คุณสมบัติของนักแต่งเพลงที่ดี

อ้างอิง : http://www.luktunginternet.com/romlod04.html คุณสมบัติของนักแต่งเพลงที่ดี 1. มีความรู้ 2. มีความคิด 3. มีฝีมือ - ดู ฟัง ถาม อ่าน เขียน คิด เปิดใจ เป็นคนมีจิตใจดี (เยอะๆ)? - คนทำงานศิลปะดีๆ จะต้องเป็นคนที่มีจิตใจดี งานศิลปะนั้นๆ จึงจะออกมาได้ดี? - คนที่จะดีได้ ต้องไม่มีความบกพร่องทางคุณธรรม? - เปิดใจ = รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น? -ธรรมชาติธรรมชาติของนักแต่งเพลงนั้นมักจะเป็นคนที่มีสมาธิดีสามารถอยู่นิ่งๆเพื่อนั่งคิดนั่งเขียนได้ เป็นเวลานาน เช่น 2-3 ชั่วโมงขึ้นไป เพราะฉะนั้นลองสำรวจตัวคุณเองดูว่า คุณเป็นคนสมาธิสั้นหรือไม่? - มีเวลาไม่ว่าจะเป็นงานอะไรก็ตาม ถ้าหากเรามีเวลาเต็มที่ให้กับมัน งานนั้นๆก็ย่อมจะออกมาดีเสมองานเขียนเพลงก็เช่นเดียวกัน? - ข้อมูลนักแต่งเพลงสามารถหาข้อมูลได้จากแหล่งมากมาย ไม่ว่าจะเป็น จากประสบการณ์ของตัวเองจาก จินตนาการ ความเข้าใจโลก หรือแม้กระทั่งจากการอ่านหนังสือ ดูหนังฟังเพลง เราสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาเป็นPlot ในการเขียนเพลงได้เป็นอย่างดี? - การประยุกต์ใช้คือการรู้จักที่จะนำข้อมูลที่ได้รับมา นำมาประยุกต์ใช้ในการแต่งเพลง เช่น เมื่อไปดูหนัง ในหนังมีประโยคเด็ดที่รู้สึกประทับใจ เราก็จดไว้ แล้วนำมาปรับแต่งเอามาลงในเพลงของเรา ไม่จำเป็นว่าต้องยกมาเลยทั้งประโยคก็ได้? - กะล่อนหมายถึง เป็นคนช่างพูด ช่างคิด ช่างเขียน ด้วยมุมมองที่หลากหลายกว่าชาวบ้านเขานั่นเอง? วิธีการแต่งเพลงในปัจจุบันเราจะพบว่านักแต่งเพลงมีวิธีการในการแต่งเพลงที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งเกิดจากความถนัดส่วนตัวของเขาเหล่านั้น ซึ่งแบ่งได้ดังต่อไปนี้ - แต่งคำร้องก่อน? - แต่งทำนองก่อน? - แต่งทั้งคำร้องและทำนองพร้อมๆกัน? - คิดคำแล้วคิดทำนองที่เหลือทีหลัง? โครงสร้างเพลง ตามมาตรฐานในปัจจุบันจะแบ่งโครงสร้างของเพลงออกเป็นท่อนๆ ดังต่อไปนี้ A1 A2 A3 ท่อนเหล่านี้มักจะมีเมโลดี้ที่เหมือนๆกัน? B ท่อนนี้นักแต่งเพลงบางคนเรียกว่า ท่อนคลาน คือเป็นการคลานเข้าไปหาท่อน Hook นั่นเอง? Hook เป็นประเด็นหลักของเรื่องราว หรือประเด็นหลักของเพลง? C เป็นท่อนแยก เป็นพวกประโยคสั้นๆ มีเมโลดี้ไม่เยอะมาก? มาตรฐานของคำร้อง การแต่งคำร้องให้ได้มาตรฐานนั้น ควรจะสำรวจดูว่ามีครบตามคุณสมบัติเหล่านี้หรือไม่? -ครบโน้ต (ในขั้นเบื้องต้นนี้ อย่าพยายามเพิ่มหรือลดตัวโน้ตที่คนทำทำนองแต่งมา พยายามฝึกเขียนคำให้ครบตามจำนวนโน้ตที่มีอยู่จะดีกว่า)? -ไม่เพี้ยน , ไม่เหน่อ ลองร้องตามดูว่ามันเหน่อมั้ย เพี้ยนมั้ย อย่าพยายามหลอกตัวเองว่านิดๆ หน่อยๆ พยายามหาคำที่สามารถให้เสียงได้ตรงกับโน้ต? - มีการสื่อสาร หมายถึงการเล่าเรื่องและสื่อสารกับผู้ฟังได้เข้าใจ คนฟังเพลงเราแล้วรู้เรื่อง ไม่วกวน? - มีการใช้สัมผัส ทั้งสัมผัสใน สัมผัสท้ายวรรค และสัมผัสนอกเนื่องจากว่าภาษาไทยถ้าขาดคำสัมผัสคล้องจอง แล้ว จะทำให้ขาดความไพเราะ

เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 3 "อ้อคำ" และ "บวกควาย"

อ้างอิง : หนังสือเพลงชีวิต “ศิลปินครูบ้านป่า สลา คุณวุฒิ”
สำนักพิมพ์มิ่งมิตร เขียนโดย ชูเกียรติ ฉาไธสง , คมทัพแสง
บรรณาธิการ แคน สาลิกา เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 3 "อ้อคำ" และ "บวกควาย"
โดย แคน สาลิกา : มีนาคม 2545
ดอกนุ่นสีขาวปลิวคว้างไปมาตามสายลมบางเบาที่พัดโบกรอบตัว มันหมุนวนไปรอบ ๆ แล้วค่อย ตกลงซบนิ่งบนพื้นดินเหมือนคนสิ้นแรงดวงตะวันยามบ่ายจัดจ้าราวจะเน้นภาพเบื้องหน้าให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ตึกอาคารใหย๋น้อยปลูกสร้างเรียงรายกลางหมู่ไม้เขียวที่ขึ้นแซมประปราย กลุ่มคนหนุ่มสาวในชุดนักศึกษาเดินขวักไขว่สวนกันไปมา นั้นเป็นอาณาบริเวณของวิทยาลัยครูอุบลราชธานี ซึ่งสลาได้เข้ามาศึกษาต่อ
"ผมเรียนจบ ม.ศ.3 จากโรงเรียนป่าติ้ววิทยา เข้าเรียน ว.ค.อุบลฯ ช่วงปี 2520-2521 หลักสูตร ป.กศ.เตี้ย ในโครงการครูตำบล...ก่อนจบ ป.กศ.เตี้ยเทอมสุดท้าย มีเวลาว่างมาก หน้าห้องสมุดมีเวทีลานพอกให้เป็นที่แสดงกิจกรรมของนักศึกษา ตัวแทนทุกห้องก็จักกิจกรรมไปแสดงทุกบ่ายวันพฤหัสผมกับเพื่อนกลุ่มขี้ดื้อคิดหาวิธีไม่ออก ก็เลยพากันตั้งวงดนตรีง่าย ๆ ขึ้นมาทั้ง ๆ ที่ไม่มีใครเล่นดนตรีเป็นเลยสักคน วิธีการก็คือผ่าเปลือกไม้ไผ่ถึงเยื่อบางๆ ตัดเป็นเลาคล้ายคลุ่ยแล้วนำมาเป่าเอาเสียงแคน ตั้งชื่อ รักน้องฟอนลูกทุ่งแบบบ มีผมเป็นนักร้องนำ เอาเเพลงสายัณห์ สัญญา ชุดแดคนชื่อเจี๊ยบมาร้องและในช่วงนั้นมีเพลงรักไม่ชื่อฉ่ำที่รามคำแหงกำลังดัง ผมเลยประยุกต์เป็น รักไม่ชื่นฉ่ำที่ ว.ค. พอเรียนจบพวกเราก็แยกย้านกันไป"
สลาเล่าถึงฉากชีวิตนักเพลงสมัครเล่นของนักเรียนฝึกหัดครู ป.กศ.ต้น ซึ่งหลังจากเรียนจบแล้ว เขาเองไม่มีสิทธิ์สอบบรรจุครู เพราะอายุยังไม่ถึง 18ปีจึงเรียนต่อ ป.กศ.สูง เอกวิทยาศาสตร์
ตอนที่เรียนในวิชาเอกวิทยาศาสตร์ เขาก็ยังคงฝึกฝนการเขียนบทกวี และเรื่องสั้นอย่างสม่ำเสมอ จนเป็นที่ยอมรับของเพื่อนๆ ในห้อง เวลามีกิจกรรมนิทรรศการจัดบอร์ด สลามักถูกไหว้วานให้เขียนบทกลอน หรือเรื่องสั้นติดบอร์ดประกอบไปด้วยเพื่อสร้างสีสันอยู่ประจำ
ยุคนั้นบรรยากาศดนตรีของหมู่นักศึกษาโดยรวมมักนิยมเพลงแนวเพื่อชีวิตเป็นส่วนใหญ่ แม้รอยเชื่อมต่อของสายธารเพลงตระกูลนี้จะสะดุดลงบ้างอันเนื่องจากปัญหาการเมือง ทำให้วงดนตรีระดับ หัวขบวน อย่าง คาราวาน,กรรมาชน ฯลฯต่างต้องหลบลี้ภัยเผด็จการไปสู่เขตป่าเขากันถ้วนทั่วที่เหลือมีเพียงวง แฮมเมอร์ ซึ่งรับอิทธิพลทั้งด้านรูปแบบและเนื้อหาของคาราวานมาโดยไม่ผิดเพี้ยน ต่างกันเพียงวงแฮมเมอร์ดัดแปลงตัวเพลงให้เบากว่าคาราววานเท่านั้น
นักศึกษาวิชาเอกต่าง ๆ ตั้งตารอ เพื่อส่งรายชื่อการแสดงดนตรีของตัวเองในวันพฤหัสบดีเป็นประจำ ทำให้เอกวิทยาศาสตร์ต้องหันมาปรึกษากันเพื่อทำวงสมัคเล่นกับเขาบ้าง แม้โดยรวมจะมีแต่คนขี้อายก็ตาม
ยามนั้นดอกไม้ดนตรีต่างแข่งกันเบ่งบานเหนือวิทยายครูอุบลฯจนลานตา สลาให้ข้อมูลตรงนี้ว่า ความกึกคักส่วนหนึ่งมาจากเพื่อนนักดนตรีหนุ่มที่มีฝีมือจัดจ้านนาม วิทยา กีฬา ซึ่งมีโอกาสมาเรียนในรั้วสถาบันนี้เช่นกัน วิทยา กีฬา โดดเด่นเป็นอย่างยิ่ง เพราะได้รับเชิญร้องเพลงประกอบภาพยนตร์เกี่ยวกับชีวิตครูหลาย ๆเรื่อง ที่กำกับการแสดงโดย สุรสีห์ ผาธรรมอาทิ ครูดอย, ครูวิบาก ...การได้ร้องเพลงในภาพยนตร์เป็นเรื่องยิ่งใหญ่มากสำหรับความรู้สึกของเพื่อน ๆ นักศึกษาช่วงวัยขนาดนั้น วิทยาและเพื่อน ๆ กลุ่มของเขา ตั้งวงดตนรีในรั่ววิทยาลัยชื่อวง สุดสะแนน เป็นที่ฮือฮามาก ตรงจุดนี้เองทำให้กลุ่มเอกวิทยาศาสตร์ของสลาตัดสินใจตั้งวงดนตรีของตัวเองบ้าง โดยใช้ชื่อว่า วงอ้อคำ " อ้อคำ " เป็นวงดนตรีสไตล์โฟล์คซองที่เรียบง่าย มีกีตาร์โปร่งเพียง 3 ตัวเท่านั้น... สลารับหน้าที่ร้องนำเพราะเขาเล่นตดตรีไม่เป็นแม้แต่ชิ้นเดียวก่อนทำวงนี้สลาไปซุ่มดูวงอื่น ๆ แสดงอย่างตั้งใจก่อน ซึ่งทำให้ตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างยิ่งเพราะล้วนแล้วแต่ฝีมือฉกาจฉกรรจ์ทั้งนั้น ว่ากันโดยทักษะทางดนตรีแล้ว "อ้อคำ" สู้วงอื่นไม่ได้เลย ยิ่งถ้าร้องเพลงของศิลปินดังๆ ที่วงทั่วไปนิยมร้องแล้วก็ยิ่งเห็นข้อแตกต่างทางฝีมือชัดเจนยิ่งขึ้น (ขณะนั้นวงดนตรีโดยรวมจะเล่นเพลงของ แฮมเมอร์ เป็นหลัก) ดังนั้น พวกเขาจึงต้องหา "จุดขาย" ของตัวเองให้ได้เพื่อลบข้อด้ออยที่มีอยู่ และนี่เป็นก้าวแรกของการแสวงหามุมมองเพื่อสื่อสารบทเพลงสู่วงกว้างของสลา คุณวุฒิ สลา วางจุดขายของอ้อคำไว้ที่การเน้นกลิ่นอายความเป็นพื้นบ้านอีสาน ไม่ว่าจะด้านเนื้อหาหรือภาษามาใส่ให้มากที่สุด และต้องสร้างผลงานเพลงของตัวเองเป็นหลัก ไม่งั้นคงสู้วงอื่นไม่ได้แน่ ภาพชนบทของหมู่บ้านนาหมอม้าที่เขาจากมาแวบเข้ามาในความคิดเป็นฉาก ๆ กลางผืนนากว้างนั้นมีฝูงควายเดินเล็มหญ้าเป็นกลุ่มๆ บางตัวก็ลงนอนแช่ในปลักโคลนตมอย่างสบายใจ กลิ่นอายตรงนั้นจัดจ้านจนเขารู้สึกและสัมผัสได้แม้จะเพียงในจิตนาการ สลา แต่งเพลง บวกควาย (เป็นภาษาอีสาน หมายถึง แอ่งน้ำที่ควายนอนพัก ) สำหรับวงอ้อคำเป็นเพลงแรก และหลังจากนั้นเพลงอื่นๆก็ตามมาอย่างไม่ขาดสายโดยเน้นเนื้อหาพื้นถิ่นใกล้ตัวเป็นหลัก ความรู้สึกแรกของการขึ้นเวทีเป็นสิ่งที่เขาไม่มีวันลืม แม้จะรักการร้องเพลงมาตั้งแต่เด็กแต่เมื่อเจอสานตาคนฟังนับร้อยคู่ หนุ่มน้อยจากบานนาหมอม้าก็ยังอดรู้สึกประหม่าไม่ได้ เหงื่อปห่งความตื่นเต้นแตกซิกไปทั้งร่าง อย่างไรก็ตามวงอ้อคำก็ได้รับความนิยมจากหนุ่มสาวชาว ว.ค. อุบลฯพอสมควร โดยเฉพาะเพลง สาวชาวหอ ที่เขาแต่งเพื่อความสนุกสนานยิ่งได้รับความนิยมมากกว่าเพื่อน "สลาไม่ลองเมาเพลง สาวชาวหอ ไปขายหรอให้พวกศิลปินดัง ๆ ร้อง อาจจะดังงกับเขาบ้างน่ะ" เพื่อนร่วมชั้นเรียนแสดงความเห็นพร้อมกับยุส่ง แรกๆ เขาก็ไม่สนสจนัก แต่พแมีคนพูดถึงเพลงนี้บ่อย ๆ ก็ทำให้สลาเกิดแรงบันกาลใจบางอย่างขึ้นมา หากเพลงใดเพลงกนึ่งที่เขาแต่งมีโอกาสได้บันทึกแผ่นเสียงก็คงมีความสุขไม่น้อย ความรื่นรมย์ใดเล่าจะเทียบเท่ามีคนชื่นชมเพลงที่เราแต่งแล้วนำไปร้องต่อ ๆ กันไป ตอนนั้น หากสลา คุณวุฒิ จะรู้ว่าในอนาคนเพลงสาวชาวหอนี้มีนักร้องลูกทุ่งระดับประเทศคนหนั่งนำไปร้องในวงกว้าง เขาก็คงตื่นเต้นจำทำอะไรไม่ถูกเป็นแน่

เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 2 อดีตรักทุ่งนาแห้ง

อ้างอิง : หนังสือเพลงชีวิต “ศิลปินครูบ้านป่า สลา คุณวุฒิ”
สำนักพิมพ์มิ่งมิตร เขียนโดย ชูเกียรติ ฉาไธสง , คม ทัพแสง
บรรณาธิการ แคน สาลิกา
เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 2 อดีตรักทุ่งนาแห้ง
โดย แคน สาลิกา : มีนาคม 2545

ลมว่าวโชยพัดหอบเศษฟางปลิวคว้างทุกทิศทาง เสียงแคนเสียงซอดังแว่วมาตามลมเหนือแผ่นดินบ้านป่าอย่างอ้อยสร้อย ประสานกับเสียงร้องหมอลำของใครบางคน ราวคำกระซิบบอกข่าวของอาคันตุกะจากแดนไกลอยู่เช่นนี้วันแล้ววันแล้ววันเล่าปลอบประโลมหมู่บ้านแห่งนี้ให้พอคลายเหงาได้บ้าง ว่ากันว่า แหล่งกำเนิดมีอิทธิพลที่ส่งผลต่อทางเดินชีวินคนไม่มากก็น้อยอย่างน้อยก็ในแง่ทัศนะเชิงวัฒนธรรมที่เจนตาเจนใจจนคุ้นชินตั้งแต่เยาว์วัยหล่อหอมเป็นรากฐานที่แน่นหนา สลา คุณวุฒิ ก็เช่นกัน อิทธิพลเพลงพื้นบ้านอีสานที่บ้านนาหมอม้า อำเภอเมือง จัดหวัดอำนาจเจริญ กล่อมเกลาหัวใจมาตั้งแต่เด็กๆโดยมีต้นแบบมาจากแม่บังเกิดเกล้าของเขานั้นเอง ศิลปินต้องเป็นคนช่างคิดช่างฝัน ภาพวัยเยาว์ของสลาถูกเขาเก็บไว้ในซอกมุมหนึ่งของความทรงจำเสมอมา - บางขณะยังได้ดึงออกมาใช้เป็นวัตถุดิบในงานเพลงตัวเองบ่อย ๆ ภาพทุ่งนากว้างเต็มไปด้วยต้นข้าวเหลืองอร่ามกลางแสงตะวัน และท้องฟ้ายามค่ำที่มีดาวแซมระยิบติดตาตรึงใจเขามาตลอด บางครั้งเมื่อทำนาที่บ้านนาหมอม้าไม่ได้ผล พ่อก็จะพาครอบครัวร่อนเร่เข้าไปในหมู่บ้านบึกซึ่งไกลไปอีก ดังนั้น วิถีชีวิตคนบ้านป่าจึงถูกสลาซึงซับไว้จนหมดสิ้น ช่วงนั้นภาพชีวิตของสลาคล้ายดังโทนภาพจิตรกรรมอิมเพรสชั่นนิสม์ซึ่งเน้นความรู้สึกสุขและเศร้า งดงามและอ้างว้าง แต่ก็เต็มไปด้วยบรรยากาศสีสันอันประทับใจ "จารย์แก้ว" ลุงของเขาเป็นศิลปินพื้นบ้าน แต่งเพลงร้องรำได้เองด้วยปฏิภาณกวีอันโดดเด่น เป็นที่เลื่องลือในหมู่บ้านมาช้านานจนแม้ลุกเสียชีวิตไปแล้วแต่บทเพลงที่แต่งก็มิได้สูญหายไปไหน เพราะมีน้องสาวซึ่งก็คือแม่ของสลา นำมาร้องรำให้ฟังอยู่เนืองๆ โดยเฉพาะเพลงกล่อมลูก ซึ่งนับเป็นบทเพลงชีวิตเพลงแรกของเขา ผลงานเพลงของลุกมีมากมาย แต่ที่น่าเสร้าก็คือ สลาไม่มีโอกาสเห็นหน้าลุกคนี้เลย เพราะได้จากโลกนี้ไปตั้งแต่เขายังไม่เกิด เหลือแต่เพียงผลงานไว้แทนตัว วิทยุทรานซิสเตอร์เป็นมหรสพที่ทันสมัยที่สุดสำหรับเด็กชายบ้านป่าผู้เกิดในคืนที่มีหนังกลางเปลงมาฉายที่วัดใกล้บ้าน เป็นหนังญี่ปุ่นเรื่อง"สิงห์สลาตัน" เมื่อ พ.ศ. 2505 จึงเป็นที่มาของชื่อ สลา บุตรชายคนที่ 5 ของครอบครัวพ่อ บุญหลาย - แม่ก้าน คุณวุฒิ วัฒนธรรมเพลงรำวงในหมู่บ้านนาหมอม้า ก็เป็นมหรสพใกล้ตัวอีกอย่างหนึ่ง และบทเพลงในแนวนี้เป็นฝีมือการเขียนของลุกหลายเพลง กระทั่งบัดนี้ก็ยังมีคนนำมาขับร้องอยู่ นอกจากเพลงรำวงแล้ว เพลงพื้นบ้านอย่าง "หมอลำ" ประเภทต่าง ๆ ก็เป็นที่นิยมของสาวบ้านไม่แพ้กัน ลักษณะหมอลำนี้จะแตกต่างกันไป แล้วแต่สำเนียงหรือที่มา และสิ่งนี้เป็นรากฐานวัฒนธรรมที่ประสมเข้าในตัวสลาตอนวัยเยาว์ทั้งสิ้น เสียงซอจากก้านนิ้วนักเพลงตาบอดนาม "ครูบุญมา" เอ็นดั่งดนตรีบรรเลงขับกล่อมบ้านป่า - นาหมอหม้อ ในทุกค่ำคืนครูบุญมาเป็นนักเพลงตาบอดที่จัดระดับความสามารถเป็นศิลปินประจำหมู่บ้านได้คนหนึ่ง ซอของแกทำจากไม่ไผ่ติดกับปี๊ใส่ลูกอม (ฮอลล์)ฝีมือสีซอและด้นกลอนสดนับว่าฉกาจฉกรรจ์ ทั้งเล่นทั้งร้องได้แพรวพราวรอบตัว หนุ่งๆ ในหมู่บ้านมักไปขอให้ครูบุญมาแต่งกลอนสำหรับเกี่ยวสาวให้เสมอ จ.ส.อ. อุทาน คุณวุฒิ พี่ชายของสลาเป็นคนหนึ่งซึ่งชอบเขียนกลอนและมักชวนน้องชายไปดูครูบุญมาสีซอ ด้นกลอนสด แทบทุกวัน ครูบุญมาแม้ตาบอดทั้งสอบข้าง แต่ชีวิตก็มีบางมุมที่น่าอิจฉาเพราะแกมีผู้หยฺงมาหลงไหลมากมาย จนบางคนถึงขนาดยอมเป็นเมียเลยที่เดียว นี้เป็นผลพวงจากเสน่ห์ความเป็นศิลปินของแกโดยแท้ และครูบุญมาคนนี้ก็นับเป็นครูเพลงในยุคเริ่มต้นของเขาได้คนหนึ่ง นอกจากเเพลงพื้นบ้านแล้ว งานลักษณะวรรณกรรมก็มีผลต่อแรงบันดาลใจของสลาไม่น้อย ช่วงเรียนชั้น ป.7 เขามีโอกาสอ่านหนังสือรวมเรื่องสั้น ชุด มือที่เปื้อนชอล์ก ของ นิมิตร ภูมิถาวร ซึ่งหนึ่งในเล่มนั้นมีเรื่อง "เด็กที่ครูไม่ต้องการ" ที่เขาประทับใจเป็นพิเศษอยู่ด้วย หนังสือเล่มนี้เป็นแรงบันดาลใจสำคัญทำให้อยากเป็นนักเขียนแบบ นิมิตร ภูมิถาวร และฝึกฝนการเขียนบทกลอน,เรื่องสั้น และนวนิยายตั้งแต่บัดนั้น แต่เส้นทางสายวรรณกรรมของสลาดูช่างขรุขระสิ้นดี เขาบอกว่าช่วงเรียนระดับมัธยมได้ฝึกเขียนหนังสือค่อนข้างมาก แต่เขียนไม่เคยจบสักครั้ง เรื่มได้แค่ 9-10 บรรทัดก็เริ่มตันแล้ว...ไม่มีทางไป เขาเล่า อย่างไรก็ตาม นิสัยรัการเขียนก็เป็นผลดีที่ทำให้สลาเริ่มเขียนกลอนเป็น และนับเป็นพื้นฐานสำคัญของการเขียนเพลงในเวลาต่อมา หลังจากพี่ชายกับเขาแอบชื่นชมศิลปินบุญมาแต่งกลอนจีบสาวแล้ว ก็คิดว่าพวกเขาน่าจะแต่งกันเองบ้าง จึงเริ่มต้นจากพี่ชายนำเอานำนองเพลงดังมาแปลงเนื้อใหม่ พอแต่งเสร็จก็นำไปร้องในวงโปงลางประจำหมู่บ้าน แต่ผมคิดว่า เอาทำนองเขามาไม่ดีก็เลยอยากแต่งใหม่ แต่งเสร็จก็ร้องอวดเพื่อน ไม่ได้จริงจังอะไร แต่ที่มุ่งมั่นจริงคือการอยากเป็นนักเขียน ดังนั้นในระหว่างการปั่นจักรยานจากบ้านนาหมอม้าไปเรียนหนังสือ ชั้นมัธยมที่โรงเรียนป่าติ้ววิทยา สลาจะร้องเพลงๆ หนึ่งให้เพื่อนฟังอยู่เสมอ มันเป็นเพลงแรกในชีวิตที่เขาแต่งขึ้นมาจากแรงบันดาลใจในวัยเด็ก ที่เคยไล่ตั๊กแตนหรือไต้กบไต้เขียนที่ทุ่งนาแห้งท้ายบ้าน จึงให้ชื่อเพลงนั้นว่า อดีตรักทุ่งนาแห้ง สลายอมรับว่า การเขียนเพลงนี้ได้รับอิทธิพลมาจากเพลง คอยรักใต้ต้นกระโดน ที่ครูพงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา แต่งให้ "ดาว บ้านดอน" บันทึกแผ่นเสียงและครูเพลงเมืองนักปราชญ์คนนี้ก็คือ ต้นแบบในการแต่งเพลงในเวลาต่อมา หลังจบชั้นมัธยม สลาเข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยครูอุบลราชธานี ช่วงนี้เขาได้รับแรงบันดาลใจจากนักเขียนหลาย ๆ คน อาทิ คมทวน คันธนู,คำพูน บุญกวี,ชาติ กอบจิตติ,คำหมาน คนไค ทำให้ฝึกฝนการเขียนต่อไปอย่างหนักโดยไม่ยอมแพ้ ขณะนั้นความฝันในการดำเนินชีวิตของเขามีเพียง 2 อย่างเท่านั้น คือถ้าไม่เป็นครูตามที่เรียนมา ก็ต้องเป็นนักเขียนอาชีพให้ได้ เรื่องจะเป็นนักแต่งเพลงหรือนักร้อง ไม่เคยอยู่ในความคิดเลย

ประวัติครูสลา คุณวุฒิ 1

สลา คุณวุฒิ
ชื่อ-นามสกุล : สลา คุณวุฒิ
ที่อยู่ปัจจุบัน : ซ.ชยางกูร 21 จ.อุบลราชธานี
เวปไซต์ส่วนตัว , บล๊อก : http://www.kroosala.org/A>
คติประจำใจ :
" ยึดมั่นในความดี ทำหน้าที่ให้สมบูรณ์"
สลา คุณวุฒิ ศิลปินครูประพันธ์เพลงแนวลูกทุ่งอิสาน ภูมิลำเนาเดิมจังหวัดอุบลราชธานี เป็นทั้งนักร้องนักดนตรีและเป็นโปรดิวเซอร์เพลง และได้มีนักร้องหลายท่านนำเพลงประพันธ์ของครูสลาไปออกเป็นเทปแผงสู่ท้องตลาด ได้แก่มนต์สิทธิ์ คำสร้อย, ไมค์ ภิรมย์พร, ศิริพร อำไพพงษ์, ต่าย อรทัยหลักประจำใจที่ครูสลาใช้เป็นแนวทางในการแต่งเพลงที่ไพเราะกินใจผู้ฟัง มีอยู่ 5 ประการ 1. ขึ้นต้นต้องโดนใจ 2. เนื้อในต้องคมชัด 3. ประหยัดคำไม่วกวน 4. ทำให้คนฟังนึกว่าเป็นเพลงของเขา 5. จบเรื่องราวประทับใจศิลปินนักร้องครูประชาบาล ที่เป็นที่รู้จักกันในนาม "เทียนก้อม" ในอดีตที่สร้างสรรค์เพลง สะท้อนชีวิตครูและนักเรียนในถิ่นทุรกันดาร ชนบทภาคอีสาน ปัจจุบันเป็นผู้สร้างสรรค์บทเพลง และกลอนลำที่แสนประทับใจหลาย ๆ กลอน ให้กับนักร้องลูกทุ่งดังหลาย ๆ คน เช่น มนต์สิทธิ์ คำสร้อย ศิริพร อำไพพงษ์ ไมค์ ภิรมย์พร และคนอื่น ๆ อีกมากมายครับ ก็ขอแสดงความยินดีกับครูสลาในปี 2545 กับการสร้างสรรค์ผลงานได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากเนื้อร้องเพลง ด้วยแรงแห่งรัก
ชื่อจริง : สลา คุณวุฒิ วัน-เดือน-ปีเกิด : 2 เมษายน การศึกษา : ศศ.บ. (บริหารการศึกษา) ภูมิลำเนา : บ้านนาหมอม้า จังหวัดอำนาจเจริญ บิดาชื่อ : นายบุญหลาย คุณวุฒิ มารดาชื่อ : นางก้าน คุณวุฒิ ชักนำเข้าสู่วงการ : พ.ศ. 2525 โดยคุณปัญญา คุณวุฒิ, คุณวิทยา กีฬา และคุณรุ่งเพชร แหลมสิงห์ ผลงานที่สร้างชื่อ : ล้างจานในงานแต่ง ขับร้องโดย ศิริพร อำไพพงษ์ , น้ำตาหล่นบนโต๊ะจีน หัวใจลอยตัว ขับร้องโดย ไมค์ ภิรมย์พร, กระทงหลงทาง ขับร้องโดย ไชยา มิตรชัย จดหมายผิดซอง ขับร้องโดย มนต์สิทธิ์ คำสร้อย และล่าสุดกระหึ่มอยู่ในขณะนี้คือ ปริญญาใจ ขับร้องโดย ศิริพร อำไพพงษ์ ผลงานเพลงเกียรติยศ : ใต้ฟ้าเดียวกัน แต่งให้ ไมค์ ภิรมย์พร ขับร้องหน้าพระที่นั่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปัจจุบัน : ลาออกจากการเป็นครูใหญ่โรงเรียนบ้านดอนชี อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี มาเป็นนักแต่งเพลงอย่างเต็มตัวแล้ว ที่อยู่ปัจจุบัน : 196 ซอยยางกูร 21 ถนนชยางกูร อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000 โทรศัพท์ (045) 312187
เพื่อให้เหมาะสมกับประเพณีบายศรีสู่ขวน ต้องฟังเพลงนี้ประกอบ กินดองน้องนาง ของศิลปินครูบ้านป่าคนบ้านเดียวกันครับ พร้อมด้วยเพลงสร้างชื่อเสียงให้กับเขา วอนลมเกี่ยวใจ ข่าวร้ายในข่าวดีของ 'ครูบ้านป่า' สงกรานต์ปีนี้ (2547) มีทั้งข่าวดีและข่าวร้าย สำหรับนักแต่งเพลงที่ชื่อ 'สลา คุณวุฒิ'ข่าวดีคือ บริษัท แกรมมี่โกลด์ จัดงานฉลองยอดขาย 1 ล้านม้วนให้กับอัลบั้ม 'ดอกหญ้าในป่าปูน' ของ 'ต่าย อรทัย' ชัยชนะของลูกทุ่งวัยทีนจากนาจะหลวย อุบลราชธานี เป็นกรณีศึกษาที่ทำให้ค่ายเพลงหลายแห่ง ต้องหันมาทบทวนแนวทางการปั้นนักร้องใหม่ ข่าวร้ายก็คือ มีขบวนการปล่อยข่าว 'สลาถูกแกรมมี่ฟ้อง', 'สลาแยกตัวไปตั้งค่ายเพลงใหม่' ฯลฯ ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ในวงการเพลงลูกทุ่ง ยิ่งชื่อของ สลา คุณวุฒิ ถูกชื่นชมและถูกยกย่องจากสังคมมากเพียงใด แรงริษยาจากคนบางกลุ่ม ก็มีมากยิ่งขึ้นเท่านั้น ลึกๆ แล้ว สื่อมวลชนสายบันเทิงบางคน อาจไม่รู้ว่ากว่าจะถึงวันนี้ของครูสลา ต้องใช้ความมานะอดทนแค่ไหน และมันไม่ใช่ช่วงเวลา 2-3 ปีก็มีชื่อเสียงขึ้นมาแน่นอน หากย้อนกลับไปที่เพลง 'สาวชาวหอ' ซึ่งบันทึกเสียงโดย 'รุ่งเพชร แหลมสิงห์' ผ่านมาถึง 'จดหมายผิดซอง' ขับร้องโดย 'รุ่งนคร พรอำนาจ' จนมาถึง 'กระทงหลงทาง' ของ 'ไชยา มิตรชัย' และ 'ยาใจคนจน' ของ 'ไมค์ ภิรมย์พร' มันใช้เวลาเกือบ 20 ปี และยังไม่นับเวลาที่จมหายไปกับค่ายเพลงเล็กๆ อย่าง 'สหกวงเฮง' อีกหลายปี จนไร้วี่แววว่าจะมีอนาคตอันสดใสบนถนนลูกทุ่งสายนี้ ถ้าไม่มีความมุ่งมั่นและมานะบากบั่นกันจริงๆ แล้ว ก็ต้องถอดใจลาไปตั้งแต่ส่งเพลงนับร้อยเพลงมาให้ 'ครูเพลง' คนหนึ่งพิจารณา แต่สอบไม่ผ่านสักเพลงเดียว หลังจากเพลง 'สาวชาวหอ' ได้รับการบันทึกเสียง ในวันที่สลา ตัดสินใจลาออกจากการเป็นข้าราชการครู เขาเลือกแล้วที่จะทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยการแต่งเพลง แต่การขายเพลงอย่างเดียว มิอาจทำให้ชีวิตครอบครัวมั่นคงขึ้นมาได้อย่างแน่นอน เขาจึงต้องรับจ้างเป็น 'โปรดิวเซอร์' ให้ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ เป็นนักจัดรายการวิทยุ และรับจ้างร้องเพลงตามงานคอนเสิร์ตทั่วไป สลา เคยถูกแกรมมี่โกลด์ทาบทามให้มานั่งเป็น 'ผู้บริหาร' ค่ายเพลงในเครือ แต่เขากลับเลือกที่จะเป็น 'นักแต่งเพลงอิสระ' มากกว่า ถึงกระนั้นในความเป็นมืออาชีพ สลาก็ยังทำงานเป็น 'โปรดิวเซอร์' ให้กับแกรมมี่โกลด์ ดูแลนักร้อง 5 คน คือ ไมค์ ภิรมย์พร, ศิริพร อำไพพงษ์, เอกพล มนต์ตระการ, ต่าย อรทัย และ ศร สินชัย ในอนาคต สลายังมีโครงการปั้น 'ดาวรุ่ง' ดวงใหม่ประดับค่าย เหมือนที่สร้าง 'ต่าย อรทัย' จนประสบความสำเร็จ ด้วยสัมพันธภาพกับแกรมมี่ทำนองนี้ จึงทำให้ 'คนบางกลุ่ม' พยายามจุดชนวนความขัดแย้งระหว่างแกรมมี่กับสลา โดยยกกรณีการแต่งเพลง 'ติด ร.วิชาลืม' ให้ 'แอร์ สุชาวดี' นักร้องสังกัดชัวร์ออดิโอ มาเป็นประเด็นข่าวพาดหัวหน้า 1 หนังสือพิมพ์บันเทิงรายสัปดาห์ และขยายผลในวงกว้างว่า สลามีปัญหากับแกรมมี่ ถึงขั้นแตกหักและแยกทางกันเดิน แต่ระเบิดลูกนี้จุดไม่ติด เนื่องจากข่าวไม่มีมูล แถมคนปล่อยข่าวก็จัดอยู่ในกลุ่ม 'เสือ สิงห์ กระทิง แรด' จึงไม่มีใครเชื่อในสิ่งที่พวกเขานำเสนอ จะว่าไปแล้วในภาพกว้างชื่อของสลา กับค่ายแกรมมี่นั้น แยกกันไม่ออก แต่ด้านลึกคนที่อยู่ในวงการนี้แบบ 'ตัวจริงเสียงจริง' จะทราบดีว่าครูเพลงบ้านป่าคนนี้อุดมไปด้วย 'เพื่อน' และ 'พวก' ซึ่งในความเป็นนักเพลงที่มีเพื่อนมากนี่เอง จึงทำให้ 'เพลงยอดนิยม' พ.ศ.นี้ กว่าร้อยละ 90 เป็นผลงานของสลา อันกระจายอยู่เต็มแผงเทป และโดยมารยาท เราคงไม่ต้องบอกหรอกว่า มีเพลงดังเพลงไหนบ้างที่ 'สลา คุณวุฒิ' แต่ง..ลองฟังเนื้อหาดูแล้วเดาเล่นๆ ก็เชื่อว่าน่าจะถูกเกินกว่าครึ่ง! ข้อมูลจาก
http://202.143.136.2/A> ผลงาน
จังหัน 1 (พ.ศ.2541)
จังหัน 2 (พ.ศ.2542)
จังหัน 3 (พ.ศ.2543)
ตามหากุดจี่ (พ.ศ.2546)
2 ทศวรรษ สลา คุณวุฒิ ชุด มวลมิตรลิขิตเพลง (พ.ศ.2548)
2 ทศวรรษ สลา คุณวุฒิ ชุด รวมใจเหล่าผองศิษย์ (พ.ศ.2548) 2550
ด้วยรักแด่ ครูสลา นักร้องรับเชิญ ต่าย อรทัย , ศิริพร อำไพพงษ์
อ้างอิง: http://www.kroosala.org

เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 1 ศิลปินครูบ้านบ้านป่า

อ้างอิง : หนังสือเพลงชีวิต “ศิลปินครูบ้านป่า สลา คุณวุฒิ” สำนักพิมพ์มิ่งมิตร เขียนโดย ชูเกียรติ ฉาไธสง , คม ทัพแสง บรรณาธิการ แคน สาลิกา เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 1 ศิลปินครูบ้านบ้านป่า โดยแคน สาลิกา : มีนาคม 2545
พ.ศ. ที่ผมเดินทางมาถึงอำนาจเจริญ ก่อนจะเตลิดเลยเข้าสู่ภูไพร..ภูโพนทอง “สลา คุณวุฒิ” ยังเป็นนักเรียนขาสั้นถีบจักรยานจากบ้านนาหมอม้า ไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนป้าติ้ววิทยา เมื่อผมเดินทางกลับมาจากภูไพร หนุ่มอำนาจเจริญคนนี้เป็นครูประจำการที่โรงเรียนบ้านไร่ขี และที่นี่เราได้พบกันครั้งแรก เวลานั้นผมเป็นนักเขียน-นักข่าวอิสระ เขียนบทความ เขียนสารคดีส่งให้นิตยสารการเมืองรายสัปดาห์หลายฉบับวัตถุดิบในการทำงานของผม ก็คือ เรื่องราวความเป็นไปและความเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมชนบทอีสาน มนต์เพลง “เทียนก้อม” ชุดแรก เป็นแรงดลใจให้ผมขับมอเตอร์ไซค์ (เกือบฮ่าง) มาหาครูหนุ่มถึงบ้านพักครูที่โรงเรียนบ้านไร่ขี วันนั้นเราพูดคุยกันหลายเรื่อง โดยเฉพาะแนวเพลงเพื่อชีวิตที่มีกลิ่นอายเพลงลูกทุ่งของ “เทียนก้อม” ซึ่งต่างไปจากบทเพลงของวงดนตรี “คนโคก” ที่ยังยึดติดอยู่กับแนวเพลงของ “แฮมเมอร์” และ “ฟ้าสาง” อีกหลายสิบปีต่อมา ผมเฝ้าติดตามข่าวความเคลื่อนไหวของครูหนุ่มอย่างเงียบๆ และออกแรงเชียร์เขาอีกครั้งในหน้าหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์ เมื่อครูหนุ่มปรากฏตัวในนามศิลปินครูบ้านป่า “จังหัน” กับอัลบั้ม “สาวตีข้าว” ผมอยากให้เขาประสบความสำเร็จ ทั้งที่รู้สึกว่าเพลงแนวนี้ ของสลาและเพื่อนยังไม่ โดนใจผม ที่ชื่นชอบเพลงลูกทุ่งมากกว่าเพลงเพื่อชีวิต ตรงกันข้าม ผมกลับรู้สึกตื่นเต้นกับเมื่อเห็นชื่อ “สลา คุณวุฒิ”ปรากอยู่บนปาเทปชุด “ล้างจานในงานแต่ง” ของศิริพร อำไพรพงษ์ หมอลำสาวเจ้าของฉายา “แหบเสน่ห์” ที่โด่งดังมากจากกลอนลำเดินชื่อ “โบว์รักสีดำ” ผลงานการประพันธ์ของ สุพรรณ ชื่นชม ล้างจานในงานแต่งเป็นกลอนลำที่มีเนื้อหาเป็นเรื่องสั้นเรื่องหนึ่ง ที่ผู้แต่งหยิบเอา มุมเล็กๆ จากงบานแต่งงานของบ่าวสาวคู่หนึ่งมาเขียน ซึ่งต่างจากกลอนลำสลับเพลงทั่วไปจึงไม่แปลกที่กลอนลำกลอนนี้จะได้รับความนิยมจากแฟน ๆ ไม่แพ้ “โบว์รักสีดำ” ดูเหมือนว่าแนวทางการเขียนกลอนลำของสลาไม่ต่างจากแนวทางการเขียนเพลงลูกทุ่งของเขา ที่เน้นการสร้างพล็อตเรื่องและการนำเสนอเรื่องที่กระชับ ไม่เยิ่นเย้อไม่วกวน พูดง่าย ๆ ว่าคุมเรื่องให้อยู่ตั้งแต่ตนจนจบ พลันที่เศรษฐกิจสังคมไทยตกอยู่ในสภาพเดียวกับคนไข้อาการโคม่า เมื่อต้น พ.ศ. 2541 บทเพลง “ยาใจคนจน” ของสลา ก็มาได้ถูกที่ถูกเวลา กลายเป็ยจุดเริ่มของเพลงลูกทุ่งสายพันธ์ใหม่ ที่มีส่วนผสมระหว่าง พาฝัน กับ เพื่อชีวิต โดยมีกลวิธีนำเสนอแบบเรื่องสั้นเป็นจุดแข็ง และแนวเพลงที่ใกล้ตัวผู้ฟัง และทุกคนจับต้องได้เป็นจุดขาย ปรากฏการณ์ที่น่าบันทึกไว้ในวงการลูกทุ่งระหว่าง พ.ศ. ฟองสบู่แตก จนถึงพ.ศ. คิดใหม่ ทำใหม่ ก็คือบทเพลงจากปลายปากกาของสลา ที่บับขานโดยนักร้อง ชาย-หญิงหลายคนหลายค่าย ได้รับความนิยมจากแฟนเพลงอย่างต่อเนื่อง 2541-2542 เพลงยาใจคนจน, ขายแรงแต่งนาง,พี่เมาวันเขาหมั่น,น้ำตาผ่าเหล้า,ติด ร.หัวใจ 2543 เพลงรองเท้าหน้าห้อง, เหนื่อยไหมคนดี,ปริญญาใจ,หัวใจคิดฮอด,กระเป๋าแบนแฟนทื้ง 2544 เพลงแรงใจรายวัน,ทำบาปบ่ลง,นักสู้ ม.3 ,ต้องมีสักวัน,สัญญากับใจ,เพื่อรักเพื่อเรา เพลงเหล่านี้มีส่วนสำคัญในการต่ออายุเพลงลูกทุ่งให้ยืนยาวออกไปและเพลงก็ประสบความสำเร็จทางธุรกิจหรือเรียกขานกันในหมู่นายห้างเทปว่าเป็น”เพลงขายได้” บ่อยครั้งที่ผมได้อ่านบทวิจารณ์เพลงลูกทุ่งของนักวิชาการบางคนหรือผู้รู้บางคนท่าน รู้สึกหงุดหงิดที่คนเหล่านั้นมักจะมองแค่มิวสิควีดีโอเพลงลูกทุ่งทางหน้าจอทีวี ได้เห็นได้ยินแต่เพลงค่าแฟ่..อ้อนเสี่ย ฮ้อนป๋า หาผัว เลยพาลเหมารวมว่าวงการเพลงลูกทุ่งกำลังตกต่ำ หรือบางคนก็หลับตาฟันธง “ลูกทุ่งตายแล้ว” ไปโน่นเลยโดยไม่ยอมทำการบ้านเรื่องเพลงลูกทุ่ง พ.ศ.นี้อย่างจริงจัง ว่าไปแล้ว เพลงลูกทุ่งจำนวนมาก นับจาก พ.ศ.ฟองสบู่แตกเป็นต้นมา เป็นเพลงคูณภาพที่มีการคัดสรรพอสมควร เพราะเงินทุกบาททุกสตางค์นั้นมีค่ายิ่งนักในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ถ้าอัลบั้มไหนไม่มีเพลงที่ฟังได้จริง ก็อย่าหวังว่าจะได้เงินจากแฟนเพลง ต่อให้ลงทุนโปรโมต 5-10 ล้านบาทก็ตามที มีตัวอย่างให้เห็นกันบ่อย ๆ ในตลาดเพลงลูกทุ่ง ในนั้นก็มีเพลงของสลา อยู่จำนวนหนึ่งที่มีส่วนเสริมสร้างภูมิตานทานให้เพลงลูกทุ่งมีความเข้มแข็ง สู้กับมลพิษเพลงขยะได้ กวาจะมาถึงวันแห่งความสำเร็จของสลา คุณวุฒิ ในพ.ศ.ปัจจุบัน ดูจะใช้เวลายาวนาน และผ่านการเรียนรู้ การฝึกฝนจากสนามจริงหลายครั้งหลายหน มีทั้งสำเร็จและล้มเหลว สลาจึงไม่ใช่นักแต่งเพลงประเภท “โชคช่วย” หรือ “เส้นสาย” ได้ผู้ใหญ่อุปถัมภ์ เขาสู้ด้วยสมองและสองมือ พิสูจน์กันด้วยผลงานเหมือนอาชีพครู ที่เริ่มจาก “ครูน้อย” ทำงานหนักอยู่หลายปีจนได้เลื่อนขั้นเป็น”ครูใหญ่” หนังสือ เพลงชีวิต “ศิลปินครูบ้านป่า”สลา คุณวุฒิ จะบอกเล่าเรื่องราวของนักแต่งเพลงคนหนึ่ง ที่ใฝ่ฝันอย่างเป็นนักเขียนมารตั้งแต่เรียนชั้นมัธยม แต่ชะตาคนมิอาจฝืนฟ้าลิขิต ครูบ้านป่าจึงต้องจับปากกาเขียนเพลง และในท้ายที่สุดเขาก็พบเส้นทางเพลงที่นำไปสู่ความสำเร็จในระดับเดียวกับครูเพลงอาวุโสอีกหลายคนที่เคยได้รับในอดีต เหตุที่ผมรับอาสามารช่วยปรุงแต่งหนังสือเล่มนี้ บอกันตรงๆ ว่า ชื่นชอบผลงานของครูสลา ทั้งที่เป็นกลอนลำและเพลง ปรารถนาที่จะให้นักแต่งเพลงรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ชีวิตนักไต่ฝัน ที่มีความอดทน รอจังหวะและโอกาส แม้มันจะใช้เวลานาน 10 ปี 20 ปี ก็ต้องเฝ้ารอเฝ้าคอย และเพื่อให้ได้อรรถรสในการอ่านเพลงชีวิตครูบ้านป่า ผมจึงแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วน คือ “ ร้อยชีวีกวีเพลง” และ “คมกับสลา” ส่วนแรงนั้น ชูเกียรติ ฉาไธสง รับหน้าที่บันทึกและเรียงร้อยชีวิตสลา จากบ้านนาหมอม้าจนถึงบริษัทแกรมมี่ฯ ชูเกียรติ อาจไม่ใช่คอเพลงลูกทุ่ง แต่ก็ชอบเพลงกระทงหลงทาง ,ยาใจคนจน เขาจึงทำงานชิ้นนี้ด้วยความศรัทธาในฝีมือคนแต่งเพลง ทำให้งานไหลลื่น มีคนอ่านติดตามกันตั้งแต่พิมพ์เป็นตอนๆ ในนิตยสารเนชั่นสุดสัปดาห์ ส่วนที่สอง คม ทัพแสง เพื่อนรักสลาเข้าคลุกวงในปอกเปลือกชีวิตครูหนุ่ม สะท้อนภาพการไล่ล่าความฝันของ “บ่าวซำน้อย” และการต่อสู้ทางความคิดบนทางแพร่ง ว่าจะก้าวเดินไปสู่หนไหน..ระหว่างความจริงและความเพ้อฝัน คม ทัพแสง ไม่ใช่นักเขียนหน้าใหม่ ในยุควรรณกรรมเพื่อชีวิตเฟื่องฟู เรื่องสั้นและบทกวีของ คม ก็ปรากฏตามหน้านิตยสารการเมืองรายสัปดาห์อยู่เป็นประจำ ระยะหลังคมห่างหายไปจากเวทีวรรณกรรม เพราะมุ่งมั่นในการทำงานเพลงและครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เขาหวนกลับมาจับปากกาเขียนหนังสือ เพื่อเพื่อนรัก..เพื่อให้ผู้อ่านได้รู้จัก “สลา คุณวุฒิ” อีกด้านหนึ่ง ซึ่งเป็นด้านที่คมเห็นชัดที่สุด ผมรู้จัก คม ทัพแสง ในช่วงเปลวเพลิงสงครามบนภูเขายังไม่สงบ ก่อนที่ผมจะมาพบกับสลาที่บ้านพักครู ในช่วงหลัง ซึ่งจากวันนั้นถึงวันนี้ก็ผ่านมาเนิ่นนานแล้ว ครูสลาแห่งบ้านไร่ขี กับครูสลา-นักแต่งเพลงชื่อดัง ก็ยังเป็นครูสลาคนเดิมที่ผมรู้จัก แม้ความเป็นคนมีชื่อเสียงอาจทำให้เขาต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานไปบ้านแต่ก็ไม่ได้ทำลายจิตวิญญาณอิสระของศิลปินครูบ้านป่า ขอขอบคุณสลา คุณวุฒิ และครอบครัว ที่เปิดโอกาสให้ผม, ชูเกียรติ และคมได้ถ่ายทอดเพลงชีวิตอย่างทั่วด้าน ขอบคุณ “สำนักพิมพ์มิ่งมิตร” ที่เปิดเวทีให้เพลงชีวิตเพลงนี้ได้บรรเลง ขอบคุณผู้มีหัวใจรักเพลงลูกทุ่ง และรักวรรณกรรมไทย โดย แคน สาลิกา 2545

เปิดตัว "มีบุญ"

สวัดดีครับ เราคือ " มีบุญ" ส่วนเนื้อหาของบล็อกขอ เก็บไว้ก่อนน่ะครับ ช่วงนี้กำลัง อยู่ในช่วงเรียบเรียง อีกไม่นานคงเสร็จแล้วครับ