ขวัญใจคนยาก และยาใจคนจน


-นั่นเป็นเวลาที่สายฝนพรำจนทั้งเมือง พร่ามัวไปด้วยหยาดน้ำละอองบางๆ ของมันโชยแผ่วตามแรงลมเป็นริ้วคลื่นไปทั้งท้องฟ้า รถปิกอัพคันนั้นแล่นบนถนนอย่างระมัดระวัง แล้วจึงไปจอดนิ่งหน้าร้านขายเทปใหญ่กลางเมืองแห่งหนึ่ง คนขับเหลือบมองนาฬิกาบนข้อมือแล้วก็ถอนหายใจยาว วันนั้นเขาตั้งใจมาซื้อเทปลูกทุ่งม้วนใหม่ๆ ไปศึกษาเพลงคนอื่นบ้าง แต่เมื่อมองสายฝนเขาก็เลือกที่จะนั่งคอยสบายๆในรถมากกว่า ชายหนุ่มคิดถึงงานแต่งเพลงที่กำหนดส่งในเร็ววันนี้แล้วก็นึกหนักใจ เพราะมันยังไม่สมบูรณ์อย่างที่ใจต้องการเลย เยื้องไปหน่อยมีผู้ชายอีกคนแต่งตัวเรียบๆ นั่งอยู่บนรถมอเตอร์ไซค์ท่าทางเหมือนคอยใครอยู่ สักครู่ก็มีผู้หญิงหน้าตาดี ถือของพะรุงพะรังออกมาจากห้างสรรพสินค้าใกล้ๆกันนั้น ชายหนุ่มรีบเข้าไปช่วยถือของอย่างกกุลีกุจอทั้งคู่ยืนปรึกษากันพรางแหงนมองฟ้าเป็นระยะแล้วก็ตัดสินใจขึ้นมอเตอร์ไซค์คันนั้น ฝ่าสายฝนพรำออกไป กิกริยาของทั้งคู่บอกให้รู้ว่าเป็นคู่รักกันแน่ๆ และมีฐานะไม่ค่อยดีนัก ภาพนั้นมีเสน่ห์บางอย่างทำให้สลาฉุกคิดอะไรขึ้นมาได้ ร่างคู่รักทั้งสองหายลับไปจากสายตาแล้ว หากแต่ความประทับใจบางอย่างกลับยังอ้อยอิ่งในความรู้สึกของเขา มันแรงและหนักขึ้นทุกที จนครูหนุ่มรีบๆหาปากกาพร้อมกระดาษมาร่างเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านไปสดๆร้อนๆทันที “เป็นแฟนคนจนต้องทนหน่อยน้อง” ประโยคแรกหลุดออกมาอย่างรวดเร็ว และประโยคต่อมาก็ติดตามอย่างต่อเนื่องเหมือนสายน้ำไหลหนุนเนื่องตามกันโดยไม่ขาดสาย เพราะภาพที่กระทบใจจนสัญชาตญาณมืออาชีพทำให้อดใจไม่ได้ เป็นเพลงที่สลาพอใจเพลงหนึ่ง และตั้งใจเอาไปให้นักร้องหนุ่มนาม “ไมค์ ภิรมย์พร” ในสังกัดแกรมมี่โกลด์ร้อง แล้วคลื่นชีวิตครูหนุ่มจากบ้านนาหม้อม้า ถูกซัดสาดมาไกลถึงประตูบริษัทเทปยักษ์ใหญ่นี้ได้อย่างไร ความจริงหลังจากที่เวียนว่ายอยู่ใน ยุทธจักรนักแต่งเพลงลูกทุ่งระยะหนึ่งเพลงของสลาก็เริ่มเป็นที่ต้องการของค่ายเพลงต่างๆมากยิ่งข้น แต่เขาตั้งข้อแม้ว่าทุกบริษัทที่ติดต่อมา ขอให้มีเพียงสัญญาทางใจกันเท่านั้น เพราะตัวเองยังไม่อยากมีพันธะผกมัดกับใคร ว่าไปแล้วตอนนั้นรายได้ส่วนใหญ่มาจากการเขียนเพลงลูกทุ่งและหมอลำเป็นหลัก การใช้ชีวิตต่างจังหวัด ก็ทำให้ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายมากมายนัก ถึงขนาดว่าเงินเดือนครูทั้งหมดหลังจากหักลบกลบหนี้ต่างๆแล้ว(เขายืนยันว่าครูส่วนใหญ่เป็นหนี้ทั้งนั้น เช่น หนี้ออมทรัพย์ หรือสหกรณ์)เขาจะนำเงินส่วนที่เหลือทั้งหมดบริจาคเข้าโรงเรียน เพราะตามเกณฑ์แล้วโรงเรียนเล็กๆในชนบทมักได้งบประมาณค่อนข้างน้อย เขาทำอย่างนี้มานาน โดยไม่เคยรายงานไปทางอำเภอเพื่อเอาหน้าเอาตาเลย เพราะถือเป็นหน้าที่ของครูที่ต้องรับผิดชอบอยู่แล้ว “ผมค่อนข้างดวงดีนะ…ส่วนหนึ่งคงมาจากการาที่เราเป็นคนนุ่มนวลเวลาเดือดร้อนหากไปเอ่ยปากกับใครเขาก็ดูแล… ถึงบอกผมว่าเป็นหนี้บุญคุณผู้หลักผู้ใหญ่เกือบทุกค่ายเพลง ผมเจอบริษัทเทปจริงๆ แล้วกลับดีกว่าที่เราคาดหวัง… เคยได้ยินเหมือนกันที่เพื่อนๆเจอปัญหาอะไรต่างๆ แต่งตัวผมกลับไม่เป็นไร… อาจเป็นเพราะเราเป็นครูหรือเปล่าก็ไม่รู้ แต่จะได้รับเกียรติจากนายห้างค่ายต่างๆค่อนข้างดี” ตลาดเพลงลูกทุ่งพุ่งแรงขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นตัวเลือกอันหนึ่งของค่ายเทปนอกจากเพลงแนวอื่นๆทั่วไป ตามปกติค่ายเทปต่างๆ จะมีเพลงตระกูลนี้เอาไว้เป็นตัวเลือกของคนฟังอยู่แล้ว แต่ในยุคที่ยิ่งยง ยอดบัวงาม เอาเรื่องราวชีวิต “สมศรี” มาร้องจนโด่งดังไปทั่วประเทศ ทำให้ค่ายเพลงต่างๆหันมาใส่ใจเพลงตระกูลนี้มากยิ่งขึ้นกว่าเมื่อก่อน แกรมมี่ก็เป็นบริษัทหนึ่งที่บุกเบิกตลาดเพลงลูกทุ่งมานาน ตั้งแต่ยุคก๊อต-จักรพรรณ์ อาบครบุรี มากระทั่งถึงปัจจุบัน ที่รวบรวมศิลปินใหญ่น้อยไว้มากมายไม่แพ้ค่ายอื่น โดยแยกส่วนลูกทุ่งและหมอลำไว้ที่บริษัทแกรมมี่โกลด์ ซึ่งมี กิตติศักดิ์ ช่วงอรุณ เป็นผู้ดูแลอยู่ สลาเข้ามาสู่ชายคาบริษัทแกรมมี่จากการชักนำของเพื่อนรัก วิทยา กีฬา เจ้าเก่า โดยถูกมอบหมายให้เขียนเพลงป้อนนักร้องรุ่นใหม่ที่ยังไม่มีชื่อเสียงนักนาม “ไมค์ ภิรมย์พร” ตอนนั้นไมค์ ภิรมย์พรกำลังออกเทปแนวลูกทุ่งผสมหมอลำของตัวเองในชุดที่ 2 ซึ่งสลาก็มีโอกาสเขียนเพลง น้ำตาหล่นบนโต๊ะจีน ให้ 1 กลอนลำเท่านั้น จนมาถึงชุดที่ 3 ของไมค์ ซึ่งเป็นหมอลำล้วนๆ ชื่อ “ไมค์ลำโสด” สลาจึงมีโอกาสแสดงฝีมือถึง 9 เพลง(อีก 1 เพลงเป็นของครูพงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา)แต่ชุดนี้ก็ยังเจาะตลาดไม่ได้ มาถึงชุด 4 ในชื่อ “หัวใจลอยตัว” ซึ่งเป็นหมอลำล้วนๆก็ยังเงียบอีกจนกระทั่งชุดที่ 5 ทางทีมงานจึงวางแผนที่จะเปลี่ยนแนวเป็นลูกทุ่งล้วนๆบ้างและมอบให้สลาเป็นหนึ่งในผู้วางแนวเพลงในชุดนี้ ครูหนุ่มเดินทางกลับอุบลฯ พร้อมกับความคิดที่หมกมุ่นเพียงเรื่องนี้อย่างเดียว จนในที่สุดท่ามกลางวันเหงาๆที่มีสายฝนพรำหน้าร้านขายเทปและภาพเคียงคู่ของหนุ่มสาวแปลกกหน้านั้น บทเพลงขวัญใจคนยากก็เกิดขึ้นมาเงียบๆ “ขวัญใจคนยาก” ของสลาถูกเปลี่ยนชื่อเพื่อความเหมาะสมจาก อ๊อด อมตะ ซึ่งเป็นโปรดิวเซอร์ในชุดนี้ กลายเป็น ยาใจคนจน แทนในเวลาต่อมา ♫ ♫ ♫ แล้ววันนั้นของสลาก็มาถึง เมื่อแฟนเพลงให้การต้อนรับอัลบั้ม “ยาใจคนจน” อย่างท่วมท้น ทุกค่ายเพลงจับจ้องมาที่ตัวเขา เหมือนยุคหนึ่งที่นายห้างแผ่นเสียงจะมุ่งหน้าไปหาไพบูลย์ บุตรขัน หรือยุคหลังอย่างครูชลธี ธารทอง หรือครูลพ บุรีรัตน์ สลาอาจเป็นนักแต่งเพลงลูกทุ่งที่แตกต่างจากครูเพลงหลายคน ที่ส่วนใหญ่เติบโตมาจากวงลูกทุ่งโดยตรง แต่เขามาจากวงการข้าราชการครูประถมศึกษา และหลังจากวนเวียนสอนหนังสืออยู่ในละแวกนั้นหลายโรงเรียน ปี 2540 เข้าจึงย้ายมาเป็นครูใหญ่โรงเรียนบ้านดอนชี อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ปรากฏการณ์ยุคทองของเพลงลูกท่งในทศวรรษใหม่ เกิดขึ้นเพียงไม่กี่ครั้ง ทว่าแต่ละครั้งก็สร้างความสั่นสะเทือนวงการเพลงในวงกว้างจนน่าตกใจเสมอ โดยเฉพาะผลงานด้านธุรกิจที่นักร้องลูกทุ่งขายเทปได้เกินล้านม้วนติดๆ กันหลายต่อหลายคน จนกลายเป็นตลาดสำคัญที่ค่ายเพลงต่างๆต้องหันมาเอาใจใส่มากขึ้น แทนที่จะมองข้ามแบบในอดีต คนฟังเพลงลูกทุ่งปัจจุบันมีทุกประเภท ทุกระดับ ตั้งแต่รัฐมนตรียันชาวไร่ชาวนา… ท่อนฮุคของเพลงลูกทุ่งดีๆ มักติดปากคนฟังได้เร็วกว่าเพลงประเภทอื่น เพราะโดยนัยบางอย่าง เพลงลูกทุ่งมีกลิ่นอายซึ่งแสดงจิตวิญญาณแบบไทยๆ ค่อนข้างชัดเจนกว่าบทเพลงในแนวอื่น “ ยาใจคนจน” แม้จะเกิดในยุคเศรษฐกิจซบเซา แต่ก็โด่งดังไปทั่วประเทศและทำยอดขายวิ่งผ่านหลักล้านม้วนไปได้แบบสบายๆและอัลบั้มชุดนี้สลาฝากฝีมือเขียนไว้ถึง 6 เพลงรวดซึ่งนับว่าไมใช่ธรรมดาเลย หากจะวัดเอกลักษณ์ในงานเพลงสลา เขาคือตัวเชื่อมของยุคสมัยที่กลมกลืนและลงตัว จนสามารถสร้างรูปแบบเพลงลูกทุ่งในอีกบุคลิกหนึ่งขึ้นมาได้ ในขณะที่รากฐานส่วนหนึ่ง สลารับมาจากครูเพลงอาวุโสอย่างครูไพบูลย์ บุตรขัน และครูพงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา อย่างเต็มๆ ตั้งแต่แรกเริ่ม แต่ทว่าในอีกด้านหนึ่ง เขาก็หลอมรวมเพลงพื้นบ้านอีสาน และหมอลำร่วมสมัยจนกลายเป็นเส้นทางแยกสายใหม่ ตัดจากเส้นทางหลักที่มีคนถางไว้ก่อนแล้ว กระทั้งแนวเพลงเพื่อชีวิต หรือเพลงวัยรุ่นสตริงยุคใหม่ ก็เป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจของครูหนุ่มคนนี้ และยังได้นำกลิ่นอายตรงนั้นมาใส่ในผลงานตัวเองเสมอ แต่เขาจะยึดหลักว่าไม่เน้นส่วนนี้จนกลบส่วนอื่น ซึ่งก็คือพยายามให้องค์รวมของเพลงยังคงความเป็นลูกทุ่งอยู่เช่นนั้น การเดินทางเข้าสู่ถนนนักแต่งเพลงอาชีพในเมืองหลวง มีข้อดีที่เห็นชัดคือ ทำให้สลารู้จักทศนิยมการฟังเพลงของคนในเมือง ว่าต้องการบริโภคงานในลักษณะใด เขาหลอมเพลงเพื่อชีวิตที่ได้รับอิทธิพลจากหงา คาราวาน และแอ๊ด คาราบาว (สมัยทำวงเทียนก้อม) เข้ากับเพลงวัยรุ่นแนวไม่ซึ่งได้รับอิทธิพลจากกริช ทอมมัส หนึ่งในแกนหลักของแกรมมี่โกลด์ (คนนี้มีส่งผลอย่างมากต่อโลกทัศน์การเขียนเพลงของสลาในระยะหลัง) จนกลายเป็นสไตล์ใหม่ของตัวเองในที่สุด ตัวอย่างที่เห็นชัดในงานของสลา คือเพลง ยาใจคนจน ที่เกิดจากส่วนผสมของวัฒนธรรมเพลงเหล่านี้ค่อนข้างเด่นชัดโดยเฉพาะช่วงท่อนแยก… อาทิ “ลำบากยากเข็ญ เช้าเย็นขอให้เห็นหน้า หากมีปัญหา น้องอย่าตัดสายสัมพันธ์ อยู่เป็นแรงใจ เติมไฟให้กันและกัน เพียงเรามีเราเท่านั้น สร้างฝันให้สมดั่งใฝ่” มาลองวิเคราะห์เพลงนี้ให้ลึกๆ คำต้นๆ ตั้งแต่ ลำบากยากเข็ญ มาจนถึง “น้องอย่าตัดสายสัมพันธ์” จะยังได้กลิ่นของเพลงลูกทุ่งแนวเก่าชัดเจน แต่พอมาถึงท่อน “อยู่เป็นแรงใจ เติมไฟให้กันและกัน เพียงเรามีเราเท่านั้น สร้างฝันให้สมดั่งใฝ่” คนฟังจะเห็นภาพเพลงเพื่อชีวิตรวมกับเพลงแนวสตริงยุคใหม่ขึ้นมาทันที ซึ่งหากไปย้อนศึกษาดูเนื้อเพลงแบบนี้จะไม่ค่อยปรากฏในสารบทเพลงลกทุ่งยุคเก่ามาก่อน ครูพงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา นักแต่งเพลงเลื่องชื่อ ผู้สร้างสรรค์งานเพลงอมตะลูกทุ่งไว้มากมายโดยเฉพาะแนวลูกทุ่งอีสาน จนได้สมญานามว่า “ไพบูลย์ บุตรขันแห่งที่ราบสูง” ได้พูดถึงแนวเพลงแบบสลาไว้น่าสนใจ “ เพลงของสลา มันจะมีความแน่นในเนื้อหาสาระ และก็ความคมคาย คือเพลงของเขามันจะไม่หลวม มันจะแน่นทั้งสี่ท่อน และก็ไม่ใช่แน่นแบบยัดเยียดมันจะมีความสละสลวยความงดงามในนั้น ในเนื้อหาสาระ ฟังแล้วได้ทั้งด้านภาษา ได้ทั้งความไพเราะของบทเพลง หรือได้ทั้งความประทับใจ นี้คือลักษณะเด่นของงานเขา” “หรือการพูดถึงความรัก ก็ทำให้มันเป็นเรื่องเป็นราวขึ้น ว่ามีการทำมาหากิน มีชีวิตจริงๆเข้าไปด้วย คืออันนี้มันเป็นการเอาเรื่องชีวิตจริงให้มาเป็นเรื่องที่น่าฟังและก็ค่อนข้างโรแมนติก ค่อนข้างประทับใจ กินใจ นี้เป็นศิลปะที่อาจารย์สลาทำได้ดี อย่างเพลงงยาใจคนจนฟังดูแล้วเหมือนอ่านเรื่องสั้นที่ดีๆเรื่องหนึ่ง” เราจึงพบว่าบทเพลงลูกทุ่งในช่วงต้นทศวรรษใหม่ มีหลายต่อหลายเพลงที่ยึดแนวเพลงแบบ “ยาใจคนจน” หรือที่พูดกันในวงการเพลงลูกทุ่งว่าเป็นเพลงแบบสลา

เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 8.2 ตั้งเกณฑ์สูง อย่าตั้งความหวังสูง

อ้างอิง: หนังสือเพลงชีวิต “ศิลปินครูบ้านป่า สลา คุณวุฒิ” สำนักพิมพ์มิ่งมิตร เขียนโดย ชูเกียรติ ฉาไธสง , คมทัพแสง บรรณาธิการ แคน สาลิกา เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 8.2 ตั้งเกณฑ์สูง อย่าตั้งความหวังสูง โดย: แคน สาลิกา : มีนาคม 2545 -เขาไปค้นดูนิตยสาร “ ถนนหนังสือ “ เล่มเก่าๆ ที่มีบทสัมภาษณ์นักเขียนรุ่นใหญ่หลายๆคน ซึ่งมีผลงานเป็นที่ย้อมรับในวงกว้างแล้ว ก็ไปสะดุดกับบทสัมภาษณ์ ชาติ กอบจิตติ นักเขียนคนหนึ่งที่อยู่ในหัวใจและเป็นจ้นแบบของตัวเองมช้านาน -“ ตอนนั้นพี่ชาติบอกว่า ถ้าผมเป็นนักแต่งนิยายคนใหม่ จะตั้งเกรดไว้ที่ เรื่องคำพิพากษาเลย ซึ่งเป็นเกรดสูงมาก คือได้รับรางวัลซีไรท์ เขียนให้ถึงตรงนั้น หรือชนะได้ยิ่งดี” -เขาตั้งข้อคิดนี้เป็นหลักแต่นำมาปรับใช้ในงานเขียนเพลง โดดตั้งข้อระบบความคิดคงไปได้ไม่ถึงไหน เพราะอาจไม่มีใครแนะนำใครได้ มากกว่ากัน -แต่หากศึกษาเทคนิค และวิธีของครูเพลงรุ่นก่อนๆ อย่างจริงจังน่าจะเป็นประโยชน์ในอนาคตมากกว่า -ครูหนุ่มจากบ้านหมอม้า นั่งนอนทบทวนโดยละเอียดแล้วก็พุ่งเป้าหมายไปที่ครูเพลงลูกทุ่งยิ่งใหญ่ที่สุดของเมืองไทย ไพบูลย์ บุตรขัน ด้วยถือว่าเป็นมวยใหญ่สุดแล้ว -ผลงานของบรมครูผู้นี้อบอวลในความรู้สึกขอสลามาตั้งแต่เยาว์วัยก็ว่าได้ บทเพลงเหล่านั้นบันทึกแน่นในคลังสมองโดยไม่หายไปไหน เพียงแต่ที่ผ่านๆมาเขาฟังเพื่อความไพเราะเพียงอย่างเดียว ไม่ได้นำมาวิเคราะห์ดูอย่างจริงจัง -สลาไปหาหนังสือเพลงของครูไพบูลย์มาอ่านในลักษณะ “ผ่า” โดยละเอียดศึกษาประเด็นว่าผลงานเหล่านั้นประสบความสำเร็จเพราะอะไร ใช้ภาษาแบบไหนหรือแม้กระทั้งเสน่ห์ของเพลงอยู่ตรงไหน -ในขณะที่ศึกษาเปรียบเทียบ สลาก็ฝึกการเขียนเพลงไปด้วย ด้านเทคนิคเพลงเขาพอเข้าใจแล้วว่าควรทำย่างไร แต่ด้านทักษะฝีมือยอมรับตรงๆว่ายังทำไม่ได้อย่างที่ตั้งใจไว้ -เขาสรุปตัวเองในช่วงนั้นว่า เพราะทักษะด้านภาษารวมถึงโลกทัศน์ของเขายังไม่สุกงอม แต่อย่างน้อยก็ทำให้รู้จักแนวทางของครูไพบูลย์ โดยละเอียด และก็อาศัยยุคนี้ฝึกฝนฝีมือมาเรื่อยๆ -“มันเป็นประเด็นให้เก็บไปคิดว่า ถ้าผมแต่งเพลง ตอนแรกแต่งตามใจของผม อยากแต่งก็แต่งไป พอผมได้อ่าน ก็ไปศึกษางาน ของครูไพบูลย์ บุตรขัน ของครูอะไรเป็นเกณฑ์ที่สูงเลย พอแต่งเพลงเสร็จก็ไปประกบกันดูตามความรู้สึกของตัวเอง มันใกล้เคียงกับ ครูบาอาจารย์หรือยัง หรือพอไปวัดไปวาได้หรือยังทำให้มีความมุมานะในการสร้างสรรค์งานแต่อย่าตั้งความหวังสูง” -“อย่างที่ผมทำมาตั้งแต่ปี 2524 จนกว่าจะประสบความสำเร็จ นานนับสิบปีทีเดียว.. ถามว่าผมเหนื่อยไหม ผมไม่เหนื่อย เพราะผมไม่เคย หวังเลยผมเขียนแล้วผมได้ร้อง พอเพื่อนได้มาฟังผมก็ดีใจ พอได้บันทึกเสียงผมก็ดีใจ..ตั้งเกณฑ์สูง แต่อย่าตั้งความหวังสูง พูดตรงนี้เผื่อว่า หลายๆคนอยากเป็นนักเขียน พอจับปากกาเขียนก็คิดถึงเงิน ถ้าได้ลงตอนนี้ 3,000 บาท บวกลบคูณหารในสมองก็เลยกดดัน ใครหนอเป็น บ.ก.เขียนดีแล้วยังไม่ผ่านแล้วทำให้นิสัยเสีย ไปด่า ไปต่อว่าคนอื่นแล้วทำให้เราท้อ คือทำไปเรื่อยๆมีความสุขกับการได้สร้างสรรค์” -ทั้งหมดนี้มาจากข้อคิดของชาติ กอบจิตติ โดยแท้ อ่านต่อตอนต่อไปครับ

เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 8.1 ตั้งเกณฑ์สูง อย่าตั้งความหวังสูง

อ้างอิง: หนังสือเพลงชีวิต “ศิลปินครูบ้านป่า สลา คุณวุฒิ”
สำนักพิมพ์มิ่งมิตร เขียนโดย ชูเกียรติ ฉาไธสง , คมทัพแสง
บรรณาธิการ แคน สาลิกา
เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 8.1 ตั้งเกณฑ์สูง อย่าตั้งความหวังสูง
โดย: แคน สาลิกา : มีนาคม 2545

- จากที่ได้พบเจอบรรยากาศวิพากษ์วิจารณ์อันหนักหน่วงของกลุ่มลำน้ำมูล ทำให้สลาเกิดอาการฝ่อจนแทบหยุดงานเขียน ไปพักหนึ่งความรู้สึกนี้ติดมาขนาดที่ตั้งใจว่าต่อแต่นี้จะขอคบหาเพียงเพื่อนกลุ่มครูด้วยกันดีกว่า ดีกว่า เพราะภาพของนักเขียน เลือดลมร้อนแรงดูน่ากลัว ไม่น้อยสำหรับคนประนีประนอมและคนเรียบร้อยอย่างเขา - สลาลองหาซื้อหนังสือแปลจากต่างประเทศที่เพื่อนๆ ในกลุ่มลำน้ำมูลชอบยกมาอ้างเวลาปริยายกัน อาทิ เฮอร์มาน์ เฮสเส, เออร์เน็ต เฮมมิงเวย์,จอห์น สไตน์เบค หรือกระทั่งใครต่อใครอีกหลายคน แต่ผลงานของนักเขียนเลื่องชื่อเหล่านี้ก็มิได้เป็นที่ ชื่นชอบของเขาเลยสักเท่าไดเลย แม้จะยอมรับว่าเป็นผลงานอันยอดเยี่ยมเท่านั้น - กว่าเขาจะอ่านจบแต่ละเล่มต้องใช้เวลาราวกับการทำงานหนักต่างจากผลงานประเภทไผ่แดง ของ คึกฤทธิ์ ปราโมทย์, คำพิพากษาของ กอบจิตติ หรือ มือที่เปื้อนชอล์ก ของนิมิต ภูมิถาวร ที่จับจิตจับใจมากกว่าอ่านได้ซ้ำแล้วซ้ำอีกโดยไม่มีเบื่อ - ครูหนุ่มหมกมุ่นเพียงคิดว่าตัวเองห่างจากเพื่อนกลุ่มนั้นพอสมควร เห็นทีจะต้องก้มหน้าก้มตาขีดเขียนไปตามทางที่ตังเอง ชอบอย่างโดดเดี่ยวเป็นแน่ -แต่ชีวิตเป็นเรื่องแปลก ในบ้างครั้งคลื่นลมชะตากรรมได้พัดพาให้ตัวตนของเราหันไปสู่ด้านมืดที่อับเฉาโรยรา และในบางขณะ เช่นกันสายลมชนิดนี้กลับช่วยพัดให้หัวใจอ่อนล้าได้พานพบแสงสว่างที่นำพาพลังบางอย่างมาสู่ชีวิต -คลื่นลมด้านนี้ช่วยก่อให้เกิดมิติแห่งความสงบ เป็นความสงบที่สื่อผ่านให้หัวใจคนหนุ่มบางคนได้เริ่มคิดทบทวนและค้นหาทางเดิน ของตังเองอย่างใคร่ครวญมากขึ้น เพื่อจะไปพบถนนชีวิตที่ทอดยาวในวันข้างหน้า -เส้นทางเหล่านี้เต็มไปด้วยซอกมุมและทางโค้งที่ทั้งอันตรายและงดงามบรรจุไปด้วยทั้งรอยยิ้มและหยาดน้ำตา ซึ่งต้องอาศัยพลังใจ และความมุ่งมั่นเท่านั้นจึงจะประสบความปลอดภัยในการเดินทาง - สลาเริ่มคิดค้นหาทางของตัวเองอีกครั้งโดยทบทวนจากผลงานที่ผ่านมาว่ามีจุกบกพร่องหรือจุดเด่นอย่างไรบ้างเพื่อนำมาแก้ไขปรับปรุง และสรุปได้ว่าการแต่งเพลงเป็นศิลปะที่แสดงศักยภาพของเขาได้ดีที่สุด ส่วนวรรณกรรมน่าจะเป็นเรื่องรองๆลงไป

อ่านต่อตอนต่อไป

IT วิธีดึงเสียงจากคลิปของ youtube.com

IT วิธีดึงเสียงจากคลิปของ youtube.com
1.เข้าเว็บ www.youtube.com ถ้าได้คลิปที่เราต้องการเสียงแล้วจากนั้น ไปขั้นตอนที่ 2 ครับ
2.จากนั้น copy โค๊ดของคลิป เช่น http://youtube.com/watch?v=ubw2Zzqt5s1
3.เข้าเว็บ http://www.video2mp3.net/
นำโค๊ดที่ได้มามาวางในช่องตามรูปเลยครับ จากนั้นติ๊กที่ High Quality (?) เพื่อให้คุณภาพเสียงที่ดีครับ
หลังจากนั้นรอสักพัก ก็ ดาวน์โหลด ไปใช้งานได้เลยครับ
**********************************************************************************

เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 7.3 จดหมาย(ไม่)ผิดซอง

อ้างอิง: หนังสือเพลงชีวิต “ศิลปินครูบ้านป่า สลา คุณวุฒิ” สำนักพิมพ์มิ่งมิตร เขียนโดย ชูเกียรติ ฉาไธสง , คมทัพแสง บรรณาธิการ แคน สาลิกา เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 7.3 จดหมาย(ไม่)ผิดซอง โดย: แคน สาลิกา : มีนาคม 2545

-“ เด็กคนนี้มีแวว…อีกไม่กี่ปีต้องดังแน่ๆ” สลาคิดในขณะที่ปู- คัมภีร์ กำลังบรรเลงเพลงบนเวทีกลางผู้คนคับคั่งในหอประชุมแห่งนั้น -หลังเวทีทั้งคู่ไม่ได้พูดคุยอะไรกันนักเพราะเป็นคนขี้อายเหมือนๆกัน นอกจากรอยยิ้มและคำทายเล็กๆน้อยๆแล้วต่างฝ่ายต่างก็มีเงาร่างแห่ง ความประทับใจในความทรงจำเท่านั้น เมื่อย้อนวันเวลากลับไป ภาพหนุ่มน้อยแปลกหน้ากับกีตาร์คู่ใจยังกระจ่างชัดในห้วงคิดคำนึงของครูหนุ่มจนบัดนี้ -การได้สัมผัสกลุ่มลำมูล ซึ่งเป็นคนเขียนหนังสือล้วนๆ นับเป็นสุด ยอดปรารถนาของสลาทีเดียว เพราะอย่างน้อยจะได้เติมไฟสร้างสรรค์และเติมกำลังใจในการทำงานตามที่ตัวเองศรัทต่อไป โดยไม่ต้องโดดเดี่ยวเกินไปนัก -เพียงแต่ไฟสร้างสรรค์ที่เติมให้มันอาจจะร้อนเกินไป ร้อนจนครุหนุ่มจากบ้านนาหมอม้าเกิดความกลัว และใจฝ่อแทบเลิกเอาดีทางเขียนหนังสือไปเลย -“ กลุ่มลำน้ำมูลเขาเป็นมืออาชีพแล้วนะตอนผมเข้าไป… ของผมยังฝึกหัดอยู่เลย … เราก็อยากไปฝึกฝนกับเขาเพราะงานเขียนเรามันยังไม่ผ่าน… แต่พอเข้าไปจริงๆผมก็ผิดหวังมาก เพราะเขาวิพากษ์วิจารณ์กันแรงมาก… แรงจนผมกลัวเพราะเหมือนไปฟังเถียงกันมากกว่า… จากที่เคยมั่นใจนี่ใจฝ่อไปหมดเลย” -สลาย้อนความหลังตรงนี้ให้ฟังว่า -“ ตอนนั้นเขามีโครงการทำสำนักพิมพ์ลำน้ำมูล.. กะว่าจะพิมพ์งาน ของวงเดือน ทองเจียว ก่อ แต่พอแก่เขียนเรื่องไปให้เพื่อนอ่านนี้โดนวิจารณ์แหลกเลย…ดูเหมือนต่างคนต่างไม่ยอมรับงานของกันและกันนี้ขนาดดวงเดือนมีงานรวมเล่มมาก่อนแล้วนะ ยังโดนใจเลย…อย่างฟอนนี้แรงมาก แต่แรงในเหตุผลนะ…ผมนี้กลัวมากกลับจากทัวร์ลำน้ำมูลก็คิดว่าเราอย่าไปยุ่งกับพวกเขาดีกว่า…ตอนนั้นไม่กล้าเขียนหนังสืออีกเลยคิดว่าจะเลิกแล้ว เพราะหมดกำลังใจ…” -“ แต่ย้อนคิดกลุ่มลำน้ำมูลก็มีบุญคุณกับผมมากนะ…ทำให้ได้ประสบการณ์รู้ว่าวงการนี้มันกว้างขนาดไหน…รู้จักเพลงร็อกเพลงบลูส์กับพวกเขาไปด้วย ได้ทฤษฏีเขียนเพลงก็จากพวกเขานี่แหละ” -แม้สลาจะแวะผ่านเข้ามาหา “ กลุ่มวรรณกรรมลำน้ำมูล” เพียงแผ่วผิวแต่ในความเป็นมิตรน้ำหมึก เขาก็ยังผูกพันอยู่กับเพื่อนนักเขียนอีกหลายคนไม่ว่าจะเป็น บุญมา ภูเม็ง , ฟอน ฝ้าฟาง, รวมถึง สัญลักษณ์ ดอนศรี คนลำน้ำมูลอีกคนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จบนเส้นทางนักสร้างเพลง

อ่านต่อ เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 8 ตั้งเกณฑ์สูง อย่าตั้งความหวังสูง

เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 7.2 จดหมาย(ไม่)ผิดซอง

อ้างอิง: หนังสือเพลงชีวิต “ศิลปินครูบ้านป่า สลา คุณวุฒิ” สำนักพิมพ์มิ่งมิตร เขียนโดย ชูเกียรติ ฉาไธสง , คมทัพแสง บรรณาธิการ แคน สาลิกา เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 7.2 จดหมาย(ไม่)ผิดซอง โดย: แคน สาลิกา : มีนาคม 2545
ต่อจากตอน 7.1
- ขณะนั้นมีกลุ่มวรรณกรรมเล็กๆ ทางอีสานเกิดขึ้นมา เป็นการรวมกลุ่มของคนหนุ่มไฟแรงภายใต้ชื่อ “วรรณกรรมลำน้ำมูล “ มีสมาชิกที่ค่อนข้างโดดเด่นคือ ฟอน ฝ้าฟาง ,วงเดือน ทองเจียว, บุญมา ภูเม็ง, ปราโมทย์ ในจิต , สัญญาลักษณ์ ดอนศรี เป็นต้น -สลา เข้ามาสัมผัสกลุ่มนี้โดยการแนะนำของอดีตเพื่อนร่วมสถาบัน วค.อุบลฯ นาม คม ทัพแสง คนหนุ่มผู้มีฝีมือด้านการเขียนเพลงอีกคนหนึ่ง คมทัพแสงเป็นผู้มีส่วนจุดประกายความอยากเป็นนักเขียนให้สลาตั้งแต่ยังเรียนอยู่และมีความสัมพันธ์กับกลุ่มลำน้ำมูลอยู่ก่อนแล้ว -ว่ากันจริง ๆ ความสำเร็จด้านงานเขียนของเขา ยังแตกต่างกับสมาชิกกลุ่มลำน้ำมูลอยู่มาก เพราะอย่าง ฟอน ฝ้าฟาง หรือวงเดือน ทองเจียว ต่างเริ่มมีชื่อเสียงในวงกว้างกันแล้ว ในขณะที่ตัวเขาเองอยู่ในระดับฝึกหัดเพื่อเข้าสู่ถนนนักเขียนเท่านั้น -ปี 2528 -2529 กลุ่มวรรณกรรมลำน้ำมูล จัดโครงการกิจกรรมวรรณกรรมตามโรงเรียนต่าง ๆ ในละแวกภาคอีสาน มีการให้นักเรียนประกวดเขียนกลอน, เรื่องสั้น มีการแสดงดนตรีและละครบนเวทีด้วย โดยผู้รับผิดชอบด้านดนตรี และละคร คือ บุญมา ภูเม็ง และคม ทัพแสง ครั้งนั้นสลามีโอกาส ไปช่วยงานบนเวทีที่ และสีคิ้ว โดยรับหน้าที่ร้องเพลงให้นักเรียนฟังเป็นหลัก -การทัวร์ครั้งนี้ เขาได้พบเพื่อนใหม่ซึ่งเป็นนักเขียนเลือดอีสาน แต่ไปตั้งรกรางอยู่ที่ส่วนกลางหลายคนอาทิ กวีหนวดงามผู้กำลังเลือดลมร้อนแรงนาม “เสรี ทัศนศิลป์ “ หรือพระสึกใหม่ ผู้เป็นฆราวาสได้ไม่กี่ปีนาม “ไพวรินทร์ ขาวงาม “ ที่มาร่วมโครงการนี้ด้วย -ครั้งที่ออกกิจกรรมที่ร้อยเอ็ด ทางกลุ่มมีแขกรับเชิญมาช่วยงานบนเวทีอีกคนหนึ่งจากการชักนำของบุญมา ภูเม็ง เป็นเด็กหนุ่มจากเมืองหนองคายที่กำลังร่อนแร่ในวงการเพลงโดยไม่มีใครรู้จักนาม พงษ์สิทธิ์ คัมภีร์ หรือที่เรียกกันในหมู่เพื่อนๆว่า ปู-คัมภีร์ นั่นเอง -ปู- คัมภีร์ มีแววโดดเด่นมาตั้งแต่ตอนนั้น โดยเฉพาะช่วงร้องเพลงบนเวที เขาคว้ากีตาร์ขึ้นโชว์เพลงชุด คนไกลบ้าน ของคาราวาน ที่มีเพลง เสือร้องไห้ เป็นเพลงเอกด้วยน้ำเสียงกังวานใสทรงพลัง สะกดคนฟังให้นิ่งงันด้วยความประทับใจกันถ้วนหน้า แม้แต่ตัวลาเองที่ออกงานเทียนก้อมมาแล้วยังยอมรับว่าปูนั้นมีบุคลิกทางดนตรีที่พิเศษ และต้องเติบโตบนถนนดนตรีในอนาคตอย่างแน่นอน
อ่านต่อ เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 7.3 จดหมาย(ไม่)ผิดซอง

9 ขั้นตอนการเขียนเพลงของ ครูสลา คุณวุฒิ

โดยครูสลา คุณวุฒิ อ้างอิง : ลูกทุ่งดอทคอม สงวนลิขสิทธ์โดยสโมสรนักเขียนภาคอีสาน 9 ขั้นตอนการเขียนเพลงของ ครูสลา คุณวุฒิ 1.การหาเรื่องราว, ประเด็น 2.การตั้งชื่อเรื่อง, ชื่อเพลง 3.วิเคราะห์แนวทาง 4.คิดหาทำนอง 5.วางแผนการใช้ถ้อยคำ 6.ลงมือเขียน 7.ฟักตัว 8.ทบทวนขัดเกลา 9.ร้องไกด์ - จาก 9 ขั้นตอนการเขียนเพลง ที่นำเสนอเป็นแนวทางให้กับ คนเขียนเพลง เป็นแนวทางหลักที่เชื่อว่า จะทำให้สามารถเขียนเพลงออกมาได้ เพลงหนึ่ง หรือหลายๆเพลง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความสามารถของ นักแต่งเพลงแต่ละคน บางคนอาจมีใช้ขั้นตอนและวิธีการเขียนเพลง แตกต่าง มาก น้อยไป จากนี้ ถือว่าไม่ผิดหลักการแต่ประการใด จากใจ meboon - ความสำเร็จของทุก นักล่าฝัน คือ การนำหลักการของ ผู้ที่สำเร็จแล้วมาตั้งเป็นบทเรียนหลัก จากนั้น ใช้หลักการประยุกค์ ให้เข้ากับ บุคลิก และ ความถนัดของตัวเอง สถานการณ์ปัจจุบัน และอนาคนอันใกล้ หมั่นฝึกฝน จนเกิดความชำนาญ พร้อมกับติดตามข่าวสาร ความเป็นไปของเส้นทางสายฝัน ไม่ว่าจะเร็วหรือช้าเพียงใด ต้องสำเร็จแน่นอนครับ -สำหรับครูสลา คุณวุฒิ ใช้หลักการแต่งเพลง ทั้ง 9 ขั้นตอนนี้ ในการเขียนเพลง มาจนเป็น ครูสลา คุณวุฒิ ในทุกวันนี้ -รายละเอียดที่เหลือในแต่ละหัวข้อจะนำมาลงให้ต่อไปครับ

แนวทางการสร้างเพลง ครูสลา (ตอนที่ 5 )ใช้ภาษาอย่างไรให้โดนใจ

แนวทางการสร้างเพลง ครูสลา (ตอนที่ 5 )ใช้ภาษาอย่างไรให้โดนใจ โดยครูสลา คุณวุฒิ อ้างอิง : ลูกทุ่งดอทคอม สงวนลิขสิทธ์โดยสโมสรนักเขียนภาคอีสาน - การเขียนกลอนลำ ครูสลา คุณวุฒิ มีแนวทางเป็นหลังการเขียนกลอนลำ ของตนเอง โดยใช้ปรัชญา คือ - เขียนงานเข้าหาชาวบ้าน ไม่ใช่ดึงชาวบ้านมาหางานเรา - นั้นคือ การนำเรื่องราวชีวิตของชาวบ้าน มาเขียนกลอนลำให้ชาวบ้านฟัง ไม่ใช่สร้างเรื่อง ของเราขึ้นมาแล้วดึงชาวบ้านมาฟัง - ส่วน “ส่วนวิธีการนำเสนอ” กลอนลำของ สลา คุณวุฒิ ใช้หลักการดังนี้ - ด้านเนื้อหา ยังคงยึดแนวทาง 5 ข้อ แบบเดียวกับการเขียนเพลงลูกทุ่ง คือ 1.ขึ้นต้นต้องโดนใจ 2.เนื้อในต้องคมชัด 3. ประหยัดคำไม่วกวน 4. ทำให้คนฟังคิดว่าเป็นเพลงของเขา 5. จบเรื่องราวประทับใจ - ด้านรูปแบบ กลอนลำแต่ละประเภทมีจังหวะ ทำนองเป็นของตัวเอง การเขียนเนื้อนอกจาก กินใจแล้ว จะต้องไม่ขัดกับทำนองของกลอนลำแต่ละประเภท และการประยุกต์รูปแบบต้อง กลมกลืน ที่สำคัญประยุกต์อย่างไรก็อย่าให้หมอลำเป็นอย่างอื่น เปรียบเหมือนทำส้มตำ แม่ครัว จะใส่อะไรลงไปก็ได้ แต่จะต้องให้คงความมีรสชาติเป็นส้มตำ ถ้าผิดฝืนทำส้มตำให้เป็นพิซซ่า คนกินก็รับไม่ได้ - ด้วยหลักการเขียนกลอนลำดังกล่าวทำให้ ครูสลา คุณวุฒิ สามารถเขียนกลอนลำ ได้อย่างดี มีผลงานมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน - ครูสลา คุณวุฒิ ใช้เวลาในการเขียนเพลง แต่ละเพลงประมาณ 30 นาที แต่ใช้เวลาในการ คิดเพลงแต่ละเพลงไม่เท่ากัน แต่ส่วนมากจะให้หลักการ “ คิดนานเขียนเร็ว” - ฟักตัว - หลังจากที่ลงมือเขียนจนเสร็จ ถือว่างานทุกอย่างเกือบเรียบร้อย นักแต่งเพลงแต่ละคนอาจใช้ เวลาในการเขียนเพลงมากน้อยแต่กต่างกัน แต่โดยวิธีการที่ถูกต้อง น่าจะลงมือเขียนให้เสร็จ รวดเดียวจบทันที เพราะหากปล่อยทิ้งไว้โดยเขียนไม่จบบางทีข้อมูล เรื่องราวต่างๆ ที่ผ่านขั้นตอน เตรียมการต่างๆ มาเป็นอย่างดีอาจมีลืมหายไป - การฟัวตัว คือ ทิ้งเนื้อเพลงที่เขียนเสร็จเรียบร้อยไว้ระยะหนึ่ง แล้วกลับมาทบทวนและขัดเกลา ในขั้นนตอนต่อไป (ทบทวน - ขัดเกลา) - หลังจากผ่านระยะการฟักตัวแล้ว นักแต่งเพลงต้องกลับมาดู เพลง ที่เขียนไว้อีกครั้งหนึ่ง เพื่อ เป็นการทบทวน และขัดเกลาเพลงทั้งหมดอีกครั้งหนึ่ง อาจมีการแก้ไขถ้อยคำบางคำ หรือปรับ ทำนองบางท่อน - ขั้นตอนนี้จะทำให้เพลงมีความสมบูรณ์ที่สุด เพราะถือว่าผ่านกระบวนการ และขั้นตอนการ เขียนเพลงมาตามลำดับแล้ว - นักแต่งเพลงทุกคนจะพอใจเมื่อได้ เพลง ที่ผ่านการทบทวนและขัดเกลา แก้ไขจนเป็นที่พอใจ ของตนเองแล้ว ถือว่างานเขียนเพลงมาถึงขั้นสุดท้าย - ร้องไกด์ - ขั้นตอนสุดท้ายของการเขียนเพลง คือ การทำอย่างไรที่จะทำให้เพลงที่เขียน เสร็จสมบูรณ์ คือ คนอื่นฟังรู้เรื่องด้วยทั้ง เนื้อร้อง และทำนอง นักแต่งเพลงจะต้องทำการร้องเพลง ของตนเอง เรียกว่า การร้องไกด์ พยามให้เหมือนกับตัวเองต้องการที่สุด ขั้นตอนนี้นักแต่งเพลงบางคนมีปัญหา ในการร้องเพลงอาจให้คนอื่นร้องแทน แต่ต้องพยามให้สื่อความหมายตรงกับที่ตัวนักแต่งเพลงต้องการ - การร้องไกด์ มีทั้งแบบที่ง่ายที่สุด ไปจนถึงแบบที่ยากที่สุด ซึ่งทั้งสอบแบบ มีความหมายเดียวกัน คือ ทำให้คนอื่นรู้จักเพลงที่ตนเองแต่งเท่านั้น จึงไม่จำเป็นต้องลงทุนเสียค่าใช้จ่ายแพงๆ อ่านต่อ ตอนที่ 6 ครับ

แนวทางการสร้างเพลง ครูสลา (ตอนที่ 4 ) การตั้งชื่อเพลง

แนวทางการสร้างเพลง ครูสลา (ตอนที่ 4 )
โดยครูสลา คุณวุฒิ
อ้างอิง : ลูกทุ่งดอทคอม
สงวนลิขสิทธ์โดยสโมสรนักเขียนภาคอีสาน
- การตั้งชื่อเรื่องเพลง - ชื่อเรื่อง คือ การสรุปเรื่องราวทั้งหมดที่พบเห็นมาจากการรวบรวมเรื่องราว ประเด็น แลลแรงบันดาลใจ ทั้งหมด สรุปเป็นคำสั้นๆ ที่ครอบคลุมเรื่องราว เนื้อหา ที่อาจจะเป็น นำไปสู่การตั้งเป็น ชื่อเพลง ในขั้นตอน ต่อไป - ชื่อเพลงคือ ส่วนสำคัญที่สุดของเพลง เป็นหัวใจ ของเพลงเพราะเป็นสื่อความหมายอันแรงที่จะทำให้คนรู้จัก เพลงและอย่างฟังเพลง - หลังการตั้งชื่อเพลง คือ ใช้คำสั้นๆ มีความหมายกินใจ ให้คนฟังอย่างฟังเพลง และที่สำคัญต้องสื่อความหมาย ไปยังเนื่อเพลง และครอบคลุมเนื้อหาเพลงทั้งหมด ชื่อเพลงงกับเพลง ต้องสอดคล้องกัน ฟังชื่อเพลงแล้วสามารถ จินตนาการถึงเนื้อเพลงได้ และฟังเพลงจบต้องมีความรู้สึกว่าตรงกับ ชื่อ เพลง - ขั้ตตอนนี้ ครูสลา จะให้ความสำคัญกับตั้งชื่อเพลงก่อน เพื่อให้ง่ายต่อการเขียนเพลง - วิเคราะห์แนวทาง เมื่อผ่านขั้นตอนการนำประเด็น สรุปเป็น ชื่อเพลงแล้ว ต้องนำมาวิเคราะห์หาแนวทางว่า เพลงที่จะแต่งออกมานั้น น่าจะมีลักษณะเป็นอย่างไร ส่วนใหญ่จะกำหนดกรอบแนวทางของเพลงออกเป็น 2 ประการคือ - 1 ควรจะนำเสนออย่างไร กลุ่มเป้าหมาย (คนฟัง) นักร้อง (ผู้นำเสนอ) - 2 ควรจะแต่งเป็นเพลงแบบไหน เพลงช้า เพลงเร็ว - คิดหาทำนอง ทำนองเพลง คือองค์ประกอบสำคัญลำดับที่สองของเพลงรองจากเนื้อเพลง นักแต่งเพลงบางคนแต่งเพลง โดยคิดทำนองก่อนที่จะเขึยนเนื้อเพลง บางคนเขียนเนื้อเพลง ก่อนที่จะใส่ทำนองบางคนเขียนเนื้อเพลงและใส่ทำนองไปพร้อมกัน เป็นเทคนิคของนักแต่งเพลงแต่ละคน ครูสลา คุณวุฒิ ชอบที่จะเขียนเนื้อเพลงไปพร้อมกันการใส่ทำนอง - ใช้ถ้อยคำ คำที่ใช้ในเพลง หรือ ภาษาที่ใช้ในเพลงแตกต่างไปจากภาษาที่ใช้พูดและเขียนทั่วไป เพราะเป็นถ้อยคำที่ จะสื่อความหมายไปยัง ผู้ฟังโดยการฟังเพียงอย่างเดียว นักแต่งเพลงจะต้องมีความสามารถในการใช้ถ้อยคำ เป็นอย่างดี ซึ่งต้องมาจากการฝึกฝน การคิด การค้นหา และมาจากการฝึกหัดการใช้คำมากๆ - นักแต่งเพลงบางคนมีภาษา เป็นลักษณะเฉพาะของตนเอง เมื่อเขียนเพลงออกมาแล้วคนฟัง สามารถบอกได้ว่าเป็นใคร ซึ่งเป็นความสามารถเฉราะตัวของแต่ละคน แต่นักแต่งเพลงทุกคนสามารถที่จะมีภาษา เป็นของตนเอง - การใช้ถ้อยคำในเพลง มีหลักสำคัญที่ครูสลาใช้ในการเขียนเพลง คือ "ทำอย่างไรคนจึงได้ยินและจำได้" - การวางแผนการใช้ถ้อยคำส่วนมากจะคำนึงถึงโครงสร้างของเพลงเป็นหลักในการวางคำ เช่น -คำขึ้นต้น ท่อนแรก -คำที่ใช้ใน ท่อนแยก -คำที่ใช้ใน ท่อนจบ - การวางแผนการใช้ถ่อยคำบางครั้ง จำเป็นจำเป็นต้องใช้วิธีการ ร่าง และบันทึก เมื่อนึกถึง ถ้อยคำ ที่จะนำมาใช้ในบทเพลง แล้วค่อยนำมาเรียบเรียงใหม่ในตอนเขียนเนื้อเพลง - นักแต่งเพลงทุกคนจะต้องมี คลังคำ หรือ หลังภาษา ที่สามารถหยิบมาใช้ได้อย่างทันทีที่ต้องการ -ชอยกตัวอย่าง "นักแต่งเพลง" มือหนึ่งของวงการเพลงไทย ซึ่งมีประสบการณ์ในการเขียนเพลงมากกว่า 300 เพลง ในระยะเวลา 20 ปี โดยเฉพาะ "เพลงรักโดนใจ" เพลงแต่ละเพลงมี ภาษามีถ้อยคำ ที่ทำให้คนฟัง ขอบใจ ทำให้เพลงได้รับความนิยม และทำให้นักร้องดังทั่วประเทศกันหลายคนคือ นิติพงษ์ ห่อนาค อ่านต่อ ตอนต่อไป

เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 7.1 จดหมาย(ไม่)ผิดซอง

อ้างอิง: หนังสือเพลงชีวิต “ศิลปินครูบ้านป่า สลา คุณวุฒิ”
สำนักพิมพ์มิ่งมิตร เขียนโดย ชูเกียรติ ฉาไธสง , คมทัพแสง บรรณาธิการ แคน สาลิกา เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 7.1 จดหมาย(ไม่)ผิดซอง โดย แคน สาลิกา : มีนาคม 2545
- ฝอยสีขาวแผ่คลุมตั้งแต่ริ้วเมฆจรดตีนฟ้า คือสายฝนสุดปลายฤดูที่เชื่อมต่อฤดูหนาว
ซึ่งกำลังจะมาเยือนในอีกไม่กี่วัน เมฆเทาหม่นคลื่นไปมาตามแรงลมกรรโชคกลางหยาดน้ำตกลงกระทบผืนดิน
อย่างไม่ขาดสาย เป็นเสียงเพลงฤดูกาลที่ผ่านไป และย้อนมาเยือนครั้งแล้วครั้งเล่า - บ้านพักครูหลังนั้นดูโดดเดี่ยวกลางม่านฝน เสียงหยาดน้ำกระทบหลังคาบ้าน และกลิ่นหอมของดอนยามฝนตกใหม่ๆ ให้ความรู้สึกเปล่าเปลี่ยวสุดประมาณ นี่เป็นบ้านซึ่งสลาเข้ามาอยู่ได้เพียงระยะหนึ่ง หลังจากที่ช่วงแรกต้องอาศัยห้องเก็บของเสียนาน - กองม้วนเทปวงเทียนก้อมที่เหลือจากการจัดจำหน่ายครั้งล่าสุด วางซ้อนอยู่บนโต๊ะกินข้าว 4-5 ม้วนบนกล่องเทปมีจดหมายฉบับหนึ่งวางอยู่ เป็นจดหมายที่พนักงานไปรษณีย์เพิ่งมาส่งได้ไม่นานนัก - จดหมายฉบับนี้พิเศษตรงที่ส่งผิดคนโดยบังเอิญ เข้าใจว่าคนส่งคงรีบร้อนไปหน่อย แง่มุมเล็กๆเพียงแค่นี้ถ้าเป็นคนทั่วไปคงมองข้ามไม่ได้ใส่ใจ แต่สำหรับคนที่มีวิญญาณศิลปิน เรื่องนี้นับเป็นวัตถุดิบชิ้นยอดที่พึงมิได้ เนื้อความในกระดาษบอกเล่าถึงเรื่องการงานและสารทุกข์สุกดิบธรรมดา แต่สลามานั่งเรียบเรียงด้วยจินตนาการเรื่องความรัก เพราะเป็นสิ่งกระทบใจคนในวงกว้างได้ค่อนข้างดี - แม้จะแต่งเพลงออกมามากพอสมควรแล้วก็ตาม แต่สลาก็ถูกวิจารณ์จากเพื่อนครูเสมอว่าแต่งได้เฉพาะเพลงช้าๆ ส่วนเพลงเร็วแต่งไม่เป็น ดังนั้นเพลงในจังหวะสนุกสนานในชื่อ จดหมายผิดซอง จึงเกิดขึ้นมาเงียบๆ - เริ่มแรกครูหนุ่มไม่ใส่ใจกับเพลงนี้มากนัก เพียงแต่ลองให้เพื่อนครูที่สอนภาษาไทยเอาไปให้เด็กนักเรียนร้องสนุกๆในชั่วโมงเรียนดู ปรากฏว่าเด็กชอบ และกลายเป็นเพลงฮิตในโรงเรียนขึ้นมาทันที ดังนั้น เมื่อมีกิจกรรมที่เด็กต้องเชียร์กีฬาเมื่อไร เพลงนี้ก็ได้รับการขับร้องด้วยความสนุกสนานอยู่ตลอด - “ พี่แสนดีใจ ได้รับจดหมายจากไปรษณีย์…จ่าหน้าซองถึงพี่ สอดซองสีนี้ไม่ใช่ใคร…พี่จำได้แน่นอน ว่าบังอรส่งถึงพี่ชาย เปิดอ่านดูข้างใน ต๊ายตายจดหมายผิดซอง…” - บทเพลงนี้ถูกเก็บไว้เพื่อรอเวลานำไปเผยแพร่ในช่วงอันเหมาะสมต่อไป - ว่ากันถึงวงเทียนก้อมบ้าง ต้นทุนสองหมื่นบาทที่มีคนช่วยออกทุนทำเทปชุดแรก สามารถขายคืนทุนได้หมดในเวลาไม่มากนัก นอกจากนั้นยังมีกำไรเหลือมาอีกไม่น้อย จนสลาต้องวางโครงการจัดกองทุนให้นักเรียนที่ด้อยโอกาสในตัวอำเภออีก เรียกได้ว่าผลงานชุดนี้บรรลุวัตถุประสงค์ทุกประการ - การขายแบบน้ำซึมบ่อทราย พอหมดก็มาปั้มใหม่ของวงเทียนก้อมทำให้นายห้างกรุงไทยออร์ดิโอสนใจจนขอซื้อมาสเตอร์เทปมาจัดจำหน่ายให้สลาและเพื่อนก็ตอบตกลงอย่างยินดี และขาดอัลบั้มนี้ในราคาพอประมาณ พวกเขาต้องเข้ากรุงเทพฯอีกครั้ง เพื่อเซ็นสัญญาและรับค่ามาสเตอร์เทปไปพร้อมๆกัน และนี้เป็นการจำหน่ายแบบเข้าสู้ระบบเป็นครั้งแรกของเทียนก้อม - เข้ากรุงเทพฯคราวนี้ เขาเอาเพลงจดหมายผิดซองไปฝากวิทยา กีฬา ช่วย ติดต่อ เผื่อมีใครสนใจอยากเอาเพลงนี้ไปร้อง ฝากกไปแล้วเขาก็ไม่ได้ใส่ใจอีกเพราะหากไปตั้งความหวังไว้มากเกิน ก็มีแต่เป็นกังวลให้ทุกข์ใจเปล่าๆ - เทียนก้อมมีงานแสดงสดอย่างสม่ำเสมอในละแวกเมืองอำนาจเจริญและอุบลฯ ช่วงนี้สลาซุ่มเขียนเพลงใหม่ๆ เพื่อเตรียมทำอัลบั้มชุดที่ 2 กระตือรือร้น คราวนี้ต้นทุนเพิ่มจากเดิมกลายเป็นสามหมื่นกว่าบาทโดยมีวิทยา กีฬา เจ้าเก่าเป็นผู้ช่วยดูแลดนตรีเหมือนเคย - และชุดที่ 2 นี้เขาใช้ชื่อว่า กระดานร้าง - วงเทียนก้อมของชาวครูอำนาจเจริญ ดำเนินบทบาทของตังเองต่อไประยะหนึ่ง จนกระทั่งถึงจุดอิ่มตัวเพราะเพื่อนสมาชิกในวงหลายคนต้องย้ายข้ามถิ่นไปโรงเรียนอื่น บางคนไปไกลถึงต่างจังหวัด มีผลทำให้องค์ประกอบในวงไม่สมบูรณ์ และต้องเลิกราไปเงียบๆในที่สุด - หากแต่ในใจลึกๆ ของเขา ยังหวังเสมอว่าหากมีโอกาสเขาอยากทำอัลบั้มเทียนก้อมอีกสักชุด อย่างน้อยเพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงการเริ่มต้นของตัวเองในช่วงวัยหนุ่ม - สายลมฤดูกาลโชยพัดเป็นระลอก แผ่คลื่นความปรวนแปรของชีวิตมาด้วย คลื่นอันนี้ถ้าโถมเข้าไปในหัวใจของครูหนุ่มเงียบๆแต่รุนแรง ส่งผลให้รู้สึกเหนื่อยหน่ายท้อแท้ต่อสิ่งรอบตัวอย่างบอกไม่ถูก ไฟฝันที่เคยร้อนแรงบัดนี้ถูกวันเวลาลึกลับกัดกร่อนจนแทบหรี่โทรม แม้จะเริ่มต้นได้ดีกับวงเทียนก้อม แต่ก็ดูเหมือนความก้าวหน้าบนเส้นทางนี้ จะหยุดเพียงแค่ระดับนั้น - หากลองพิเคราะห์ย้อนหลังสาเหตุที่ทำให้สลาเกิดอาการดังกล่าว คงเป็นเพราะวงจรชีวิตที่เรียบง่ายและหยุดนิ่งเกินไป ซึ่งขัดแย้งกับช่วงวัยหนุ่มของตัวเอง - เขาอยู่ในความจำเจในบ้านพักครูหลังเล็กๆ จนกระทั่งมีข่าวดีที่ทำให้กระตือรือร้นขึ้นมาบ้าง นั่นคือเพลง จดหมายผิดซอง ได้รับคำชมเชยจาก สุรินทร์ ภาคศิริ ครูเพลงรุ่นใหญ่ และมีแนวโน้มว่าจะมีค่ายเทปสนใจซื้ออย่างแน่นอน ♫ ♫ ♫ - หากเปรียบเพลง จดหมายผิดซอง กับการเดินทาง บทเพลงก็ใช้เวลาร่วม 2 ปีทีเดียวกว่าได้บันทึกเสียงเป็นรูปเป็นร่างให้คนได้ฟังกันตามสื่อต่างๆแล้วระยะเวลา 2 ปีที่วงเทียนก้อมเลิกไป และจดหมายผิดซองยังไม่มีใครรู้จัก สลากำลังทำอะไรอยู่? - คำตอบคือ คราวนี้เขามุ่งมั่นจะเป็นนักเขียนอย่างจริงจังตามแบบนิมิต ภูมิถาวร ที่หลงใหล ศรัทธาขนาดเจียดเงินครูบ้านนอกซึ่งน้อยอยู่แล้วไปซื้อพิมพ์ดีดมาเครื่องหนึ่ง ฝึกพิมพ์จนช่ำชอง ตั้งหน้าตั้งตาลุยเขียนเรื่องสั้นและบทกวีอย่างหนัก - ระยะนั้นสลาส่งผลงานไปตามนิตยสารต่างๆ มากมาย แต่ก็โดนตีกลับเป็นส่วนใหญ่ มีไดลงพิมพ์ค่อนข้างน้อย ซึ่งทำให้ท้อใจอยู่เหมือนกัน(เรื่องสั้น “ นางเอก” และบทกวี 3-4 บทได้ลงนิตยสารฟ้าเมืองทองในนามปากกา “ศรีลัดดา”) ความหวังอย่างหนึ่งของสลาในตอนนั้นคือ อยากคบหาคนเขียนหนังสือเหมือนๆกัน เพื่อแลกเปลี่ยนทัศนะและช่วยติชมวิพากษ์วิจารณ์ผลงานของกันและกันได้บ้าง อย่างน้อยก็เป็นการฝึกปรือฝีมือได้อีกทางหนึ่ง
อ่าน่ต่อตอน 7.2

เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 6.2 “เทียนก้อม” เทียนแห่งการเริ่มต้น

อ้างอิง: หนังสือเพลงชีวิต “ศิลปินครูบ้านป่า สลา คุณวุฒิ” สำนักพิมพ์มิ่งมิตร เขียนโดย ชูเกียรติ ฉาไธสง , คมทัพแสง
บรรณาธิการ แคน สาลิกา
เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 6.2 “เทียนก้อม” เทียนแห่งการเริ่มต้น
โดย แคน สาลิกา : มีนาคม 2545
ต่อจากตอนที่ 6.1
- เหนือสิ่งอื่นใด กระแสของวงคาราวาน ที่เพิ่งกลับคืนเมืองในคอนเสริ์ตฟอร์ยูนิเซฟ ครั้งที่ 1 เป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญที่ทำให้เขาอยากพัฒนาวงเทียนก้อมไปสู่การฟัง “ เอาเรื่อง “ มากกว่าฟังเอาสนุกเพียงอย่างเดียว - วงเทียนก้อม ตระเวนเดินสายตามโรงเรียนมัธยมทั่วไปที่ขออนุญาตได้ เพราะเป็นช่วงที่โรงเรียนระดับประถมศึกษาปิดเทอมพอดี แต่ระดับมัธยมยังไม่ปิด พวกเขาเล่นโดยไม่รับค่าตัว แต่จะให้นักเรียนบริจาคตามความสมัครใจแทน ซึ่งเงินที่ได้จะนำเข้าโครงการอาหารกลางวัน ตามโรงเรียนที่พวกเจาสอนทุกบาททุกสตางค์ - การทำวงเทียนก้อม มีผลอย่างมากในด้านการฝึกปรือทักษะเขียนเพลงของ สลา คุณวุฒิ เพราะต้องหาประเด็นทำเพลงใหม่ๆ ป้อนเทียนก้อมตลอดเวลา นอกจากนี้ เขายังเขียนเพลงลูกทุ่งที่ถนัดเป็นพิเศษส่งไปเสนอตามค่ายต่างๆเหมือนเดิม แต่ถ้าไม่นับ รุ่งเพชร แหลมสิงห์ ซึ่งเอเพลงเขาไปร้องบ้างแล้ว ค่ายเทปอื่นๆต่างมีเพียงความเงียบเป็นคำตอบทั้งสิ้น - ส่วนงานวรรณกรรม สลาก็ยังเขียนบทกวีและเรื่องสั้นอย่างสม่ำเสมอ ผลงานของเขาได้ผลประปรายตามนิตยสารต่างๆ ซึ่งช่วยให้มีกำลังใจขึ้นบ้าง - ขณะนั้น เขาแบ่งความคิดตัวเองไว้ว่า หากเป็นเพลงเกี่ยวกับครูหรือนักเรียนเขาจะแต่งฟรีๆ หรือถ้ามีใครมาขอก็ยินดีมอบให้โดยไม่คิดอะไร แต่ถ้าเป็นเพลงลูกทุ่งแล้ว เขาจะเก็บไว้ส่วนตัวเพื่อเสนอขายตามค่ายเทปทั่วไปเท่านั้น
♫ ♫ ♫♫ ♫ ♫♫ ♫ ♫♫ ♫ ♫♫ ♫ ♫♫ ♫ ♫♫ ♫ ♫♫ ♫ ♫♫ ♫ ♫♫ ♫ ♫♫ - อีกมุมหนึ่ง วิถีทุกข์สุขของคนเปรียบเหมือนบทเพลงสายน้ำที่ส่องให้เห็นความเป็นไปของชีวิต บางช่วงชัดเจนดั่งน้ำไหลเรียบเรื่อย บางช่วงพร่าพร่างดังน้ำที่กระเพื่อมตามแรงลม เต็มไปด้วยครรลองความขัดแย้งและกลมกลืน ดำรงอยู่เช่นนี้มาเนิ่นนาน - ทุกเย็น เสียงเพลงจากห้องพักครูจะดังแว่วมาตามลาเสมอ เหล่าครูซึ่งเป็นสมาชิกวงเทียนก้อม มุ่งมั่นซ้อมเพลงกันออย่างหนัก เพราะมีความหวังที่ได้ทำอัลบั้มของตัวเองโดยทุนจากนักการเมืองคนหนึ่ง - ว่ากันจริงๆเงิน 20,000 บาทที่ได้มานับเป็นจำนวนไม่มากเลยหากนำไปเทียบกับค่ายเพลงใหญ่ๆ ซึ่งต้องใช้เงินเหยียบแสนขึ้นไปต่อการทำงานในแต่ละชุด - สลามองเงินจำนวนนั้นอย่างใคร่ครวญ เขาต้องวางแผนการใช้จ่ายให้รอบคอบที่สุด เพราะโดยส่วนตัวไม่ได้มีความรู้เรื่องการอัดเสียงเลย หากพลาดพลั้งเทปชุดแรกก็คงไม่สำเร็จเป็นแน่ - เขาตัดสินใจนำเรื่องนี้ไปปรึกษาเพื่อนรักวิทยา กีฬา ผู้ซึ่งช่ำชองเรื่องห้องอัดเสียงเป็นอย่างดี วิทยาให้ความช่วยเหลือเพื่อนเก่าเต็มที่ โดยรับปากในในส่วนของการเรียบเรียงดนตรีให้ แม้จะจำกัดวงเงินเพียงน้อยนิดก็ตาม - ครูหนุ่มหอบบทเพลงแห่งความหวังเข้ากรุงเทพฯอีกครั้ง คราวนี้ห้องอัดเสียงย่านบางโพเป็นด่านทดสอบเขาว่าจะบรรลุถึงความหวังที่ซ่อนเร้นมานานหรือไม่ สลาวางเพลงในชุดไว้ 12 เพลงโดยมีเพลงเด่น คือ ผู้สันโดษ และ ติดลบพบรัก แต่เมื่อพิจารณาถี่ถ้วนแล้วเขาก็ตัดสินใจใช้ “ผู้สันโดษ” เป็นชื่อชุด - ตึกรามแออัดเรียงรายและไอเสียของยวดยานที่โชคคลุ้งราวหมอกร้ายห้อมล้อมทุกทิศทาง ทำให้สลาต้องปรับตัวอย่างเร่งรีบ เขาระงับความตื่นเต้นจากการเดินทาง รวบรวมสมาธิเพื่อทำงานให้เร็วและได้ผลที่สุด เพราะเงื่อนไขของตัวเองทำให้มีเวลาแค่ 2 วันเท่านั้น - วันแรกในห้องอัด พวกเขาวางโครงงานไว้ที่การบันทึกดนตรีสดๆทีละชิ้น โดยเริ่มต้นจากกลองซึ่งเป็นหัวใจของภาคดนตรีก่อน วันที่สอง ดนตรีก็ยังไม่เรียบร้อย จนต้องทำอีกครึ่งวันจึงค่อยฟังเป็นเพลงขึ้นมาบ้าง - เวลาจากเที่ยงถึงบ่ายสามโมง สลาเหมาร้องคนเดียว 12 เพลงรวดโดยไม่แก้เลย ร้องก็เป็นขั้นตอนของการมิกซ์เสียงจนจบสิ้นกระบวนการทำงานในวันนั้น - ยามค่ำที่ดวงดาวหลงทางปรากฏบนผืนฟ้ากรุงเทพฯเพียงเลือนราง มาสเตอร์เทป “ผู้สันโดษ “ ของวงเทียนก้อม จึงปรากฏบนสายธารดนตรีเป็นครั้งแรก แม้เป็นผลงานที่ทำอย่างเร่งรีบไปบ้าง แต่ก็ถือเป็นความงดงามเท่าที่คนหนุ่มคนหนึ่งจะฝันได้ในช่วงเริ่มต้น - กระบวนการทำเทปไม่ว่าจะใต้ดินหรือบนดิน หลังจากเสร็จงานที่ห้องอัดเป็นมาสเตอร์แล้ว ในขั้นต่อไปต้องนำไปปั้มเป็นเทปคาสเซ็ทเพื่อรอจัดจำหน่ายซึ่งสลาตัดสินใจนำมาสเตอร์เทปไปปั้มกับนายห้างกรุงไทยออดิโอ โดยวางปกครั้งแรกไว้ที่จำนวน 500 ม้วนก่อน - เขาได้ยุทธวิธีจัดจำหน่ายแบบทำเองขายเอง โดยให้เพทื่อนครูช่วยกันรับไปขายตามโรงเรียน รายได้ส่วนหนึ่งจะหักเข้าการกุศลในโครงการอาหารกลางวันซึ่งไม่น่าเชื่อเลยว่าเทปงวดแรกจะหมดลงอย่างรวดเร็วจนสลาต้องหอบมาสเตอร์เทปเข้ากรุงเทพฯปั้มใหม่อีกหลายครั้ง ครั้งละ 100 -200 ม้วน นับว่าไม่เลวเลยสำหรับเทปจรยุทธ์แบบนี้ - เสร็จจากโครงการทุนอาหารกลางวัน ก็มีโครงการซื้อแปรงสีฟันสำหรับเด็กนักเรียนของกลุ่มโรงพยาบาลตามมาอีก เทียนก้อมช่วยโครงการใหม่นี้อย่างเต็มที่ โดยหักรายได้ส่วนที่เป็นกำไรเข้ากองทุนทั้งหมดจนยอดขายทั้งหมดตกกอยู่ประมาณ 3,000 ม้วน - เทปของครูบ้านนอกกลุ่มนี้ทำให้นายห้างกรุงไทยต้องเหลียวมองด้วยความสนใจ เพราะยอดขายที่วิ่งไปได้เรื่อยๆแม้ไม่ดีมากนักแต่ก็ไม่ถึงกับขาดทุนให้เจ็บตัว - ผลงานชุดผู้สันโดษ เริ่มเป็นที่รู้จักในเขตเมืองอุบลฯ และอำนาจเจริญโดยเฉพาะ เพลงติดลบพบรัก ยังเป็นที่รู้จักมากกว่าเพื่อนในหมู่ราชการครูด้วยกัน - เนื้อหาของเพลงบรรยายสภาพชีวิตครูที่เป็นหนี้ ช่างแทนใจครูส่วนใหญ่ในสังคมไทยยิ่งนัก

AVG Anti-Virus Free Edition 8.5

บทความโดย: Thai Windows Administrator Blog
อ้างอิงจาก http://thaiwinadmin.blogspot.com/
-AVG Technologies ได้อัพเดท AVG Anti-Virus Free Edition เป็นเวอร์ชัน 8.5 โดยยูสเซอร์ที่กำลังใช้งาน AVG Anti
-Virus Free Edition 8.0 นั้น จะได้รับแจ้งเตือนให้ทำการอัพเดทก่อนวันที่ 30 เมษายน 2552 ในกรณีที่ผู้ใช้ไม่อัพเดทภายในวันดังกล่าวจะไม่สามารถทำการอัพเดทไวรัสเดฟฟินิชันได้ ซึ่งส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการถูกโจมตีจากมัลแวร์ เนื่องจากโปรแรกมจะไม่สามารถป้องกันหรือทำการตรวจจับมัลแวร์ตัวใหม่ๆ ได้
หมายเหตุ: AVG Technologies อ้างว่า AVG Anti-Virus เวอร์ชัน 8.5 สามารถตรวจพบและกำจัดไวรัสสายพันธฺ Conficker ได้ อ่านรายละเอียดทั้งหมดได้ที่เว็บไซต์ http://thompson.blog.avg.com/2009/04/the-imminent-demise-of-the-internet.html
การดาวน์โหลด AVG Anti-Virus Free Edition 8.5ผู้ที่กำลังใช้งาน AVG Anti-Virus Free Edition 8.0 สามารถดาวน์โหลดชุดติดตั้งโปรแกรม AVG Anti-Virus Free Edition 8.5 (เวอร์ชันเต็มคือ 8.5.287) มาอัพเกรดได้ฟรี ตามรายละเอียดด้านล่าง
ชื่อไฟล์: avg_free_stf_en_85_287a1483.exe
เวอร์ชัน: 8.5.287
ระบบปฏิบัติการที่รองรับ: Windows 2000, Windows XP ทั้ง 32 บิตและ 64 บิต, Windows Vista ทั้ง 32 บิตและ 64 บิต และคอมแพตติเบิลกับ windows 7
ขนาดของไฟล์: 60.8 MB
วันที่ออก: 9/APR/2009
ภาษา: อังกฤษดาวน์โหลดลิงค์:•
ดาวน์โหลดจาก AVG Server >> คลิกที่นี่
ดาวน์โหลดจาก Download.com >> คลิกที่นี่
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม: โฮมเพจ AVG Free Anti-Virus
ความต้องการระบบAVG Anti-Virus Free Edition 8.5 มีความต้องการระบบขั้นต่ำดังนี้-
ซีพียู: Intel Pentium 300 MHz-
พื้นที่ว่างบนฮาร์ดดิสก์: 30 MB (เฉพาะสำหรับการติดตั้งเท่านั้น)-
หน่วยความจำ: 256 MB
การติดตั้ง AVG Anti-Virus Free Edition 8.0
การติดตั้ง AVG Anti-Virus Free Edition 8.5 มีขั้นตอนดังนี้
1. ดับเบิลคลิกไฟล์ avg_free_stf_en_85_287a1483.exe จากนั้นในหน้า Welcome to the AVG Setup program ให้คลิก Next
2. ในหน้า Acceptance Notice ให้คลิก Accept
3. ในหน้า License Agreement ให้คลิก Accept
4. รอจนโปรแกรมทำการตรวจสอบระบบแล้วเสร็จ หากมีโปรแกรมพบการติดตั้ง AVG 8.0 โปรแกรมจะแจ้งว่าหากดำเนินการต่อจะเป็นการถอนการติดตั้ง AVG 8.0 ให้คลิก Next เพื่อดำเนินการต่อ
5. ในหน้า Select Installation Type แนะนำให้เลือกเป็น Standard Installation แล้วคลิก Next
6. ในหน้า Activate your AVG Free License ให้คลิก Next
7. ในหน้า AVG Security Toolbar ให้เลือกเช็คบ็อกซ์ Yes, I would like to install the AVG Security Toolbar เสร็จแล้วคลิก Next
8. ในหน้า Setup Summary ให้ตรวจสอบความถูกต้องเสร้จแล้วคลิก Finish เพื่อทำการติดตั้ง
9. ในหน้า Applications terminate ให้คลิก Next
10. รอจนการติดตั้งแล้วเสร็จ จากนั้นในหน้า Installation is complete ให้คลิก OK
หลังจากทำการติดตั้งโปรแกรมเสร็จแล้ว จะต้องทำการขั้นตอนใน AVG First Run Wizard อีก 7 ขั้นตอน ซึ่งจะเป็นการตั้งค่าการอัพเดทไวรัสเดฟฟินิชัน การสแกนระบบ และอื่นๆ โดยให้ทำตามคำสั่งบนหน้าจอ (ส่วนมากเป็นการคลิก Next) เสร็จแล้วให้ทำการรีสตาร์ทระบบหนึ่งรอบ
ฟีเจอร์ใหม่ใน AVG Anti-Virus Free Edition 8.5
AVG Anti-Virus Free Edition 8.5 นั้นสามารถป้องกันไวรัสและสปายแวร์ และได้รับการปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ข้อจำกัดของ AVG Anti-Virus Free Edition 8.5ข้อจำกัดของ AVG Anti-Virus Free Edition 8.5 เมื่อเปรียบเทียบกับ AVG Anti-Virus Pro หรือ AVG Internet Security นั้นมีข้อจำกัดต่างๆ ดังนี้
1. เหมาะสำหรับการป้องกันขั้นพื้นฐานเท่านั้น
2. จำนวนภาษาที่รองรับมีจำกัดเพียง 5 ภาษา คือ English, German, French, Italian และ Japanese
3. ไม่มีบริการด้านเทคนิครองรับ
4. รองรับเฉพาะเครื่องลูกข่ายคอมพิวเตอร์เท่านั้น ไม่สามารถใช้งานบนเครื่อเซิร์ฟเวอร์ได้
5. ใช้งานได้ในแบบส่วนตัวเท่านั้นไม่อนุญาตให้ใช้ในเชิงพาณิชย์
6. มีโฆษณา
นอกจากนี้ฟีเจอร์สำคัญๆ ที่ไม่มีใน AVG Anti-Virus Free Edition 8.5 แต่มีอยู่ใน AVG Anti-Virus Pro หรือ AVG Internet Security เช่น Web Shield, Anti-Rootkit, Anti-Spam (มีเฉพาะใน AVG Internet Security), Firewall (มีเฉพาะใน AVG Internet Security และ AVG Anti-Virus plus Firewall), Safe Downloads, Safe Instant Messaging, Safe Surf และ Identity Protection Identity Protection
อ้างอิงจาก http://thaiwinadmin.blogspot.com/

ไมโครซอฟท์ยืนยัน Windows 7 Release Candidate ออกวันที่ 30 เมษายน

ไมโครซอฟท์ยืนยัน Windows 7 Release Candidate ออกวันที่ 30 เมษายน
-ไมโครซอฟท์โดย Bradon LaBlanc ได้ยืนยันผ่านทางบล็อก Windows 7 Team Blog ว่า ไมโครซอฟท์จะเปิดให้ผู้ใช้ที่เป็นสมาชิก MSDN และ Technet สามารถดาวน์โหลด Windows 7 RC ได้ในวันที่ 30 เมษายน ที่จะถึงนี้ ในส่วนของผู้ใช้ทั่วไปนั้น ไมโครซอฟท์จะเปิดให้ดาวน์โหลด Windows 7 RC ได้ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2552 ดังรายละเอียดในรูปด้านล่างWindows 7 RC Release Date
-การออกมาเปิดเผยอย่างเป็นทางการของไมโครซอฟท์ในครั้งนี้ ทำให้ Windows 7 RC มีความชัดเจนมากขึ้น เนื่องจากก่อนหน้านี้ มีข่าวลือมากมายเกี่ยวกับกำหนดการออก Windows 7 RC อย่างไรตาม ยังไม่มีการเปิดเผยว่าเวอร์ชัน RC นั้นจะมีหมายเลข Build อะไร แต่มีการคาดการจากผู้เชี่ยวชาญว่าน่าจะเป็น Build 7100
อ้างอิง

วิธี Activate Windows 7

Windows 7
Windows 7ระบบปฏิบัติการรุ่นต่อไปที่ไมโครซอฟท์ได้พัฒนาขึ้นมา ดูเหมือนว่าจะเป็นการต่อยอดจาก Windows Vista เสียมากกว่า เพราะแทบจะไม่มีความแตกต่างที่ชัดเจนมากนัก ผู้ใช้หลายคนลงความเห็นว่ามันเป็น Vista Minor Change เท่านั้นเอง Windows 7 นั้น ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับโน้ตบุ๊กและพีซีโดยเฉพาะ ส่วนใครจะเอาไปติดตั้งลงเครื่องแมคก็ไม่ใช่เรื่องที่ ผิดแต่อย่างใด ไปห่วงว่าจะมีไดรเวอร์ออกมารองรับหรือไม่จะดีกว่าครั บ ส่วนวันจำหน่ายจริงๆ นั้นยังไม่ได้มีการเปิดเผยไว้แน่นอน รวมถึงเรื่องคุณสมบัติของตัว Windows 7 เอง ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากนี้มากน้อยแค่ไหน ไม่แน่นะครับวันเปิดตัวอาจจะมีฟีเจอร์เด็ดๆ ที่ถูกซ่อนเอาไว้เปิดเผยมาให้เราตกใจกันก็ได้ (หวังว่าจะมีนะครับ)ในปัจจุบันมีรุ่นทดสอบที่ยังไม่สมบูรณ์เปิดให้ผู้ใช้ งานได้ดาวน์โหลดฟรีทดลองใช้ ไมโครซอฟท์ได้มีการประกาศเปิดตัววินโดวส์ 7 ในช่วงปี พ.ศ. 2550 ว่าการพัฒนาวินโดวส์ตัวนี้จะใช้เวลาสามปีให้หลังจากก ารวางจำหน่ายวินโดวส์ วิสตาคุณสมบัติใหม่ของวินโดวส์ตัวนี้จะมีจุดเด่นในส่วนของ รองรับระบบมัลติทัช มีการออกแบบวินโดวส์เชลล์ใหม่ และระบบเน็ตเวิร์กแบบใหม่ภายใต้ชื่อโฮมกรุ๊ป (Home Group) ในขณะที่คุณสมบัติหลายส่วนในวินโดวส์รุ่นก่อนหน้าจะถ ูกนำออกไปได้แก่ วินโดวส์มูฟวีเมเกอร์ และ วินโดวส์โฟโตแกลเลอรีรุ่นทดสอบล่าสุดคือรุ่น 6.1.7000 ออกให้ทดสอบเมื่อ 7 มกราคม พ.ศ. 2552 20 วัน ที่ผ่านมา

สรุป Windows 7 ของเล่นใหม่เพียบ มีทั้งดีและไม่ดี แต่ยังไงก็คงต้องปรับปรุงอีก แต่ถามว่าผิดหวังไหม ไม่น่าผิดหวังเท่ากับ Beta Vista ตอนนั้นอยากจะเผาทิ้ง เพราะทั้งช้าและไม่เถียร แต่สำหรับ Windows 7 7000 นี้ ใช้ได้ ไม่เหมือน Vista ช่วงแรกๆ เริ่ม Activate Windows 7 ทำตามขั้นตอนของรูปภาพด้านล้างเลยครับ

การ Activate ผ่านทางโทรศัพท์ 1 ใส่ Key ที่ได้รับจาก Microsoft 25 หลัก เพื่อ Activate กด next 2 เลือกการ Activate ที่ไม่ใช่แบบ Activate Online 3 เลือกประเทศไทย 4โทรไปที่เบอร์ 00180024681668 (อันนี้เบอร์ของไมโครซอฟประเทศไทยคับ..โทรฟรีครับ..จ ากมือถือก็ได้) 5ฟังระบบอัติโนมัติ (กด 4) 6มีพนักงานรับสาย 7แจ้งเลข Activate by Phone ทั้ง 54 ตัว รอๆๆๆ…แป๊บ…กรอกตัวเลข Activate ที่ได้รับแจ้งจากพนักงาน เรียบร้อย

เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 6.1 “เทียนก้อม” เทียนแห่งการเริ่มต้น

อ้างอิง: หนังสือเพลงชีวิต “ศิลปินครูบ้านป่า สลา คุณวุฒิ
สำนักพิมพ์มิ่งมิตร เขียนโดย ชูเกียรติ ฉาไธสง , คมทัพแสง บรรณาธิการ แคน สาลิกา เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 6.1 “เทียนก้อม” เทียนแห่งการเริ่มต้น โดย แคน สาลิกา : มีนาคม 2545
- สลา ชักชวนเพื่อนครูหนุ่ม ๆ ไฟแรง ทั้งในโรงเรียนบ้านไร่ขี และโรงเรียนใกล้เคียงที่พอเล่นดนตรีได้ มาทำวงร่วมกัน จุดประสงค์หลักคือ การแสดงต้อนรับแขกจากกรุงเทพฯ ที่จะมาทำบุญทอดผ้าป่า วัดบ้านนาดีในอีกไม่กี่วัน เนื่องจากไม่มีเงินพอที่จะจ้างคณะหมอลำมาแสดงได้ - “เอาหน่อยนะพวกเรา...นึกว่าช่วยวัดเอาบุญ แล้วก็จะได้ซ้อมมือกันสนุก ๆ ด้วย” สลาบอกเพื่อน ครูด้วยกัน... ในใจคิดว่าคงมีแค่งานนี้งานเดียวเท่านั้น - เมื่อพวกเขาลองซ้อมกันดูก็ปรากฏว่ามีแววที่จะเข้ากันได้ดี ทุกเย็นเสียงดนตรีดังแว่วมาจากห้องพักครู จนเด็กนักเรียนและภารโรงเริ่มคุ้นชิน ใครถนัดเล่นเครื่องดนตรีอะไรก็รับผิดชอบตำแหน่งนั้นไปเลย ส่วนสลาดูแลการแต่งเพลงและร้องนำเหมือนเดิม - แล้ววันงานทอดผ้าป่าก็มาถึง คณะกรุงเทพมาเยือนบ้านนาดีเต็มรถบัสคัดใหญ่... หลังจากงานทำบุญ ตอนกลางวันผ่านไปแล้ว ภาคมหรสพบันเทิงก็เริ่มต้นขึ้นในช่วงเย็น ซึ่งรายการหลักคือวงดนตรีที่ยังไม่ได้ตั้งชื่อ ของครูหนุ่มกลุ่มนี้ - เขาลองปล่อยเพลงตัวเองแทรกเข้าไปในรายการด้วย ปรากฏว่าการแสดงคืนนั้นประสบความสำเร็จด้วยดี แขกจากกรุงเทพฯต่างขอบใจ ลีลาของวงนี้กันถ้วนทั่ว แม้เครื่องเสียงรุ่นเก่าที่เตรียมไว้จะส่งเสียงรบกวน ตลอดเวลาก็ตาม - “แหม...เล่นดีกว่าวงในกรุงเทพอีก... แต่งเพลงได้ขนาดนี้น่าจะออกเทปได้แล้วนะ” เสียงคนดูจากเมืองหลวงชมเชย พลางปรบมืออย่างถูกใจสีหน้าคนฟังที่ส่อแววรื่นรมย์ทำเอานักดนตรีมีกำลังใจทุ่มเทการเล่นการร้องอย่างลืมเหนื่อย - หลังจบการแสดงครั้งนั้น เขาและเพื่อนครู 4-5 คนเริ่มเกิดแรงบันดาลใจที่จะทำวงดนตรีอย่างจริงจัง เพราะเห็นว่าพอจะสร้างทีมเวิร์คได้ดีในระดับหนึ่งอีกทั้งลูกยุจากชาวบ้านที่อยากเห็นวงดนตรีของครูล้วนๆ สักวงเพื่ออย่างน้อยจะได้เปรียบเทียบกับวงคนโคก ซึ่งกำลังมาแรงในหมู่ชาวครูได้บ้าง - “ยโสธร มีคนโคก...อำนาจเจริญบ้านเราก็ควรมีวงของเราบ้างตามประสาข้าราชการครูด้วยกัน” สลาบอกเพื่อนในวงอย่างกระตือรือร้น ดังนั้นวง “เทียนก้อม” จึงได้กำเนิดขึ้นมาบนถนนดนตรีของบ้านไร่ขีอันไกลโพ้น - คนหนุ่มต้องมีศรัทธรในความฝัน ความฝันนี้เองที่หล่อเลี้ยงหัวใจให้โลดทะยานไปตามทางชีวิตอันเหยียดยาว ได้เป็นสีสันสวยงาม เปี่ยมด้วยพลังทำให้คนหนุ่มแสวงหาความหมายชีวิตตัวเองโดยไม่ท้อแท้ - จากความฝันค่อยเปลี่ยนเป็นความหวัง แต่อีกสักเมื่อไหร่หนอความหวังจึงแปรเปลี่ยนเป็นความจริงได้ - เริ่มแรกจุดประสงค์ที่ทำวงเทียนก้อม ก็เพื่อความสนุกอย่างเดียว พวกเขารับงานทุกแห่งอย่างยินดี โดยไม่คิดค่าตัวเลย เพียงขอให้ทางเจ้าภาพเตรียมเครื่องเสียงไว้ให้เท่านั้น แม้กระทั่งค่าเดินทางก็เต็มใจออกเอง - สลาวางจุดเด่นวงเทียนก้อมไว้ที่การเสนอเรื่องราวชีวิตครูล้วนๆ สมาชิกในวงก็เป็นข้าราชการครูหมด จากจุดนี้เอง ทำให้วงนี้เริ่มเป็นที่รู้จักในหมู่ครู และนักเรียนของเมืองอำนาจเจริญพอสมควร - เสียงลือจากปากสู่ปากของแฟนเพลง ทำให้สลาวางแผนที่จะตระเวนแสดงตามโรงเรียนต่างๆ โดยเฉพาะ อยากให้คนฟังได้ตั้งใจฟังเพลงของพวกเขา อย่างจริงจังมากขึ้น ซึ่งแนวคิดนี้มาจากากรได้ดูวงดังๆ ในกรุงเทพฯ ที่มักโปรโมทผลงานตัวเดองตามสถาบันการศึกษาต่างๆ เป็นส่วนใหญ่
-อ่านต่อตอน 6.2

แนะนำอัลบั้มใหม่ : เอิร์น เดอะสตาร์ ชุดที่2 อย่างมองข้ามความเสียใจ

มีวางจำหน่ายแล้วทั่วแผงเทป "ช่วยกันชื้อแผ่นแท้ให้กำลังใจศิลปิน ศิลปินจะได้มีแรงใจผลิตผลงานออกมาให้เราตลอดไป" "เห็นแก่ของถูกของฟรี พรุ่งนี้อาจมีแค่เทปเปล่าฟัง"
1.อย่ามองข้ามความเสียใจ
2.เชื่อใจเธอแต่ไม่ไว้ใจเขา
3.ไม่ใช่ที่ชาร์จแบต
4.คำว่าจบพูดเบาๆก็เจ็บ 5.บอกใจให้รู้สึกดี 6.แต่ก่อน ตอนนี้และตลอดไป 7.รอยหยิกจากกิ๊กเก่า 8.รักคนอื่นไปก่อน 9.คิดถึงเธออยากเจอเหลือเกิน 10.พรุ่งนี้ค่อยเหงา

แนะนำอัลบั้มใหม่ พี สะเดิด ชุดที่ 5ปลาร้าขาร็อก

มีวางจำหน่ายแล้วทั่วแผงเทป ช่วยกันชื้อแผ่นแท้ให้กำลังใจศิลปิน ศิลปินจะได้มีแรงใจผลิตผลงานออกมาให้เราตลอดไป "เห็นแก่ของถูกของฟรี พรุ่งนี้อาจมีแค่เทปเปล่าฟัง" 01.พี่ สะเดิด - ปล้าขาร็อก 02. พี่ สะเดิด - พรากผู้เยาว์ 03.พี่ สะเดิด - คิดถึง..คิดถึง 04.พี่ สะเดิด - สาวเกหลี 05.พี่ สะเดิด - เก็บเห็ด 06. พี่ สะเดิด - ช่วยตัวเอง 07.พี่ สะเดิด - ไหมมัดหมี่ 08.พี่ สะเดิด - หมายกหาง 09.พี่ สะเดิด - เลหลัง 10. พี่ สะเดิด - เรายังมีกัน

แนะนำอัลบั้มใหม่ : รวมดาวทุกคู่ แด่ครูสลา

มีวางจำหน่ายแล้วทั่วแผงเทป ช่วยกันชื้นแผ่นแท้ให้กำลังใจศิลปิน ศิลปินจะได้มีแรงใจผลิตผลงานออกมาให้เราตลอดไป "เห็นแก่ของถูกของฟรี พรุ่งนี้อาจมีแค่เทปเปล่าฟัง" 01 ขอบคุณเธอที่ให้ใจ - ก๊อท จักรพรรณ์ : ต่าย อรทัย
02 นิ้วนางข้างซ้าย -ไหมไทย ใจตะวัน : รัชนก ศรีโลพันธุ์
03 เหนื่อยไหมคนดี -ไมค์ ภิรมย์พร : ศิริพร อำไพพงษ์
04 หยาดเหงื่อเพื่อแม่ - เสถียร ทำมือ : ตั๊กแตน ชลดา
05 ทำบาปบ่ลง - พี สะเดิด : เอิ้นขวัญ วรัญญา
06 คนไกลเบอร์เก่า - ไผ่ พงศธร : แพรวา พัชรี
07 น้องมากับคำว่าใช่ - มนต์แคน แก่นคูณ : ข้าวทิพย์ ธิดาดิน
08 คนที่รอคอย - บิว พงค์พิพัฒน์ : เอิร์น เดอะ สตาร์
09 คึดนำเขาเฮ็ดหยัง - ศร สินชัย : ดอกอ้อ ทุ่งทอง
10 หัวใจคึดฮอด - ภู ศรีวิไล : มด อุบลมณี
11 สั่งนางข้างโฟน - เอกพล มนต์ตระการ : ก้านตอง ทุ่งเงิน
12 สาละวันสงสารใจ - นิ้วก้อย กรรณิการ์, ก้านตอง ทุ่งเงิน, ข้าวทิพย์ ธิดาดิน
มีวางจำหน่ายแล้วทั่วแผงเทป

เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 5 ความหวังในความเงียบ

-อ้างอิง : หนังสือเพลงชีวิต “ศิลปินครูบ้านป่า สลา คุณวุฒิ” -สำนักพิมพ์มิ่งมิตร - เขียนโดย ชูเกียรติ ฉาไธสง , คมทัพแสง -บรรณาธิการ แคน สาลิกา -เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 5 ความหวังในความเงียบ โดย แคน สาลิกา : มีนาคม 2545 - บางขณะของความรู้สึก บทเพลงบางเพลงราวกับเพื่อนสนิทที่เข้าอกเข้าใจดิ่งลึกสู่ความเป็นจริงในชีวิตของผู้ฟัง เป็นสายใยความสัมพันธ์ระหว่างคนกับโลก และเห่กล่อมจากโลกย้อนมาสู่คนอีกครั้ง - บางครั้งกระซิบกระซาบอ่อนโยนราวท้องทะเลในคืนดาวพราย บางครั้งแข็งกร้าวรุนแรงราวทะเลบ้าในคืนมรสุม บรรเลงสอดคล้องเป็นท่วงทำนองแห่งชีวิต - แก่นของเพลงมาจากรากฐานความประทับใจบางสิ่งบางอย่างของผู้แต่งสิ่งนี้ก่อให้เกิดความหวังและพลังใหม่ ๆ ในการสำท้อนความเป็นจริงของชีวิตมนุษย์และยุคสมัยที่ดำรงอยู่ออกมา ส่วนที่ว่าจะทำได้ “ถึง” ขนาดไหนนั้นขึ้นอยู่กับฝีมือของผู้แต่งแต่ละคน - ข่าวที่เพลงของสลาได้ถูกนำไปบันทึกเสียงและขับร้องโดย รุ่งเพชร แหลมสิงห์ ลือกระฉ่อนในย่านหมู่บ้านที่เขาเป็นครูอยู่ ทำให้เกิดความภาคภูใจไม่น้อย เพราะสำหรับชนบทที่นี่ การได้ลงข่าวหนังสือพิมพ์ถือว่าไม่ใช่เรื่องธรรมดาเลย - เพลงของสลาได้บันทึกเทป 2 เพลงโดยได้เป็นเพลงแรกของทั้งหน้าเอ และหน้าบี คือเพลง สาวชาวหอ และเพลง กบร้องให้ และที่สำคัญสาวชาวหอ ยังได้รับเกียรติเป็นชื่ออัลบั้ม ของนักเพลงรุ่นใหญ่คนนั้นด้วย นัยว่าเป็นการกลับมาของรุ่งเพชร แหลมสิงห์ ที่งดงามพอสมควร - ข่าวดียังไม่หยุดอยู่แค่นั้น สาวชาวหอ ยังได้รับการบันทึกเสียงเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ไทยเรื่อง พ่อตาจิ๊กโก๋ ซึ่งกำกับการแสดงโดย ประยูร วงศ์ชื่น ด้วย และมีจดหมายจากกรุงเทพฯ นัดหมายให้เขาเดินทางไปเซ็นมอบลิขสิทธิ์ และรับเงินพร้อมๆ กันไป - ด้วยวิถีชีวิตที่วนเวียนจำเจในเมืองอุบลฯ และอำนาจเจริญตั้งแต่อ้อนแต่ออก ทำให้ครูหนุ่มจากบ้านไร่ขีต้องลงทุนจ้างชาวบ้านคนหนึ่ง ซึ่งเคยไปทำงานในกรุงเทพฯ บ้างแล้วให้เป็นเพื่อนพาไป เราะตัวเขานั้นตั้งแต่เกิดมายังไม่เคยเห็นหน้าตาของเมืองกรุงเทพฯ เลยว่าเป็นยังไง - ค่าจ้างให้ชาวบ้านคนนั้นเดินทางเป็นเพื่อนพอให้อุ่นใจเป็นเงิน 500 บาท ซึ่งมากพอดูในสมัยนั้น ส่วนค่ากิน ค่าอยู่ สลสออกคนเดียวหมด ครั้นนั้นเขาได้รับเงินค่าเพลงเบ็ดเสร็จ 3,000 บาท ซึ่งก็ถือว่าเป็นราคาพอสมควรสำหรับนักแต่งเพลงหน้าใหม่ - ที่สำคัญกว่านั้น เหตุการณ์นี้น่าจะเป็นใบเบิกทางที่ดีในเส้นทางนักแต่งเพลงของเขาด้วย - แต่เรื่องราวในชีวิตคนก็ไม่ได้เป็นไปตามความคาดหวังเสมอไป บางครั้งความสมหวังและความผิดหวัง ต่างผลัดกันเข้ามาเยี่ยมเยือนเราราวผู้ผ่านทางแปลกหน้าที่เต็มไปด้วยความปรวนแปรซับซ้อน สุดที่จะคาดเดาได้ - แต่ถึงที่สุดแล้วในความผิดหวัง ก็มีความงามของมันอยู่ เป็นความงามที่หล่อหลอมเคี่ยวกรำความรู้ให้แกร่งจนหัวใจซอกลึกเปิดเผยรอยยิ้มในความมือมิดของวันเวลาออกมา - นับจากวันนั้นสลาลุยแต่งเพลงใหม่ ๆ เป็นการใหญ่ ด้วยไฟฝันที่คุโชนเขาอัดเพลงตัวเองใส่เทปส่งไปตามค่ายเพลงที่เปิดรับแนวลูกทุ่งแทบทุกแห่งทำประวัติย่อ ๆ ชี้แจงไปด้วยว่า เคยแต่งเพลงให้นักร้องระดับ รุ่งเพชร แหลมสิงห์ ร้องมรแล้วเพราะคิดว่าน่าจะเป็นเครดิตที่ทำให้การพิจารณาซื้อขายง่ายขึ้น - แต่ผลที่ออกมาคือความเงียบ แทบไม่มีค่ายเพลงไหนสนใจงานนักแต่งเพลงหน้าใหม่คนนี้เลย นอกจากเจ้าเก่า รุ่งเพชร แหลมสิงห์ ที่เอาเพลงเขาไปร้องอีก 2-3 เพลงซึ่งก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าไรนัก - ช่วงนี้สลา ผิดหวังและท้อแท้พอสมควร แต่เมื่อย้อนพิจารณาผลงานตัวเองใหม่ เขาก็สรุปได้ว่า เพลงที่แต่งอย่างเป็นบ้าเป็นหลังนั้น คุณภาพยังไม่ถึงขั้นจริงๆ สมควรแล้วที่ไม่ผ่านการพิจารณา - สลาเขียนจดหมายไปหา “ลพ บุรีรัตน์” ครูเพลงที่อยู่ในหัวใจเขาคนหนึ่งเพื่อขอคำและนำในการแต่งเพลง คราวนี้ไม่ผิดหวัง เพราะครูลพตอบกลับมาเป็นใบโรเนียวว่าด้วยเทคนิคการแต่งเพลงและช่องทางที่จะเอาเพลงไปเสนอค่ายเทปเป็นข้อ ๆ โดยละเอียด ซึ่งเป็นประโยชน์ขพอสมควร - ขณะนั้นเกิดวงดนตรีที่มีนักดนตรีข้าราชการครูล้วน ๆ ในชื่อ “คนโคก” ขึ้นมา วงคนโคกนับเป็นวงที่มีชื่อเสียงในภาคอีสานพอสมควรโดยเฉพาะในแวดวงชาวครูด้วยกัน เพราะมีผลงานเป็นอัลบั้มเพลงของตัวเองด้วย - มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ คนโคก มีโอกาสมาแสดงที่หอประชุมใหญ่ของอำเภออำนาจเจริญ ในงานประชุมข้าราชการครู ครั้งนั้นเขาและเพื่อนครูหนุ่มๆ ในโรงเรียนได้ไปรอดูอย่างสนใจ เพราะกระแสความนิยมวงนี้ในหมู่ชาวครูแรงมาก คนโคแสดงในวันนั้นได้น่าประทับใจจนสลาเกิดความคิดแวบเข้ามาว่า เขาและเพื่อนครูที่พอจะมีฝีมือทางดนตรีน่าจะทำวงดนตรีของชาวครูล้วน ๆ ขึ้นมาบ้าง - แต่นั้นก็เป็นเพียงความลึกๆ เท่านั้น -แดดยามบ่ายจัดจ้าจนลานดินบ้านไร่ขีราวกับมีประกายระริกแต้มเป็นจุดๆ เหมือนผิวน้ำต้องประกายแดด หมูเงาเข้มดำใหญ่น้อยต่างพากันหลบเร้น ซุกใต้กิ่งก้านของมวลไม้และกองดินที่พูนสูง เป็นหย่อม ๆ นั้นเป็นสัญญาณของเทศกาลทำบุญใหญ่ที่มักมีคนต่างถิ่นมรทอดผ้าป่าในละแวกชนบทแห่งนี้ทุกปี - คณะกรรมการวัดบ้านนาดี ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กันเข้ามาปรึกษาสลาเรื่องการเตรียมมหรสพไว้ต้อนรับชาวกรุงเทพฯ ที่จะมาทำบุญ เพราะเขามีชื่อพอสมควรในฐานะนักเพลงประจำท้องถิ่น - “ทำยังไงดีครับครู...” เราไม่มีเงินพอจะจ้างหมอลำมาแสดงซะด้วย...ครูพอมีหนทางอะไรช่วยทางวัดเราไหมครับ ไม่งั้นขายหนาคนกรุงเทพฯ แน่เลย”

แนวทางการสร้างเพลง ครูสลา (ตอนที่ 3 )

แนวทางการสร้างเพลง ครูสลา (ตอนที่ 3 ) โดยครูสลา คุณวุฒิ อ้างอิง : ลูกทุ่งดอทคอม สงวนลิขสิทธ์โดยสโมสรนักเขียนภาคอีสาน เพลงสตริง เพลงป๊อป เพลงไทยสากลโครงสร้างของเพลงสตริง -โดยหลักๆ โครงสร้างของเพลงมีอยู่ไม่กี่แบบ ในที่นี้จะเริ่มในแบบที่พบเห็นและใช้กันเป็นประจำส่วนแบบอื่นๆ ที่ยุ่งยากและซับซ้อนกว่าปกตินั้น ขอละไว้ในฐานที่ต้องไปหาฟังกันตามอัธยาศัย -โดยปกติเพลงย Pop ทั่วโลกจะมีท่อนของเพลงคล้ายๆ กันอาจกล่าวได้ว่ามีโครงสร้างหลักที่เหมือนกัน แต่มีการดัดแปลงไปบ้างตามยุคสมัย และตามลักษณะงานของแต่ละคนและส่วนใหญ่โครงสร้างของเพลงไทยที่ได้รับความนิยมสูงนั้นจะเป็นโครงสร้างที่พื้นที่มาก และไม่ยุ่งยากทั้งนี้ก่อนการอธิบายแบบกึ่งทฤษฎี จะเริ่มต้นด้วยการอธิบายแบบสบายๆ ไม่ซับซ้อนเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น - ท่อน Hook หรือ ท่อน “สร้อย” คือ ท่อนที่สำคัญที่สุดในโลก เปรียบเสมือนพระอาทิตย์ที่มีท่อนอื่นๆ คอยโคจรรอบๆ และอยู่ในรัศมีของมันเป็นท่อนที่มีเพื่อให้คนฟังได้ชูมือในงานคอนเสิร์ตเป็นท่อนจำ เป็นท่อนฮิตติดปาก วิธีสังเกตอย่างง่ายๆ ว่าท่อนใดเป็นท่อน Hook คือให้ดูว่าท่อนใดเป็นท่อนที่มีเนื้อร้องและทำนองซ้ำ ได้ยินไม่ต่ำกว่าสองรอบ และอยู่ตรงกลางเพลง

แนวทางการสร้างเพลง ครูสลา (ตอนที่ 2 )

แนวทางการสร้างเพลง ครูสลา (ตอนที่ 2 ) โดยครูสลา คุณวุฒิ อ้างอิง : ลูกทุ่งดอทคอม สงวนลิขสิทธ์โดยสโมสรนักเขียนภาคอีสาน 2 ทำความเข้าใจก่อนศึกษาเรื่องเพลง (เข้าใจในเพลง)ประเภทเพลงครูสลา คุณวุฒิ แบ่งเพลงออกเป็น 2 ประเภทคือ 1 เพลงส่วนตัว ที่ไม่มีรูปแบบและแนวทางที่แน่นอน 2 เพลงส่วนรวม การพัฒนาเพลงประเทศไทยมีการพัฒนามาตามลำดับแบ่งตามช่วงเวลาได้ 2 ยุคสมัย คือ 2.1 สมัยกเก่ามี 3 ประเภท 1 เพลงลูกทุ่ง 2 เพลงลูกกรุง 3 เพลงพื้นเมือง 2.2 สมัยปัจจุบันมี 4 ประเภท คือ 1 เพลงสตริง ( ป๊อป ไทยสากล ) 2 เพลงเพื่อชีวิต 3 เพลงลูกทุ่ง - อีสาน - ใต้ - ภาคกลาง - ใต้ - เขมร (กันตรึม) 4 เพลงวิชาการ (เพลงเฉพากิจ) ยังไม่ค่อยมีคนทำ 3 ทำความรู้จักกับเพลง 3.1 องค์ประกอบของเพลง เพลงแต่ละเพลงมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ รวมกันเป็นเพลง 1 เพลง 1 เนื้อร้อง 2 ทำนอง 3 ดนตรี 4 การเรียบเรียง 3.2 โครงสร้างของเพลง ตามสมัยนิยม -โครงสร้างคือ ส่วนต่างๆของเพลง มีความแตกต่างกันไปตามประเภทของเพลงและสมัยนิยมปัจจุบันมีโครงสร้างหลักของเพลงแต่ละประเภทดังนี้ อ่านต่อบล็อกหน้าครับ

แนวทางการสร้างเพลง ครูสลา (ตอนที่ 1 )

แนวทางการสร้างเพลง ครูสลา (ตอนที่ 1 ) โดยครูสลา คุณวุฒิ อ้างอิง : ลูกทุ่งดอทคอม สงวนลิขสิทธ์โดยสโมสรนักเขียนภาคอีสาน - การสร้างเพลงมีหลายรูปแบบวิธีการ สำหรับวิธีการ แนวทางการสร้างเพลงที่นำเสนอนี้ คัดเลือกเอาเฉพาะส่วนสำคัญที่เชื่อว่าคงจะทำให้ คนที่อยากเป็นคนเขียนเพลงทุกคน มีความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นในการเขียนเพลง ประกอบด้วยคุณสมบัติของคนเขียนเพลง ความเข้าใจเรื่องเพลง วิธีการเขียนเพลง เทคนิคแนวทางการสร้างเพลง แนวทางการสำเสนอเพลง ข้อควรระวัง ปัญหาอุปสรรคในการเขียนเพลง รวมทั้งตัวอย่างเพลงที่พอจะเป็นแนวทางการสร้างเพลงให้กับคนที่สนใจอยากเป็นคนเขียนเพลง ทุกคน 1คุณสมบัติของคนเขียนเพลง คนเขียนเพลงควรมีคุณสมบัติ 7 ประการดั้งนี้ 1 ชอบ ข้อนี้ใช่อยู่แล้ว 2 เข้าใจเรื่องเพลง - เพลงดี - เพลงไพรเราะ 3 รักการอ่าน 4 เกาะติดข่าวสาร -ข่าวบันเทิง วงการเพลง -หน้าบันเทิง 5 ชำนาญในการใช้คำ ฝึกฝนจนเป็นนายของภาษา -พื้นฐานทางฉันทลักษณ์ -การเขียนบทกลอน -บทกวี -ร้อยกรอง 6 รับฟังความคิดเห็นและรู้จักชื่นชมผลงานของคนอื่น -การยอมรับคำวิจารณ์อย่างมีเหตุผล 7 รับผิดชอบต่อสังคม อ่านต่อตอนถัดไปครับ

เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 4 นักแต่งเพลงมือใหม่

อ้างอิง : หนังสือเพลงชีวิต “ศิลปินครูบ้านป่า สลา คุณวุฒิ” สำนักพิมพ์มิ่งมิตร เขียนโดย ชูเกียรติ ฉาไธสง , คมทัพแสง บรรณาธิการ แคน สาลิกา เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 4 นักแต่งเพลงมือใหม่ โดย แคน สาลิกา : มีนาคม 2545 - “เดียวพี่จะรับไว้พิจารณานะ...เก่งนี่ แต่เพลงเองได้” ชายวัยกลางคนผิวคล้ำพูดพลางยิ้มอย่างใจดี “แต่น้องให้พี่ดูเนื้ออย่างเดียวไม่ได้หรอก..ต้องใส่ทำนองให้พี่ด้วย...อืมม์..เอาอย่างงี้ เดี๋ยวพี่จะให้ที่อยู่ไว้แล้วอัดเทปเพลงพวกนี้ส่งไปให้ฟังอีกครั้งดีกว่า” เด็กหนุ่มหน้าซื่อรับคำ ปากคอสั่นด้วยความประหม่าและตื่นเต้นเพราะนี่เป็นครั้งแรกที่ได้พูดกับนักร้องระดับประเทศนาม รุ่งเพชร แหลมสิงห์ - นั่นเป็นงานของชมรมวิทยุอุบลฯ ซึ่งจัดเวทีแสดงดนตรีลูกทุ่งที่ทุ่งศรีเมือง งานนี้เชิญนักร้องชั้นนำมามากมาย อาทิ ชาย เมืองสิงห์ ,คัมภีร์ แสงทอง,รุ่งเพชร แหลมสิงห์ ฯลฯ มีแฟนเพลงเข้ามาดูอย่างล้นหลาม และหนึ่งในผู้คนเรือนพันนั้น มีเด็กหนุ่มจากบ้านนาหมอม้าที่กำกระดาษเนื้อเพลงร่วม 10 เพลง จนเหงื่อซึม รวมอยู่ด้วยคนหนึ่ง - สลา ลุยฝ่าผู้คนไปถึงหลังเวที ชะเง้อมองนักร้องดังซึ่งกำลังนั่งพักอยู่อย่างตื่นเต้น แล้วก็ตัดสินใจเดินเข้าไปหา รุ่งเพชร แหลมสิงห์ ที่เขาชื่นชอบเป็นพิเศษ แม้มีเวลาพูดคุยไม่นานนัก แต่น้ำใจไมตรีที่นักร้องรุ่นใหญ่มีให้ก็ยังอบอวลในความทรงจำจนทุกวันนี้ ตอนนั้นเขาหวังเพียงแค่ได้พูดคุยกับศิลปินคนโปรดก็ถือว่าโชคดีแล้ว แต่นี้ยังได้รับความหวังเป็นกำลังใจแถมมาอีก ทำให้ปลาบปลื้มจนแทบทำอะไรไม่ถูกไปทั้งวัน - หลังจากนั้น สลาอัดเพลงที่แต่งร่วม 10 เพลง ใส่เทปส่งไปให้รุ่งเพชร แหลมสิงห์ ตามที่อยู่ซึ่งให้ไว้ พร้อมกับรอคอยฟังผลด้วยใจระทึก - ดอกจานสีแดงร่วงหล่นจากลำต้นพร้อมเวลาที่สลาใกล้เรียนสำเร็จจาก ว.ค.อุบลฯ พอดี นักศึกษาปีสุดท้ายทุกคนต้องอ่านหนังสือเตรียมสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเป็นครูตามสาขาที่ร่ำเรียนมา ซึ่งนับว่าหนักหนาสาหัสไม่น้อย สลาสอบบรรจุครูได้ที่โรงเรียนบ้านไร่ขี เป็นโรงเรียนชนบทที่เงียบสงบและห่างไกลจากตัวเมืองพอสมควร ครูใหม่หนุ่มโสดคนนี้เป็นที่สนใจของชาวบ้านทั่วไปเพราะบุคลิกประจำตัวที่อ่อนน้อมรวมทั้งอัธยาศัยไมตรีอันดีทำให้ครูสลากลายเป็นที่ชื่นชอบของชาวบ้านไร่ขีไปโดยปริยาย - เริ่มแรกที่ไปสอนนั้น บ้านพักครูในโรงเรียนค่อนข้างแออัดไม่สะดวกนัก สลาต้องอาศัยนอนในโรงเก็บของซึ่งอยู่ติดกับกำแพงวัดก่อน บรรยากาศที่นี่เงียบเชียบ และวังเวง เพียงเปิดหน้าต่างห้องก็จะเห็นที่ฝักศพ และเจดีย์ใน่กระดูกถนัดตา - มันเงียบเหงาจนบางวันเขานั่งน้ำตาซึมอยู่คนเดียว สิ่งที่พอคลายเหงาได้ก็มีเพียงจดหมายของเพื่อน ๆ และหญิงสาวคนรักในเมืองเท่านั้น ช่วงนั้นเขายอมรับว่ามีหญิงสาวที่เรียนจบมารด้วยกันนั่งอยู่ในหัวใจแล้วคนหนึ่งแม้จะเป็นแค่ความผูกพันแบบวัยรุ่นทั่ว ๆ ไปก็ตาม เพิ่งห่างหันก็ช่วงมาเป็นครูนี่เอง - สลานั่งอ่านและเขียนจดหมายทุกวันด้วยความสุข การได้เขียนจดหมายบ่อย ๆ ทำให้ได้คิดค้นถ้อยคำต่างๆ ไปด้วยในตัว ความช่างคิดช่างฝันของครูหนุ่มสื่อผ่านในกระดาษจดหมายแผ่นแล้วแผ่นเล่า ซึ่งถือเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการฝึกคิดความหมายของคำในงานเพลงของเขา - สายลมวันเวลาโชยผ่านลำห้วยบ้านไร่ขี พร้อมความเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่เริ่มก่อตัวขึ้น ความสัมพันธ์ของครูหนุ่มบ้านนอกกับหญิงสาวในเมืองเริ่มเหินห่างตามระยะทางที่ไกลกัน เขาคุ้นชินกับสิ่งแวดล้อมใหม่ในหมู่บ้านแห่งนี้มากขึ้น ครูหนุ่มโสดสำหรับบ้านนอกไกลๆ นับเป็นจุดเด่นไม่น้อยโดยเฉพาะกับสาวๆ ด้วยแล้ว หากเปรียบเทียบกับหนุ่มชาวบ้านธรรมดาก็ยิ่งเห็นข้อแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเจน - ดวงจันเต็มดวงลอยเด่นเหนือท้องฟ้าสีหม่นในคืนลอยกระทงสายลมบางๆ หอบกระซิบความอ่อนหวานมาทักทายพร้อมกับกระทงใบตองขนาดกะทัดรัด ซึ่งสาวคนงามของหมู่บ้านทำมาฝากครูหนุ่ม - ประเพณีลอยกระทงในวัดไร่ขีจะเริ่มตอนหัวค่ำ ชาวบ้านทั้งหมู่บ้านมาทำบุญร่วมกันเสร็จแล้วก็จะตั้งขบวนไปลอยกระทงในลำห้วย ซึ่งไกลออกไปราวหนึ่งกิโลเมตร ครูหนุ่มพาลูกศิษย์ตัวเล็กๆ เดินไปเป็นกลุ่ม มีสาวๆ ชาวบ้านเดินเมียงมองไม่ห่างหันนัก ภาพนั้นงดงามและชัดเจนในความรู้สึกจนไม่มีวันลิมไปได้ - กระทงน้อยของครูหนุ่ม ลอยตามลำห้วยบ้านไร่ขีไปช้า ๆ กลางเงาดวงจันทร์ซึ่งสะท้อนวับวามในแผ่นน้ำ ปลาตัวโตพลิกตัวจนผิวน้ำกระเพื่อมแผ่วงเป็นชั้นๆ ราวไม่มีที่สิ้นสุด ขับคลอด้วยเสียงแคนของนักเพลงพื้นบ้านบางคน ภาพนี้กลายเป็นเรื่องราวของบทเพลง กระทงหลงทาง ที่สร้างชื่อให้เขาในอีกหลายปีต่อมา - บรรยากาศของบ้านไร่ขี เป็นวัตถุดิบสำคัญที่สลานำมาใช้แต่งเพลงได้ตลอดเวลา กระจ่างชัดและนุ่มลึกกว่าช่วงเวลาใด ๆ ที่จะย้อนรำลึกได้ - ยามว่างเขาจะเข้าป่าหากะปอมหรือไม่ก็สอยไข่มดแดงมาทำลาบก้อยกับลูกศิษย์ตัวเล็ก ๆ เมื่อชาวบ้านไปหาปลาในลำห้วย ครูหนุ่มก็จะแบกแหตามไปด้วยอย่างสุขใจ - ล่วงเข้า 5 เดือนเศษๆ ที่มาใช้ชีวิตเป็นครู วันหนึ่ง ขณะนั่งซักผ้าอยู่คนเดียวก็มีเพื่อนครูคนหนึ่งถือหนังสสือพิมพ์ไทยรัฐ วิ่งกระหืดกระหอบเข้ามาหา - “เฮ้ยสลานายชายเพลงได้แล้ว ข่าวไทยรัฐลงว่า รุ่งเพชร แหลมสิงห์ ซื้อเพลงนายไปร้อง และเอาชื่อเพลงเป็นชื่ออัลบั้มด้วย โอ้ยดีใจด้วยนะ ”

แนวทางแต่งเพลงของครูสลา

แนวทางแต่งเพลงของครูสลา แนวเพลงที่เขียนกันอยู่ทุกวันนี้ อ.สลา แยกเป็นแบบนี้ - แนวอนุรักษณ์ - แนวก้าวหน้า - แนวใหม่ แนวกลาง ๆ แนวเก่า ทุกแนวที่กล่าวมา หัวใจของทุกแนวคือ ความไพเราะของเพลง ๆ นั้น ซึ่งจะตอบโจทย์ ของผู้ฟังที่ตั้งใจฟังเพลงได้ดีเพียงไร ทำอย่างไร เพลงถึงจะดี และจะไพเราะ 1.เคารพครูบาอาจารย์ ผู้อาวุโส ทุกคนที่เขียนเพลงไว้ท่านทั้งหลายคือครูเรา 2.เป็นนักฟังที่ดี ไม่มีอคติกับเพลงทุกชนิด ทุกแนว ฟังให้มาก ฟังแบบธรรมชาติ ฟังทุกสไตล์ 3.อย่าเชื่อมั่นตัวเองมากไป หรือดูถูกตัวเองมากไป แล้วทุก ๆ อย่างจะไม่พัฒนา 4.อย่ากลัวที่จะนำเสนอ และอย่าคลาดหวังอะไรมากกับผลที่จะตามมา วรรคทอง คือ เป็นคำง่าย ๆ แต่ งาม เช่น แต่งเพลงอย่างไรให้ 2 บรรทัดแรกให้ได้ใจความเลย เพลงจะประสบความสำเหร็จมากกว่า นำเพลงของครูเพลงที่ดีและดังมาวิเคราะห์หรือเรียกว่าการผ่าเพลง ตั้งคำถามว่า ทำไมคนชอบเพลงนี้ เราชอบเพลงนี้ - ชอบที่ตัวนักร้อง - ชอบเนื้อเพลง - เนื้อเพลงพูดถึงอะไร - คำไหนชอบที่สุด ฟังจนจบแล้วจดหรือจำไว้ว่าคำไหน ดี และชอบ - คำที่ดีนั้นวางไว้ตรงไหน ของท่อน - แล้วกลับไปดูงานของตัวเองที่เขียนไว้แล้วเปรียบเทียบกัน จะมองเห็นข้อดีข้อด้อยชัดขึ้น คำ กับ ทำนอง ไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุด มีสิ่งที่สำคัญอีกมาก - เรื่องที่นำมาเล่า ถ้าเป็นเรื่องเก่าต้องเป็นมุมมองใหม่ - เอาคำที่คิดว่าดี และโดนมาตั้งต้นแล้วหาเรื่องมาเล่าต่อ อาจจะดีหรือไม่ดี ก็ได้ - หาคำและทำนอง อย่าไปเลียบ ๆ เคียง ๆ ของคนอื่น จะทำให้ดูเสียราคา ควรหาใหม่ ๆ หรือก็อย่าให้คนฟังได้ยินแล้วไปนึกถึงทำนองของอีกเพลง - การเล่าเรื่อง การเขียนเพลงก็คือการเล่าเรื่อง อย่างเช่น เราเจอแรงบันดาลใจสิ่ งหนึ่งเข้า แล้วเก็บมาเล่า บางคนอาจเล่า เป็น หนัง กลอน เขียนเรื่องสั้น ถ้าเรื่องนั้นใหญ่หน่อย ก็ทำเป็นนิยาย แต่ก็อย่าไปบังคับข่มขืนเรื่อง ๆ นั้น ให้เป็นเนื้อเพลงทั้งหมดควรแยกว่าเรื่องนั้นน่าจะเล่าหรือเขียนเป็นอะไรดีกว่ากัน วิธีการเล่าเรื่องแบบเป็นเพลง - เขียนเป็นแนวทาง 1 2 3 4 1.ขึ้นต้นโดนใจ - เรื่องที่เจอมา ต้องตั้งชื่อก่อน - โดนใจด้วยถ้อยคำ -โดนใจด้วยทำนอง เช่นเอาเพลงเร็วมาทำช้า ช้าเป็นเร็ว - ถ้าขึ้นต้นโดนใจทั้งคำและทำนอง ก็จะได้เปรียบ ยกตัวอย่างเพลง เสียความรู้สึก ของสายัญ สัญญา - อาจจะเล่าเรื่องที่เป็นศิลปเพียว ๆ หรือ รวมกับแรงบันดาลใจ ก็จะดี ยกตัวอย่างเพลงที่ขึ้นต้นแล้วโดนทั้งคำและทำนอง คือ เพลง โชคดี ครับแฟน ของ ศรเพชร 2.เนื้อในต้องคมชัด เนื้อเรื่องเล่าต้องไม่วกไปเวียนมา ไม่ใช้คำที่ซ้ำกันมาก จะไม่ดี แบบนั้นเขา แสดวว่า ตันไปไหนไม่ได้ เช่นคำ หนอ หนา แต่ถ้าใข้แล้วทำให้เกิดเสน่ห์ก็พอ ใช้ได้บ้าง 3.ประหยัดคำในเนื้อใน คำทุกคำต้องมีความหมายในตัว ต้องทำงาน ต้องมี ประโยชน์ ไม่มีคำขี้เกียจ คือคำที่ไม่มีความหมาย คำที่เล่าต้องเล่าทั้งอารมณ์ ของคำด้วย และต้องคิดด้วยว่าคำ ๆนั้นสมควรนำมาเล่าหรือเปล่ามาใช้แล้วเหมาะ หรือเปล่า ควรศึกษากลอนแปดให้ดีและ ฝึกเขียนให้สัมผัสนอกใน สัมผัสระหว่างบท ต้องมี ถึงจะเป็นเพลงลูกทุ่งที่สมบูรณ์ 4.ให้คนฟัง ฟังแล้วคิดว่าเพลงนั้นเป็นเพลงของเขาเอง เช่นเรื่องที่ทุกคนฟังแล้วรู้สึกและซืมซับมันได้ทุกคน เช่นคงเคยได้ยินหรือเราเคยได้ยินเพลงแล้วพูดชึ้นว่า เพลงนี้เข้ากับตัวเองกับตัวเราจังเลย หรือ เข้ากับชีวิตเขา ชีวิตเรา นั้นคือเรื่องดี ๆ ทำให้คนฟังรู้สึกร่วมกับเรา 5.จบเรื่องราวอย่างประทับใจ คือคนที่หันมาฟังเพลงที่เราเขียน หรือเขาสนใจเพลงเราแล้ว จะต้องทำให้เขาได้รับความสุขความสมหวังที่ได้ฟัง จบด้วยความสุข ความหวัง หรืออาจจบด้วยคำถาม การจบของทำนอง ก็อยู่ที่ความลงตัว ว่าสมควรจะจบตรงไหน การเพลงต้องมีหลักอื่นอีก เช่น - คอนเซ็บ ของงาน ของเพลง ของนักร้อง - คำในใจ เช่นความสูญเสีย - เอาคำที่เป็นนามธรรม สามารถจับ แตะต้องได้ - การหาทำนอง อาจได้มาจากการฮัมออกมาก่อน แล้วบรรทึกไว้ นำไปใส่คอร์ด ถ้าเล่นดนตรีเป็น ก็มีคนเคยทำ ยังทำกันอยู่ - เล่าเรื่องพื้น ๆ ง่าย ๆ - หาคำหัว คำหางก่อนการเขียนก็ได้ - เขียนเพลงเป็นภาษาพูด หรือเขียนเพลงเป็นภาษาเขียน - แรงบันดาลใจ บริสุทธิ์ - ลูกลัก ลูกหลั่น ลูกโกงทำนองเพลง สรุป 1.หาเรื่อง จะได้เรื่องมาอย่างไร - จากการอ่านหนังสือ -จากการคุยกับเพื่อน คน รอบข้าง -จากการเดินทาง เพียงแต่ว่าเรื่องที่จะนำมาเขียนอย่านำมาทั้งดุ้น ต้องดัดแปลงบ้าง วัตถุดิบ จะได้มาจากการใช้ชีวิต ง่าย ๆ เพราะเพลงจะมาจากการใช้ชีวิตของผู้คน 2.การนำเพลงไปใช้ ใช้กับใคร ให้ใคร ขายใคร บริษัทมาตรฐานที่เขาเลือกใช้เพลงหรือนักแต่งเพลงกันอยู่มีดังนี้ - เอาตัวนักร้องเป็นหลัก แล้วเลือกเพลงให้ตรงกับนักร้อง เขาแต่งตัวอย่างไร นิสัย บุคคลิก เป็นอย่างไร แล้วจึงหาเพลง - เขาจะเอาเพลงจากนักแต่งเพลงของบริษัทก่อน เพราะมีบุญคุณกันอยู่ - เขาหาจากเพลงที่มีคนส่งเข้าไปให้เลือก บริษัทเคลื่อนตัวไม่มีหลักตายตัว - ติดต่อครูเพลงโดยตรง ขอซื้อเพลง นักแต่งเพลงหน้าใหม่จะถูกเลือกต่อเมื่อ 1.เพลงที่ส่งไป ฟังแล้วนำไปเป็นเพลงเต็งหรือเพลงโปรโมทได้ ดี พอเขาฟังแล้วโดน ใช่เลย นำไปอยู่ที่ 1 2 3 ของหน้าหนึ่งได้เลย 2.ต้องแต่งเพลงที่เขาฟังแล้วไม่เอาไม่ได้ เวลาเขียนเพลงตอนไหนดีที่สุด ไม่มีอะไรตายตัว ขอให้ออกมาดี และเพราะ - ให้เวลากับความคิดมากกว่าการเขียน -อย่าหยิบเอาเรื่องเขียนเร็วเขียนช้ามาเป็นข้ออ้าง - สุขภาพต้องดี - สมาธิต้องได้ - มีใจอยากเขียน มือถือเนี่ย ส่วนใหญ่เล่นกันในกลุ่มลูกทุ่งนะกิจ... เล่นมานานแล้วด้วยไม่เชื่อไปดูที่ห้อง artist ดิ.. ทีไอ้บ้าที่ไหนไม่ไรู้เอาเนื้อเพลงมาโชว์ เรื่องโทรศัพท์เหมือนกัน ผมพยายามเขียนเรื่อง email แต่มองๆดู เอ..... ลูกทุ่ง คงต้องรออีกสักพัก ไม่นานนักก็คงเขียนเรื่อง Email ได้ ทีนี้ว่าเรื่องเนื้อกันนะ ในความเห็นผมครับ จริงแล้วการเขียนเนื้อไม่ว่าแนวไหน หากจะให้มันโดนหรือมัน Mass ก็ต้องหยิบเรื่องราวที่เห็นกันชัดๆไม่เพ้อฝันมากนัก หากเป็นร๊อคก็อาจเขียนเรื่องราวที่มันแรงหน่อย ประชดประชันบ้าง อย่างเพลงของวงโง่เต็ม(ที่แตกไปแล้ว) เนื้อเพลงประชดประชัดนกันมันส์ดี แต่สะใจสะหูสะปากคนร้องและคนร้องตาม หากเพลง Pop (ตามสมัยนิยมที่เรียกกัน) ก็จะมองเรื่องราวที่เกิดขึ้นมาเล่นแบบนิ่มลงมาหน่อย คำพูดก็ดูมีฟอร์มเล็กน้อย อย่างเพลงของ Ottyfun ที่เคยเอาโพสไว้นานแล้วเน้อร้องที่ว่า อยู่ก็ู้เจ็บช้ำจากก็ปวดร้าว หรืออย่าง ฉันคงไม่อาจทำให้เธอเปลี่ยนใจอันนี้ผมว่ามันบอกความรู้สึกที่ว่า โอ้โห มันโดน... ตีหัวเต็มๆ หรืออาจจะมีคำศัพท์ในแต่ละยุค อย่างเพลงที่เอาใจวัยรุ่นก็จะเป็นอีกอย่าง คนโตหน่อยก็อีกอย่าง และสามารถแยกแยะได้ค่อนช้างชัดเจน -เพื่อชีวิตก็ต้องหยิบเรื่องราวสังคมโดยรวมมาตีแผ่หรือพวกความฝันจินตนาการ แบบกวีแต่หากต้องการ Mass หน่อยก็คงกวีมากไม่ได้ อย่างเพลงของพี่แอ๊ดหลายเพลง Mass มากๆ ในชุด Made in Thailand เพลง ราชาเงินผ่อน ตอนนั้น ใครฟังก็โห... นี่มันตูนี่หว่า (ก็ผ่อนของทั้งบ้าน )หากเพลงที่มีความหมายลึกๆ อย่าง ทะเลใจ เพลงนี้โดยส่วนตัวผมชอบวิธีเขียนของพี่แอ๊ดมากครับ ลองไปหาฟังดู -ลูกทุ่ง จะจินตนาการจากเรื่องราวจริงๆ เหตุกาณ์ที่คนทั่วๆจะประสพได้ตรงๆ โดยใช้คำพูดชัดเจนไม่อ้อมค้อมโดยมีวลีเด็ดๆ อย่าง กระเป๋าแบนแฟนทิ้ง ร้องเท้าหน้าห้อง รักจางที่บางปะกง สายเ่ดี่ี๋ยวเสียวหลุด ฯลฯ มาเขียนเป็นชื่อเพลงและเนื้อหา หรือไม่ก็ เอาเรื่องรันทดของชีวิตคนชั้นล่าง ผู้ใช้แรงงาน มาเขียน เพราะฐานคนฟังส่วนใหญ่จะเป็นพวกนี้ แม้ว่าบางคำอาจจะดูเชยๆในสายตาคนบางกลุ่มหรือแม้แต่คนเขียนเอง อย่างเพลงเกี่ยวกับ มือถือ ที่กิจพูดถึง ลูกทุ่งเยอะมากๆครับ แล้วแต่ละเพลงเขียนออกมา โห.... แค่เรื่องมือถือเรื่องเดียวก็เกือบร้อยเพลงแล้วล่ะ แต่ต่างกันที่มุมมอง แต่ที่ต่างจากเพลงแนวอื่นอย่างมากก็คือ เรื่องการเขียนคำสัมผัส ต้องถูกต้อง หนีได้ไม่มาก -ไม่ว่าจะเป็นแนวไหน ก็มีวิธีที่ต้องคิดและมองให้เห็นสิ่งที่จะเขียนทั้งนั้นครับ อาจจะนำเสนอสิ่งใหม่ๆเข้าไปได้บ้างไม่มากก็น้อย และยิ่งหากจะต้องการให้เพลงประสพความสำเร็จในแง่ของการตลาด ก็ต้องมองให้ขาดเลยว่าจะเล่นอะไรเป้าหมายคือใคร หากต้องการในแง่ของศิลปล้วนๆไม่สนเรื่องการตลาดล่ะก็ ใส่ไปเข้าเลยครับ สร้างออกมาให้สวยงามไม่ว่่าจะเป็นแนวคิดหรืออะไรต่างๆ

คุณสมบัติของนักแต่งเพลงที่ดี

อ้างอิง : http://www.luktunginternet.com/romlod04.html คุณสมบัติของนักแต่งเพลงที่ดี 1. มีความรู้ 2. มีความคิด 3. มีฝีมือ - ดู ฟัง ถาม อ่าน เขียน คิด เปิดใจ เป็นคนมีจิตใจดี (เยอะๆ)? - คนทำงานศิลปะดีๆ จะต้องเป็นคนที่มีจิตใจดี งานศิลปะนั้นๆ จึงจะออกมาได้ดี? - คนที่จะดีได้ ต้องไม่มีความบกพร่องทางคุณธรรม? - เปิดใจ = รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น? -ธรรมชาติธรรมชาติของนักแต่งเพลงนั้นมักจะเป็นคนที่มีสมาธิดีสามารถอยู่นิ่งๆเพื่อนั่งคิดนั่งเขียนได้ เป็นเวลานาน เช่น 2-3 ชั่วโมงขึ้นไป เพราะฉะนั้นลองสำรวจตัวคุณเองดูว่า คุณเป็นคนสมาธิสั้นหรือไม่? - มีเวลาไม่ว่าจะเป็นงานอะไรก็ตาม ถ้าหากเรามีเวลาเต็มที่ให้กับมัน งานนั้นๆก็ย่อมจะออกมาดีเสมองานเขียนเพลงก็เช่นเดียวกัน? - ข้อมูลนักแต่งเพลงสามารถหาข้อมูลได้จากแหล่งมากมาย ไม่ว่าจะเป็น จากประสบการณ์ของตัวเองจาก จินตนาการ ความเข้าใจโลก หรือแม้กระทั่งจากการอ่านหนังสือ ดูหนังฟังเพลง เราสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาเป็นPlot ในการเขียนเพลงได้เป็นอย่างดี? - การประยุกต์ใช้คือการรู้จักที่จะนำข้อมูลที่ได้รับมา นำมาประยุกต์ใช้ในการแต่งเพลง เช่น เมื่อไปดูหนัง ในหนังมีประโยคเด็ดที่รู้สึกประทับใจ เราก็จดไว้ แล้วนำมาปรับแต่งเอามาลงในเพลงของเรา ไม่จำเป็นว่าต้องยกมาเลยทั้งประโยคก็ได้? - กะล่อนหมายถึง เป็นคนช่างพูด ช่างคิด ช่างเขียน ด้วยมุมมองที่หลากหลายกว่าชาวบ้านเขานั่นเอง? วิธีการแต่งเพลงในปัจจุบันเราจะพบว่านักแต่งเพลงมีวิธีการในการแต่งเพลงที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งเกิดจากความถนัดส่วนตัวของเขาเหล่านั้น ซึ่งแบ่งได้ดังต่อไปนี้ - แต่งคำร้องก่อน? - แต่งทำนองก่อน? - แต่งทั้งคำร้องและทำนองพร้อมๆกัน? - คิดคำแล้วคิดทำนองที่เหลือทีหลัง? โครงสร้างเพลง ตามมาตรฐานในปัจจุบันจะแบ่งโครงสร้างของเพลงออกเป็นท่อนๆ ดังต่อไปนี้ A1 A2 A3 ท่อนเหล่านี้มักจะมีเมโลดี้ที่เหมือนๆกัน? B ท่อนนี้นักแต่งเพลงบางคนเรียกว่า ท่อนคลาน คือเป็นการคลานเข้าไปหาท่อน Hook นั่นเอง? Hook เป็นประเด็นหลักของเรื่องราว หรือประเด็นหลักของเพลง? C เป็นท่อนแยก เป็นพวกประโยคสั้นๆ มีเมโลดี้ไม่เยอะมาก? มาตรฐานของคำร้อง การแต่งคำร้องให้ได้มาตรฐานนั้น ควรจะสำรวจดูว่ามีครบตามคุณสมบัติเหล่านี้หรือไม่? -ครบโน้ต (ในขั้นเบื้องต้นนี้ อย่าพยายามเพิ่มหรือลดตัวโน้ตที่คนทำทำนองแต่งมา พยายามฝึกเขียนคำให้ครบตามจำนวนโน้ตที่มีอยู่จะดีกว่า)? -ไม่เพี้ยน , ไม่เหน่อ ลองร้องตามดูว่ามันเหน่อมั้ย เพี้ยนมั้ย อย่าพยายามหลอกตัวเองว่านิดๆ หน่อยๆ พยายามหาคำที่สามารถให้เสียงได้ตรงกับโน้ต? - มีการสื่อสาร หมายถึงการเล่าเรื่องและสื่อสารกับผู้ฟังได้เข้าใจ คนฟังเพลงเราแล้วรู้เรื่อง ไม่วกวน? - มีการใช้สัมผัส ทั้งสัมผัสใน สัมผัสท้ายวรรค และสัมผัสนอกเนื่องจากว่าภาษาไทยถ้าขาดคำสัมผัสคล้องจอง แล้ว จะทำให้ขาดความไพเราะ

เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 3 "อ้อคำ" และ "บวกควาย"

อ้างอิง : หนังสือเพลงชีวิต “ศิลปินครูบ้านป่า สลา คุณวุฒิ”
สำนักพิมพ์มิ่งมิตร เขียนโดย ชูเกียรติ ฉาไธสง , คมทัพแสง
บรรณาธิการ แคน สาลิกา เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 3 "อ้อคำ" และ "บวกควาย"
โดย แคน สาลิกา : มีนาคม 2545
ดอกนุ่นสีขาวปลิวคว้างไปมาตามสายลมบางเบาที่พัดโบกรอบตัว มันหมุนวนไปรอบ ๆ แล้วค่อย ตกลงซบนิ่งบนพื้นดินเหมือนคนสิ้นแรงดวงตะวันยามบ่ายจัดจ้าราวจะเน้นภาพเบื้องหน้าให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ตึกอาคารใหย๋น้อยปลูกสร้างเรียงรายกลางหมู่ไม้เขียวที่ขึ้นแซมประปราย กลุ่มคนหนุ่มสาวในชุดนักศึกษาเดินขวักไขว่สวนกันไปมา นั้นเป็นอาณาบริเวณของวิทยาลัยครูอุบลราชธานี ซึ่งสลาได้เข้ามาศึกษาต่อ
"ผมเรียนจบ ม.ศ.3 จากโรงเรียนป่าติ้ววิทยา เข้าเรียน ว.ค.อุบลฯ ช่วงปี 2520-2521 หลักสูตร ป.กศ.เตี้ย ในโครงการครูตำบล...ก่อนจบ ป.กศ.เตี้ยเทอมสุดท้าย มีเวลาว่างมาก หน้าห้องสมุดมีเวทีลานพอกให้เป็นที่แสดงกิจกรรมของนักศึกษา ตัวแทนทุกห้องก็จักกิจกรรมไปแสดงทุกบ่ายวันพฤหัสผมกับเพื่อนกลุ่มขี้ดื้อคิดหาวิธีไม่ออก ก็เลยพากันตั้งวงดนตรีง่าย ๆ ขึ้นมาทั้ง ๆ ที่ไม่มีใครเล่นดนตรีเป็นเลยสักคน วิธีการก็คือผ่าเปลือกไม้ไผ่ถึงเยื่อบางๆ ตัดเป็นเลาคล้ายคลุ่ยแล้วนำมาเป่าเอาเสียงแคน ตั้งชื่อ รักน้องฟอนลูกทุ่งแบบบ มีผมเป็นนักร้องนำ เอาเเพลงสายัณห์ สัญญา ชุดแดคนชื่อเจี๊ยบมาร้องและในช่วงนั้นมีเพลงรักไม่ชื่อฉ่ำที่รามคำแหงกำลังดัง ผมเลยประยุกต์เป็น รักไม่ชื่นฉ่ำที่ ว.ค. พอเรียนจบพวกเราก็แยกย้านกันไป"
สลาเล่าถึงฉากชีวิตนักเพลงสมัครเล่นของนักเรียนฝึกหัดครู ป.กศ.ต้น ซึ่งหลังจากเรียนจบแล้ว เขาเองไม่มีสิทธิ์สอบบรรจุครู เพราะอายุยังไม่ถึง 18ปีจึงเรียนต่อ ป.กศ.สูง เอกวิทยาศาสตร์
ตอนที่เรียนในวิชาเอกวิทยาศาสตร์ เขาก็ยังคงฝึกฝนการเขียนบทกวี และเรื่องสั้นอย่างสม่ำเสมอ จนเป็นที่ยอมรับของเพื่อนๆ ในห้อง เวลามีกิจกรรมนิทรรศการจัดบอร์ด สลามักถูกไหว้วานให้เขียนบทกลอน หรือเรื่องสั้นติดบอร์ดประกอบไปด้วยเพื่อสร้างสีสันอยู่ประจำ
ยุคนั้นบรรยากาศดนตรีของหมู่นักศึกษาโดยรวมมักนิยมเพลงแนวเพื่อชีวิตเป็นส่วนใหญ่ แม้รอยเชื่อมต่อของสายธารเพลงตระกูลนี้จะสะดุดลงบ้างอันเนื่องจากปัญหาการเมือง ทำให้วงดนตรีระดับ หัวขบวน อย่าง คาราวาน,กรรมาชน ฯลฯต่างต้องหลบลี้ภัยเผด็จการไปสู่เขตป่าเขากันถ้วนทั่วที่เหลือมีเพียงวง แฮมเมอร์ ซึ่งรับอิทธิพลทั้งด้านรูปแบบและเนื้อหาของคาราวานมาโดยไม่ผิดเพี้ยน ต่างกันเพียงวงแฮมเมอร์ดัดแปลงตัวเพลงให้เบากว่าคาราววานเท่านั้น
นักศึกษาวิชาเอกต่าง ๆ ตั้งตารอ เพื่อส่งรายชื่อการแสดงดนตรีของตัวเองในวันพฤหัสบดีเป็นประจำ ทำให้เอกวิทยาศาสตร์ต้องหันมาปรึกษากันเพื่อทำวงสมัคเล่นกับเขาบ้าง แม้โดยรวมจะมีแต่คนขี้อายก็ตาม
ยามนั้นดอกไม้ดนตรีต่างแข่งกันเบ่งบานเหนือวิทยายครูอุบลฯจนลานตา สลาให้ข้อมูลตรงนี้ว่า ความกึกคักส่วนหนึ่งมาจากเพื่อนนักดนตรีหนุ่มที่มีฝีมือจัดจ้านนาม วิทยา กีฬา ซึ่งมีโอกาสมาเรียนในรั้วสถาบันนี้เช่นกัน วิทยา กีฬา โดดเด่นเป็นอย่างยิ่ง เพราะได้รับเชิญร้องเพลงประกอบภาพยนตร์เกี่ยวกับชีวิตครูหลาย ๆเรื่อง ที่กำกับการแสดงโดย สุรสีห์ ผาธรรมอาทิ ครูดอย, ครูวิบาก ...การได้ร้องเพลงในภาพยนตร์เป็นเรื่องยิ่งใหญ่มากสำหรับความรู้สึกของเพื่อน ๆ นักศึกษาช่วงวัยขนาดนั้น วิทยาและเพื่อน ๆ กลุ่มของเขา ตั้งวงดตนรีในรั่ววิทยาลัยชื่อวง สุดสะแนน เป็นที่ฮือฮามาก ตรงจุดนี้เองทำให้กลุ่มเอกวิทยาศาสตร์ของสลาตัดสินใจตั้งวงดนตรีของตัวเองบ้าง โดยใช้ชื่อว่า วงอ้อคำ " อ้อคำ " เป็นวงดนตรีสไตล์โฟล์คซองที่เรียบง่าย มีกีตาร์โปร่งเพียง 3 ตัวเท่านั้น... สลารับหน้าที่ร้องนำเพราะเขาเล่นตดตรีไม่เป็นแม้แต่ชิ้นเดียวก่อนทำวงนี้สลาไปซุ่มดูวงอื่น ๆ แสดงอย่างตั้งใจก่อน ซึ่งทำให้ตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างยิ่งเพราะล้วนแล้วแต่ฝีมือฉกาจฉกรรจ์ทั้งนั้น ว่ากันโดยทักษะทางดนตรีแล้ว "อ้อคำ" สู้วงอื่นไม่ได้เลย ยิ่งถ้าร้องเพลงของศิลปินดังๆ ที่วงทั่วไปนิยมร้องแล้วก็ยิ่งเห็นข้อแตกต่างทางฝีมือชัดเจนยิ่งขึ้น (ขณะนั้นวงดนตรีโดยรวมจะเล่นเพลงของ แฮมเมอร์ เป็นหลัก) ดังนั้น พวกเขาจึงต้องหา "จุดขาย" ของตัวเองให้ได้เพื่อลบข้อด้ออยที่มีอยู่ และนี่เป็นก้าวแรกของการแสวงหามุมมองเพื่อสื่อสารบทเพลงสู่วงกว้างของสลา คุณวุฒิ สลา วางจุดขายของอ้อคำไว้ที่การเน้นกลิ่นอายความเป็นพื้นบ้านอีสาน ไม่ว่าจะด้านเนื้อหาหรือภาษามาใส่ให้มากที่สุด และต้องสร้างผลงานเพลงของตัวเองเป็นหลัก ไม่งั้นคงสู้วงอื่นไม่ได้แน่ ภาพชนบทของหมู่บ้านนาหมอม้าที่เขาจากมาแวบเข้ามาในความคิดเป็นฉาก ๆ กลางผืนนากว้างนั้นมีฝูงควายเดินเล็มหญ้าเป็นกลุ่มๆ บางตัวก็ลงนอนแช่ในปลักโคลนตมอย่างสบายใจ กลิ่นอายตรงนั้นจัดจ้านจนเขารู้สึกและสัมผัสได้แม้จะเพียงในจิตนาการ สลา แต่งเพลง บวกควาย (เป็นภาษาอีสาน หมายถึง แอ่งน้ำที่ควายนอนพัก ) สำหรับวงอ้อคำเป็นเพลงแรก และหลังจากนั้นเพลงอื่นๆก็ตามมาอย่างไม่ขาดสายโดยเน้นเนื้อหาพื้นถิ่นใกล้ตัวเป็นหลัก ความรู้สึกแรกของการขึ้นเวทีเป็นสิ่งที่เขาไม่มีวันลืม แม้จะรักการร้องเพลงมาตั้งแต่เด็กแต่เมื่อเจอสานตาคนฟังนับร้อยคู่ หนุ่มน้อยจากบานนาหมอม้าก็ยังอดรู้สึกประหม่าไม่ได้ เหงื่อปห่งความตื่นเต้นแตกซิกไปทั้งร่าง อย่างไรก็ตามวงอ้อคำก็ได้รับความนิยมจากหนุ่มสาวชาว ว.ค. อุบลฯพอสมควร โดยเฉพาะเพลง สาวชาวหอ ที่เขาแต่งเพื่อความสนุกสนานยิ่งได้รับความนิยมมากกว่าเพื่อน "สลาไม่ลองเมาเพลง สาวชาวหอ ไปขายหรอให้พวกศิลปินดัง ๆ ร้อง อาจจะดังงกับเขาบ้างน่ะ" เพื่อนร่วมชั้นเรียนแสดงความเห็นพร้อมกับยุส่ง แรกๆ เขาก็ไม่สนสจนัก แต่พแมีคนพูดถึงเพลงนี้บ่อย ๆ ก็ทำให้สลาเกิดแรงบันกาลใจบางอย่างขึ้นมา หากเพลงใดเพลงกนึ่งที่เขาแต่งมีโอกาสได้บันทึกแผ่นเสียงก็คงมีความสุขไม่น้อย ความรื่นรมย์ใดเล่าจะเทียบเท่ามีคนชื่นชมเพลงที่เราแต่งแล้วนำไปร้องต่อ ๆ กันไป ตอนนั้น หากสลา คุณวุฒิ จะรู้ว่าในอนาคนเพลงสาวชาวหอนี้มีนักร้องลูกทุ่งระดับประเทศคนหนั่งนำไปร้องในวงกว้าง เขาก็คงตื่นเต้นจำทำอะไรไม่ถูกเป็นแน่

เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 2 อดีตรักทุ่งนาแห้ง

อ้างอิง : หนังสือเพลงชีวิต “ศิลปินครูบ้านป่า สลา คุณวุฒิ”
สำนักพิมพ์มิ่งมิตร เขียนโดย ชูเกียรติ ฉาไธสง , คม ทัพแสง
บรรณาธิการ แคน สาลิกา
เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 2 อดีตรักทุ่งนาแห้ง
โดย แคน สาลิกา : มีนาคม 2545

ลมว่าวโชยพัดหอบเศษฟางปลิวคว้างทุกทิศทาง เสียงแคนเสียงซอดังแว่วมาตามลมเหนือแผ่นดินบ้านป่าอย่างอ้อยสร้อย ประสานกับเสียงร้องหมอลำของใครบางคน ราวคำกระซิบบอกข่าวของอาคันตุกะจากแดนไกลอยู่เช่นนี้วันแล้ววันแล้ววันเล่าปลอบประโลมหมู่บ้านแห่งนี้ให้พอคลายเหงาได้บ้าง ว่ากันว่า แหล่งกำเนิดมีอิทธิพลที่ส่งผลต่อทางเดินชีวินคนไม่มากก็น้อยอย่างน้อยก็ในแง่ทัศนะเชิงวัฒนธรรมที่เจนตาเจนใจจนคุ้นชินตั้งแต่เยาว์วัยหล่อหอมเป็นรากฐานที่แน่นหนา สลา คุณวุฒิ ก็เช่นกัน อิทธิพลเพลงพื้นบ้านอีสานที่บ้านนาหมอม้า อำเภอเมือง จัดหวัดอำนาจเจริญ กล่อมเกลาหัวใจมาตั้งแต่เด็กๆโดยมีต้นแบบมาจากแม่บังเกิดเกล้าของเขานั้นเอง ศิลปินต้องเป็นคนช่างคิดช่างฝัน ภาพวัยเยาว์ของสลาถูกเขาเก็บไว้ในซอกมุมหนึ่งของความทรงจำเสมอมา - บางขณะยังได้ดึงออกมาใช้เป็นวัตถุดิบในงานเพลงตัวเองบ่อย ๆ ภาพทุ่งนากว้างเต็มไปด้วยต้นข้าวเหลืองอร่ามกลางแสงตะวัน และท้องฟ้ายามค่ำที่มีดาวแซมระยิบติดตาตรึงใจเขามาตลอด บางครั้งเมื่อทำนาที่บ้านนาหมอม้าไม่ได้ผล พ่อก็จะพาครอบครัวร่อนเร่เข้าไปในหมู่บ้านบึกซึ่งไกลไปอีก ดังนั้น วิถีชีวิตคนบ้านป่าจึงถูกสลาซึงซับไว้จนหมดสิ้น ช่วงนั้นภาพชีวิตของสลาคล้ายดังโทนภาพจิตรกรรมอิมเพรสชั่นนิสม์ซึ่งเน้นความรู้สึกสุขและเศร้า งดงามและอ้างว้าง แต่ก็เต็มไปด้วยบรรยากาศสีสันอันประทับใจ "จารย์แก้ว" ลุงของเขาเป็นศิลปินพื้นบ้าน แต่งเพลงร้องรำได้เองด้วยปฏิภาณกวีอันโดดเด่น เป็นที่เลื่องลือในหมู่บ้านมาช้านานจนแม้ลุกเสียชีวิตไปแล้วแต่บทเพลงที่แต่งก็มิได้สูญหายไปไหน เพราะมีน้องสาวซึ่งก็คือแม่ของสลา นำมาร้องรำให้ฟังอยู่เนืองๆ โดยเฉพาะเพลงกล่อมลูก ซึ่งนับเป็นบทเพลงชีวิตเพลงแรกของเขา ผลงานเพลงของลุกมีมากมาย แต่ที่น่าเสร้าก็คือ สลาไม่มีโอกาสเห็นหน้าลุกคนี้เลย เพราะได้จากโลกนี้ไปตั้งแต่เขายังไม่เกิด เหลือแต่เพียงผลงานไว้แทนตัว วิทยุทรานซิสเตอร์เป็นมหรสพที่ทันสมัยที่สุดสำหรับเด็กชายบ้านป่าผู้เกิดในคืนที่มีหนังกลางเปลงมาฉายที่วัดใกล้บ้าน เป็นหนังญี่ปุ่นเรื่อง"สิงห์สลาตัน" เมื่อ พ.ศ. 2505 จึงเป็นที่มาของชื่อ สลา บุตรชายคนที่ 5 ของครอบครัวพ่อ บุญหลาย - แม่ก้าน คุณวุฒิ วัฒนธรรมเพลงรำวงในหมู่บ้านนาหมอม้า ก็เป็นมหรสพใกล้ตัวอีกอย่างหนึ่ง และบทเพลงในแนวนี้เป็นฝีมือการเขียนของลุกหลายเพลง กระทั่งบัดนี้ก็ยังมีคนนำมาขับร้องอยู่ นอกจากเพลงรำวงแล้ว เพลงพื้นบ้านอย่าง "หมอลำ" ประเภทต่าง ๆ ก็เป็นที่นิยมของสาวบ้านไม่แพ้กัน ลักษณะหมอลำนี้จะแตกต่างกันไป แล้วแต่สำเนียงหรือที่มา และสิ่งนี้เป็นรากฐานวัฒนธรรมที่ประสมเข้าในตัวสลาตอนวัยเยาว์ทั้งสิ้น เสียงซอจากก้านนิ้วนักเพลงตาบอดนาม "ครูบุญมา" เอ็นดั่งดนตรีบรรเลงขับกล่อมบ้านป่า - นาหมอหม้อ ในทุกค่ำคืนครูบุญมาเป็นนักเพลงตาบอดที่จัดระดับความสามารถเป็นศิลปินประจำหมู่บ้านได้คนหนึ่ง ซอของแกทำจากไม่ไผ่ติดกับปี๊ใส่ลูกอม (ฮอลล์)ฝีมือสีซอและด้นกลอนสดนับว่าฉกาจฉกรรจ์ ทั้งเล่นทั้งร้องได้แพรวพราวรอบตัว หนุ่งๆ ในหมู่บ้านมักไปขอให้ครูบุญมาแต่งกลอนสำหรับเกี่ยวสาวให้เสมอ จ.ส.อ. อุทาน คุณวุฒิ พี่ชายของสลาเป็นคนหนึ่งซึ่งชอบเขียนกลอนและมักชวนน้องชายไปดูครูบุญมาสีซอ ด้นกลอนสด แทบทุกวัน ครูบุญมาแม้ตาบอดทั้งสอบข้าง แต่ชีวิตก็มีบางมุมที่น่าอิจฉาเพราะแกมีผู้หยฺงมาหลงไหลมากมาย จนบางคนถึงขนาดยอมเป็นเมียเลยที่เดียว นี้เป็นผลพวงจากเสน่ห์ความเป็นศิลปินของแกโดยแท้ และครูบุญมาคนนี้ก็นับเป็นครูเพลงในยุคเริ่มต้นของเขาได้คนหนึ่ง นอกจากเเพลงพื้นบ้านแล้ว งานลักษณะวรรณกรรมก็มีผลต่อแรงบันดาลใจของสลาไม่น้อย ช่วงเรียนชั้น ป.7 เขามีโอกาสอ่านหนังสือรวมเรื่องสั้น ชุด มือที่เปื้อนชอล์ก ของ นิมิตร ภูมิถาวร ซึ่งหนึ่งในเล่มนั้นมีเรื่อง "เด็กที่ครูไม่ต้องการ" ที่เขาประทับใจเป็นพิเศษอยู่ด้วย หนังสือเล่มนี้เป็นแรงบันดาลใจสำคัญทำให้อยากเป็นนักเขียนแบบ นิมิตร ภูมิถาวร และฝึกฝนการเขียนบทกลอน,เรื่องสั้น และนวนิยายตั้งแต่บัดนั้น แต่เส้นทางสายวรรณกรรมของสลาดูช่างขรุขระสิ้นดี เขาบอกว่าช่วงเรียนระดับมัธยมได้ฝึกเขียนหนังสือค่อนข้างมาก แต่เขียนไม่เคยจบสักครั้ง เรื่มได้แค่ 9-10 บรรทัดก็เริ่มตันแล้ว...ไม่มีทางไป เขาเล่า อย่างไรก็ตาม นิสัยรัการเขียนก็เป็นผลดีที่ทำให้สลาเริ่มเขียนกลอนเป็น และนับเป็นพื้นฐานสำคัญของการเขียนเพลงในเวลาต่อมา หลังจากพี่ชายกับเขาแอบชื่นชมศิลปินบุญมาแต่งกลอนจีบสาวแล้ว ก็คิดว่าพวกเขาน่าจะแต่งกันเองบ้าง จึงเริ่มต้นจากพี่ชายนำเอานำนองเพลงดังมาแปลงเนื้อใหม่ พอแต่งเสร็จก็นำไปร้องในวงโปงลางประจำหมู่บ้าน แต่ผมคิดว่า เอาทำนองเขามาไม่ดีก็เลยอยากแต่งใหม่ แต่งเสร็จก็ร้องอวดเพื่อน ไม่ได้จริงจังอะไร แต่ที่มุ่งมั่นจริงคือการอยากเป็นนักเขียน ดังนั้นในระหว่างการปั่นจักรยานจากบ้านนาหมอม้าไปเรียนหนังสือ ชั้นมัธยมที่โรงเรียนป่าติ้ววิทยา สลาจะร้องเพลงๆ หนึ่งให้เพื่อนฟังอยู่เสมอ มันเป็นเพลงแรกในชีวิตที่เขาแต่งขึ้นมาจากแรงบันดาลใจในวัยเด็ก ที่เคยไล่ตั๊กแตนหรือไต้กบไต้เขียนที่ทุ่งนาแห้งท้ายบ้าน จึงให้ชื่อเพลงนั้นว่า อดีตรักทุ่งนาแห้ง สลายอมรับว่า การเขียนเพลงนี้ได้รับอิทธิพลมาจากเพลง คอยรักใต้ต้นกระโดน ที่ครูพงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา แต่งให้ "ดาว บ้านดอน" บันทึกแผ่นเสียงและครูเพลงเมืองนักปราชญ์คนนี้ก็คือ ต้นแบบในการแต่งเพลงในเวลาต่อมา หลังจบชั้นมัธยม สลาเข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยครูอุบลราชธานี ช่วงนี้เขาได้รับแรงบันดาลใจจากนักเขียนหลาย ๆ คน อาทิ คมทวน คันธนู,คำพูน บุญกวี,ชาติ กอบจิตติ,คำหมาน คนไค ทำให้ฝึกฝนการเขียนต่อไปอย่างหนักโดยไม่ยอมแพ้ ขณะนั้นความฝันในการดำเนินชีวิตของเขามีเพียง 2 อย่างเท่านั้น คือถ้าไม่เป็นครูตามที่เรียนมา ก็ต้องเป็นนักเขียนอาชีพให้ได้ เรื่องจะเป็นนักแต่งเพลงหรือนักร้อง ไม่เคยอยู่ในความคิดเลย