
โดยครูสลา คุณวุฒิ
อ้างอิง : ลูกทุ่งดอทคอม
สงวนลิขสิทธ์โดยสโมสรนักเขียนภาคอีสาน
- การตั้งชื่อเรื่องเพลง
- ชื่อเรื่อง คือ การสรุปเรื่องราวทั้งหมดที่พบเห็นมาจากการรวบรวมเรื่องราว ประเด็น แลลแรงบันดาลใจ
ทั้งหมด สรุปเป็นคำสั้นๆ ที่ครอบคลุมเรื่องราว เนื้อหา ที่อาจจะเป็น นำไปสู่การตั้งเป็น ชื่อเพลง ในขั้นตอน
ต่อไป
- ชื่อเพลงคือ ส่วนสำคัญที่สุดของเพลง เป็นหัวใจ ของเพลงเพราะเป็นสื่อความหมายอันแรงที่จะทำให้คนรู้จัก
เพลงและอย่างฟังเพลง
- หลังการตั้งชื่อเพลง คือ ใช้คำสั้นๆ มีความหมายกินใจ ให้คนฟังอย่างฟังเพลง และที่สำคัญต้องสื่อความหมาย
ไปยังเนื่อเพลง และครอบคลุมเนื้อหาเพลงทั้งหมด ชื่อเพลงงกับเพลง ต้องสอดคล้องกัน ฟังชื่อเพลงแล้วสามารถ
จินตนาการถึงเนื้อเพลงได้ และฟังเพลงจบต้องมีความรู้สึกว่าตรงกับ ชื่อ เพลง
- ขั้ตตอนนี้ ครูสลา จะให้ความสำคัญกับตั้งชื่อเพลงก่อน เพื่อให้ง่ายต่อการเขียนเพลง
- วิเคราะห์แนวทาง เมื่อผ่านขั้นตอนการนำประเด็น สรุปเป็น ชื่อเพลงแล้ว ต้องนำมาวิเคราะห์หาแนวทางว่า
เพลงที่จะแต่งออกมานั้น น่าจะมีลักษณะเป็นอย่างไร ส่วนใหญ่จะกำหนดกรอบแนวทางของเพลงออกเป็น
2 ประการคือ
- 1 ควรจะนำเสนออย่างไร กลุ่มเป้าหมาย (คนฟัง) นักร้อง (ผู้นำเสนอ)
- 2 ควรจะแต่งเป็นเพลงแบบไหน เพลงช้า เพลงเร็ว
- คิดหาทำนอง ทำนองเพลง คือองค์ประกอบสำคัญลำดับที่สองของเพลงรองจากเนื้อเพลง นักแต่งเพลงบางคนแต่งเพลง
โดยคิดทำนองก่อนที่จะเขึยนเนื้อเพลง บางคนเขียนเนื้อเพลง ก่อนที่จะใส่ทำนองบางคนเขียนเนื้อเพลงและใส่ทำนองไปพร้อมกัน
เป็นเทคนิคของนักแต่งเพลงแต่ละคน ครูสลา คุณวุฒิ ชอบที่จะเขียนเนื้อเพลงไปพร้อมกันการใส่ทำนอง
- ใช้ถ้อยคำ คำที่ใช้ในเพลง หรือ ภาษาที่ใช้ในเพลงแตกต่างไปจากภาษาที่ใช้พูดและเขียนทั่วไป เพราะเป็นถ้อยคำที่
จะสื่อความหมายไปยัง ผู้ฟังโดยการฟังเพียงอย่างเดียว นักแต่งเพลงจะต้องมีความสามารถในการใช้ถ้อยคำ เป็นอย่างดี
ซึ่งต้องมาจากการฝึกฝน การคิด การค้นหา และมาจากการฝึกหัดการใช้คำมากๆ
- นักแต่งเพลงบางคนมีภาษา เป็นลักษณะเฉพาะของตนเอง เมื่อเขียนเพลงออกมาแล้วคนฟัง สามารถบอกได้ว่าเป็นใคร
ซึ่งเป็นความสามารถเฉราะตัวของแต่ละคน แต่นักแต่งเพลงทุกคนสามารถที่จะมีภาษา เป็นของตนเอง
- การใช้ถ้อยคำในเพลง มีหลักสำคัญที่ครูสลาใช้ในการเขียนเพลง คือ "ทำอย่างไรคนจึงได้ยินและจำได้"
- การวางแผนการใช้ถ้อยคำส่วนมากจะคำนึงถึงโครงสร้างของเพลงเป็นหลักในการวางคำ เช่น
-คำขึ้นต้น ท่อนแรก
-คำที่ใช้ใน ท่อนแยก
-คำที่ใช้ใน ท่อนจบ
- การวางแผนการใช้ถ่อยคำบางครั้ง จำเป็นจำเป็นต้องใช้วิธีการ ร่าง และบันทึก เมื่อนึกถึง ถ้อยคำ ที่จะนำมาใช้ในบทเพลง
แล้วค่อยนำมาเรียบเรียงใหม่ในตอนเขียนเนื้อเพลง
- นักแต่งเพลงทุกคนจะต้องมี คลังคำ หรือ หลังภาษา ที่สามารถหยิบมาใช้ได้อย่างทันทีที่ต้องการ
-ชอยกตัวอย่าง "นักแต่งเพลง" มือหนึ่งของวงการเพลงไทย ซึ่งมีประสบการณ์ในการเขียนเพลงมากกว่า 300 เพลง
ในระยะเวลา 20 ปี โดยเฉพาะ "เพลงรักโดนใจ" เพลงแต่ละเพลงมี ภาษามีถ้อยคำ ที่ทำให้คนฟัง ขอบใจ
ทำให้เพลงได้รับความนิยม และทำให้นักร้องดังทั่วประเทศกันหลายคนคือ นิติพงษ์ ห่อนาค
อ่านต่อ ตอนต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น