
อ่านบทความเกี่ยวกับ ครูสลา คุณวุฒิ ที่นี้ อ้างอิง หนังสือ เพลงชีวิตศิลปินบ้านป่า สลา คุณวุฒิ ของสำนักพิมพ์มิ่งมิตร เขียนโดย ชูเกียรติ ฉาไธสง , คมทัพแสง บรรณาธิการ แคน สาลิกา
เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 8.2 ตั้งเกณฑ์สูง อย่าตั้งความหวังสูง
อ้างอิง: หนังสือเพลงชีวิต “ศิลปินครูบ้านป่า สลา คุณวุฒิ”
สำนักพิมพ์มิ่งมิตร เขียนโดย ชูเกียรติ ฉาไธสง , คมทัพแสง
บรรณาธิการ แคน สาลิกา
เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 8.2 ตั้งเกณฑ์สูง อย่าตั้งความหวังสูง
โดย: แคน สาลิกา : มีนาคม 2545
-เขาไปค้นดูนิตยสาร “ ถนนหนังสือ “ เล่มเก่าๆ ที่มีบทสัมภาษณ์นักเขียนรุ่นใหญ่หลายๆคน ซึ่งมีผลงานเป็นที่ย้อมรับในวงกว้างแล้ว
ก็ไปสะดุดกับบทสัมภาษณ์ ชาติ กอบจิตติ นักเขียนคนหนึ่งที่อยู่ในหัวใจและเป็นจ้นแบบของตัวเองมช้านาน
-“ ตอนนั้นพี่ชาติบอกว่า ถ้าผมเป็นนักแต่งนิยายคนใหม่ จะตั้งเกรดไว้ที่ เรื่องคำพิพากษาเลย ซึ่งเป็นเกรดสูงมาก คือได้รับรางวัลซีไรท์
เขียนให้ถึงตรงนั้น หรือชนะได้ยิ่งดี”
-เขาตั้งข้อคิดนี้เป็นหลักแต่นำมาปรับใช้ในงานเขียนเพลง โดดตั้งข้อระบบความคิดคงไปได้ไม่ถึงไหน เพราะอาจไม่มีใครแนะนำใครได้
มากกว่ากัน
-แต่หากศึกษาเทคนิค และวิธีของครูเพลงรุ่นก่อนๆ อย่างจริงจังน่าจะเป็นประโยชน์ในอนาคตมากกว่า
-ครูหนุ่มจากบ้านหมอม้า นั่งนอนทบทวนโดยละเอียดแล้วก็พุ่งเป้าหมายไปที่ครูเพลงลูกทุ่งยิ่งใหญ่ที่สุดของเมืองไทย ไพบูลย์ บุตรขัน
ด้วยถือว่าเป็นมวยใหญ่สุดแล้ว
-ผลงานของบรมครูผู้นี้อบอวลในความรู้สึกขอสลามาตั้งแต่เยาว์วัยก็ว่าได้ บทเพลงเหล่านั้นบันทึกแน่นในคลังสมองโดยไม่หายไปไหน
เพียงแต่ที่ผ่านๆมาเขาฟังเพื่อความไพเราะเพียงอย่างเดียว ไม่ได้นำมาวิเคราะห์ดูอย่างจริงจัง
-สลาไปหาหนังสือเพลงของครูไพบูลย์มาอ่านในลักษณะ “ผ่า” โดยละเอียดศึกษาประเด็นว่าผลงานเหล่านั้นประสบความสำเร็จเพราะอะไร
ใช้ภาษาแบบไหนหรือแม้กระทั้งเสน่ห์ของเพลงอยู่ตรงไหน
-ในขณะที่ศึกษาเปรียบเทียบ สลาก็ฝึกการเขียนเพลงไปด้วย ด้านเทคนิคเพลงเขาพอเข้าใจแล้วว่าควรทำย่างไร แต่ด้านทักษะฝีมือยอมรับตรงๆว่ายังทำไม่ได้อย่างที่ตั้งใจไว้
-เขาสรุปตัวเองในช่วงนั้นว่า เพราะทักษะด้านภาษารวมถึงโลกทัศน์ของเขายังไม่สุกงอม แต่อย่างน้อยก็ทำให้รู้จักแนวทางของครูไพบูลย์
โดยละเอียด และก็อาศัยยุคนี้ฝึกฝนฝีมือมาเรื่อยๆ
-“มันเป็นประเด็นให้เก็บไปคิดว่า ถ้าผมแต่งเพลง ตอนแรกแต่งตามใจของผม อยากแต่งก็แต่งไป พอผมได้อ่าน ก็ไปศึกษางาน
ของครูไพบูลย์ บุตรขัน ของครูอะไรเป็นเกณฑ์ที่สูงเลย พอแต่งเพลงเสร็จก็ไปประกบกันดูตามความรู้สึกของตัวเอง มันใกล้เคียงกับ
ครูบาอาจารย์หรือยัง หรือพอไปวัดไปวาได้หรือยังทำให้มีความมุมานะในการสร้างสรรค์งานแต่อย่าตั้งความหวังสูง”
-“อย่างที่ผมทำมาตั้งแต่ปี 2524 จนกว่าจะประสบความสำเร็จ นานนับสิบปีทีเดียว.. ถามว่าผมเหนื่อยไหม ผมไม่เหนื่อย เพราะผมไม่เคย
หวังเลยผมเขียนแล้วผมได้ร้อง พอเพื่อนได้มาฟังผมก็ดีใจ พอได้บันทึกเสียงผมก็ดีใจ..ตั้งเกณฑ์สูง แต่อย่าตั้งความหวังสูง พูดตรงนี้เผื่อว่า
หลายๆคนอยากเป็นนักเขียน พอจับปากกาเขียนก็คิดถึงเงิน ถ้าได้ลงตอนนี้ 3,000 บาท บวกลบคูณหารในสมองก็เลยกดดัน ใครหนอเป็น
บ.ก.เขียนดีแล้วยังไม่ผ่านแล้วทำให้นิสัยเสีย ไปด่า ไปต่อว่าคนอื่นแล้วทำให้เราท้อ คือทำไปเรื่อยๆมีความสุขกับการได้สร้างสรรค์”
-ทั้งหมดนี้มาจากข้อคิดของชาติ กอบจิตติ โดยแท้
อ่านต่อตอนต่อไปครับ

สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น