แนวทางการสร้างเพลง ครูสลา (ตอนที่ 5 )ใช้ภาษาอย่างไรให้โดนใจ

แนวทางการสร้างเพลง ครูสลา (ตอนที่ 5 )ใช้ภาษาอย่างไรให้โดนใจ โดยครูสลา คุณวุฒิ อ้างอิง : ลูกทุ่งดอทคอม สงวนลิขสิทธ์โดยสโมสรนักเขียนภาคอีสาน - การเขียนกลอนลำ ครูสลา คุณวุฒิ มีแนวทางเป็นหลังการเขียนกลอนลำ ของตนเอง โดยใช้ปรัชญา คือ - เขียนงานเข้าหาชาวบ้าน ไม่ใช่ดึงชาวบ้านมาหางานเรา - นั้นคือ การนำเรื่องราวชีวิตของชาวบ้าน มาเขียนกลอนลำให้ชาวบ้านฟัง ไม่ใช่สร้างเรื่อง ของเราขึ้นมาแล้วดึงชาวบ้านมาฟัง - ส่วน “ส่วนวิธีการนำเสนอ” กลอนลำของ สลา คุณวุฒิ ใช้หลักการดังนี้ - ด้านเนื้อหา ยังคงยึดแนวทาง 5 ข้อ แบบเดียวกับการเขียนเพลงลูกทุ่ง คือ 1.ขึ้นต้นต้องโดนใจ 2.เนื้อในต้องคมชัด 3. ประหยัดคำไม่วกวน 4. ทำให้คนฟังคิดว่าเป็นเพลงของเขา 5. จบเรื่องราวประทับใจ - ด้านรูปแบบ กลอนลำแต่ละประเภทมีจังหวะ ทำนองเป็นของตัวเอง การเขียนเนื้อนอกจาก กินใจแล้ว จะต้องไม่ขัดกับทำนองของกลอนลำแต่ละประเภท และการประยุกต์รูปแบบต้อง กลมกลืน ที่สำคัญประยุกต์อย่างไรก็อย่าให้หมอลำเป็นอย่างอื่น เปรียบเหมือนทำส้มตำ แม่ครัว จะใส่อะไรลงไปก็ได้ แต่จะต้องให้คงความมีรสชาติเป็นส้มตำ ถ้าผิดฝืนทำส้มตำให้เป็นพิซซ่า คนกินก็รับไม่ได้ - ด้วยหลักการเขียนกลอนลำดังกล่าวทำให้ ครูสลา คุณวุฒิ สามารถเขียนกลอนลำ ได้อย่างดี มีผลงานมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน - ครูสลา คุณวุฒิ ใช้เวลาในการเขียนเพลง แต่ละเพลงประมาณ 30 นาที แต่ใช้เวลาในการ คิดเพลงแต่ละเพลงไม่เท่ากัน แต่ส่วนมากจะให้หลักการ “ คิดนานเขียนเร็ว” - ฟักตัว - หลังจากที่ลงมือเขียนจนเสร็จ ถือว่างานทุกอย่างเกือบเรียบร้อย นักแต่งเพลงแต่ละคนอาจใช้ เวลาในการเขียนเพลงมากน้อยแต่กต่างกัน แต่โดยวิธีการที่ถูกต้อง น่าจะลงมือเขียนให้เสร็จ รวดเดียวจบทันที เพราะหากปล่อยทิ้งไว้โดยเขียนไม่จบบางทีข้อมูล เรื่องราวต่างๆ ที่ผ่านขั้นตอน เตรียมการต่างๆ มาเป็นอย่างดีอาจมีลืมหายไป - การฟัวตัว คือ ทิ้งเนื้อเพลงที่เขียนเสร็จเรียบร้อยไว้ระยะหนึ่ง แล้วกลับมาทบทวนและขัดเกลา ในขั้นนตอนต่อไป (ทบทวน - ขัดเกลา) - หลังจากผ่านระยะการฟักตัวแล้ว นักแต่งเพลงต้องกลับมาดู เพลง ที่เขียนไว้อีกครั้งหนึ่ง เพื่อ เป็นการทบทวน และขัดเกลาเพลงทั้งหมดอีกครั้งหนึ่ง อาจมีการแก้ไขถ้อยคำบางคำ หรือปรับ ทำนองบางท่อน - ขั้นตอนนี้จะทำให้เพลงมีความสมบูรณ์ที่สุด เพราะถือว่าผ่านกระบวนการ และขั้นตอนการ เขียนเพลงมาตามลำดับแล้ว - นักแต่งเพลงทุกคนจะพอใจเมื่อได้ เพลง ที่ผ่านการทบทวนและขัดเกลา แก้ไขจนเป็นที่พอใจ ของตนเองแล้ว ถือว่างานเขียนเพลงมาถึงขั้นสุดท้าย - ร้องไกด์ - ขั้นตอนสุดท้ายของการเขียนเพลง คือ การทำอย่างไรที่จะทำให้เพลงที่เขียน เสร็จสมบูรณ์ คือ คนอื่นฟังรู้เรื่องด้วยทั้ง เนื้อร้อง และทำนอง นักแต่งเพลงจะต้องทำการร้องเพลง ของตนเอง เรียกว่า การร้องไกด์ พยามให้เหมือนกับตัวเองต้องการที่สุด ขั้นตอนนี้นักแต่งเพลงบางคนมีปัญหา ในการร้องเพลงอาจให้คนอื่นร้องแทน แต่ต้องพยามให้สื่อความหมายตรงกับที่ตัวนักแต่งเพลงต้องการ - การร้องไกด์ มีทั้งแบบที่ง่ายที่สุด ไปจนถึงแบบที่ยากที่สุด ซึ่งทั้งสอบแบบ มีความหมายเดียวกัน คือ ทำให้คนอื่นรู้จักเพลงที่ตนเองแต่งเท่านั้น จึงไม่จำเป็นต้องลงทุนเสียค่าใช้จ่ายแพงๆ อ่านต่อ ตอนที่ 6 ครับ

1 ความคิดเห็น:

  1. คุณครูสลาท่านเขียนเพลงอะไรก็ฟังดูดีไปหมดเพราะท่านมีพรสวรรค์ความรู้ดีด้วย และท่านมีชื่อเสียงแล้ว แต่ผมอยากเป็นนักแต่งเพลงพอเขียนแล้วมาร้องทำนองดูไม่ลงตัวสักที บางทีไม่รู้ว่ามันเป็นเพลงหรือเปล่า พรสวรรค์ก็ยังไม่รู้ว่ามีหรือเปล่าพรแสวงมีตอนแรกพอเขียนไปไม่สำเร็จพรแสวงก็หายไป นานนานก็กลับมาอีกไม่รู้เป็นจะได้เป็นนักแต่งหรือเปล่าก็ไม่รู้ชาตินี้

    ตอบลบ