียงร้อยชีวิตสลา จากบ้านนาหมอม้าจนถึงบริษัทแกรมมี่ฯ ชูเกียรติ อาจไม่ใช่คอเพลงลูกทุ่ง แต่ก็ชอบเพลงกระทงหลงทาง ,ยาใจคนจน เขาจึงทำงานชิ้นนี้ด้วยความศรัทธาในฝีมือคนแต่งเพลง ทำให้งานไหลลื่น มีคนอ่านติดตามกันตั้งแต่พิมพ์เป็นตอนๆ ในนิตยสารเนชั่นสุดสัปดาห์ ส่วนที่สอง คม ทัพแสง เพื่อนรักสลาเข้าคลุกวงในปอกเปลือกชีวิตครูหนุ่ม สะท้อนภาพการไล่ล่าความฝันของ “บ่าวซำน้อย” และการต่อสู้ทางความคิดบนทางแพร่ง ว่าจะก้าวเดินไปสู่หนไหน..ระหว่างความจริงและความเพ้อฝัน คม ทัพแสง ไม่ใช่นักเขียนหน้าใหม่ ในยุควรรณกรรมเพื่อชีวิตเฟื่องฟู เรื่องสั้นและบทกวีของ คม ก็ปรากฏตามหน้านิตยสารการเมืองรายสัปดาห์อยู่เป็นประจำ ระยะหลังคมห่างหายไปจากเวทีวรรณกรรม เพราะมุ่งมั่นในการทำงานเพลงและครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เขาหวนกลับมาจับปากกาเขียนหนังสือ เพื่อเพื่อนรัก..เพื่อให้ผู้อ่านได้รู้จัก “สลา คุณวุฒิ” อีกด้านหนึ่ง ซึ่งเป็นด้านที่คมเห็นชัดที่สุด ผมรู้จัก คม ทัพแสง ในช่วงเปลวเพลิงสงครามบนภูเขายังไม่สงบ ก่อนที่ผมจะมาพบกับสลาที่บ้านพักครู ในช่วงหลัง ซึ่งจากวันนั้นถึงวันนี้ก็ผ่านมาเนิ่นนานแล้ว ครูสลาแห่งบ้านไร่ขี กับครูสลา-นักแต่งเพลงชื่อดัง ก็ยังเป็นครูสลาคนเดิมที่ผมรู้จัก แม้ความเป็นคนมีชื่อเสียงอาจทำให้เขาต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานไปบ้านแต่ก็ไม่ได้ทำลายจิตวิญญาณอิสระของศิลปินครูบ้านป่า ขอขอบคุณสลา คุณวุฒิ และครอบครัว ที่เปิดโอกาสให้ผม, ชูเกียรติ และคมได้ถ่ายทอดเพลงชีวิตอย่างทั่วด้าน ขอบคุณ “สำนักพิมพ์มิ่งมิตร” ที่เปิดเวทีให้เพลงชีวิตเพลงนี้ได้บรรเลง ขอบคุณผู้มีหัวใจรักเพลงลูกทุ่ง และรักวรรณกรรมไทย โดย แคน สาลิกา 2545

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น