
- ขณะนั้นมีกลุ่มวรรณกรรมเล็กๆ ทางอีสานเกิดขึ้นมา เป็นการรวมกลุ่มของคนหนุ่มไฟแรงภายใต้ชื่อ “วรรณกรรมลำน้ำมูล “ มีสมาชิกที่ค่อนข้างโดดเด่นคือ ฟอน ฝ้าฟาง ,วงเดือน ทองเจียว, บุญมา ภูเม็ง, ปราโมทย์ ในจิต , สัญญาลักษณ์ ดอนศรี เป็นต้น
-สลา เข้ามาสัมผัสกลุ่มนี้โดยการแนะนำของอดีตเพื่อนร่วมสถาบัน วค.อุบลฯ นาม คม ทัพแสง คนหนุ่มผู้มีฝีมือด้านการเขียนเพลงอีกคนหนึ่ง คมทัพแสงเป็นผู้มีส่วนจุดประกายความอยากเป็นนักเขียนให้สลาตั้งแต่ยังเรียนอยู่และมีความสัมพันธ์กับกลุ่มลำน้ำมูลอยู่ก่อนแล้ว
-ว่ากันจริง ๆ ความสำเร็จด้านงานเขียนของเขา ยังแตกต่างกับสมาชิกกลุ่มลำน้ำมูลอยู่มาก เพราะอย่าง ฟอน ฝ้าฟาง หรือวงเดือน ทองเจียว ต่างเริ่มมีชื่อเสียงในวงกว้างกันแล้ว ในขณะที่ตัวเขาเองอยู่ในระดับฝึกหัดเพื่อเข้าสู่ถนนนักเขียนเท่านั้น
-ปี 2528 -2529 กลุ่มวรรณกรรมลำน้ำมูล จัดโครงการกิจกรรมวรรณกรรมตามโรงเรียนต่าง ๆ ในละแวกภาคอีสาน มีการให้นักเรียนประกวดเขียนกลอน, เรื่องสั้น มีการแสดงดนตรีและละครบนเวทีด้วย โดยผู้รับผิดชอบด้านดนตรี และละคร คือ บุญมา ภูเม็ง และคม ทัพแสง ครั้งนั้นสลามีโอกาส ไปช่วยงานบนเวทีที่ และสีคิ้ว โดยรับหน้าที่ร้องเพลงให้นักเรียนฟังเป็นหลัก
-การทัวร์ครั้งนี้ เขาได้พบเพื่อนใหม่ซึ่งเป็นนักเขียนเลือดอีสาน แต่ไปตั้งรกรางอยู่ที่ส่วนกลางหลายคนอาทิ กวีหนวดงามผู้กำลังเลือดลมร้อนแรงนาม “เสรี ทัศนศิลป์ “ หรือพระสึกใหม่ ผู้เป็นฆราวาสได้ไม่กี่ปีนาม “ไพวรินทร์ ขาวงาม “ ที่มาร่วมโครงการนี้ด้วย
-ครั้งที่ออกกิจกรรมที่ร้อยเอ็ด ทางกลุ่มมีแขกรับเชิญมาช่วยงานบนเวทีอีกคนหนึ่งจากการชักนำของบุญมา ภูเม็ง เป็นเด็กหนุ่มจากเมืองหนองคายที่กำลังร่อนแร่ในวงการเพลงโดยไม่มีใครรู้จักนาม พงษ์สิทธิ์ คัมภีร์ หรือที่เรียกกันในหมู่เพื่อนๆว่า ปู-คัมภีร์ นั่นเอง
-ปู- คัมภีร์ มีแววโดดเด่นมาตั้งแต่ตอนนั้น โดยเฉพาะช่วงร้องเพลงบนเวที เขาคว้ากีตาร์ขึ้นโชว์เพลงชุด คนไกลบ้าน ของคาราวาน ที่มีเพลง เสือร้องไห้ เป็นเพลงเอกด้วยน้ำเสียงกังวานใสทรงพลัง สะกดคนฟังให้นิ่งงันด้วยความประทับใจกันถ้วนหน้า แม้แต่ตัวลาเองที่ออกงานเทียนก้อมมาแล้วยังยอมรับว่าปูนั้นมีบุคลิกทางดนตรีที่พิเศษ และต้องเติบโตบนถนนดนตรีในอนาคตอย่างแน่นอน
อ่านต่อ เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 7.3 จดหมาย(ไม่)ผิดซอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น