อ่านบทความเกี่ยวกับ ครูสลา คุณวุฒิ ที่นี้ อ้างอิง หนังสือ เพลงชีวิตศิลปินบ้านป่า สลา คุณวุฒิ ของสำนักพิมพ์มิ่งมิตร เขียนโดย ชูเกียรติ ฉาไธสง , คมทัพแสง บรรณาธิการ แคน สาลิกา
ขวัญใจคนยาก และยาใจคนจน
-นั่นเป็นเวลาที่สายฝนพรำจนทั้งเมือง พร่ามัวไปด้วยหยาดน้ำละอองบางๆ ของมันโชยแผ่วตามแรงลมเป็นริ้วคลื่นไปทั้งท้องฟ้า รถปิกอัพคันนั้นแล่นบนถนนอย่างระมัดระวัง แล้วจึงไปจอดนิ่งหน้าร้านขายเทปใหญ่กลางเมืองแห่งหนึ่ง คนขับเหลือบมองนาฬิกาบนข้อมือแล้วก็ถอนหายใจยาว วันนั้นเขาตั้งใจมาซื้อเทปลูกทุ่งม้วนใหม่ๆ ไปศึกษาเพลงคนอื่นบ้าง แต่เมื่อมองสายฝนเขาก็เลือกที่จะนั่งคอยสบายๆในรถมากกว่า ชายหนุ่มคิดถึงงานแต่งเพลงที่กำหนดส่งในเร็ววันนี้แล้วก็นึกหนักใจ เพราะมันยังไม่สมบูรณ์อย่างที่ใจต้องการเลย เยื้องไปหน่อยมีผู้ชายอีกคนแต่งตัวเรียบๆ นั่งอยู่บนรถมอเตอร์ไซค์ท่าทางเหมือนคอยใครอยู่ สักครู่ก็มีผู้หญิงหน้าตาดี ถือของพะรุงพะรังออกมาจากห้างสรรพสินค้าใกล้ๆกันนั้น ชายหนุ่มรีบเข้าไปช่วยถือของอย่างกกุลีกุจอทั้งคู่ยืนปรึกษากันพรางแหงนมองฟ้าเป็นระยะแล้วก็ตัดสินใจขึ้นมอเตอร์ไซค์คันนั้น ฝ่าสายฝนพรำออกไป กิกริยาของทั้งคู่บอกให้รู้ว่าเป็นคู่รักกันแน่ๆ และมีฐานะไม่ค่อยดีนัก ภาพนั้นมีเสน่ห์บางอย่างทำให้สลาฉุกคิดอะไรขึ้นมาได้ ร่างคู่รักทั้งสองหายลับไปจากสายตาแล้ว หากแต่ความประทับใจบางอย่างกลับยังอ้อยอิ่งในความรู้สึกของเขา มันแรงและหนักขึ้นทุกที จนครูหนุ่มรีบๆหาปากกาพร้อมกระดาษมาร่างเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านไปสดๆร้อนๆทันที “เป็นแฟนคนจนต้องทนหน่อยน้อง” ประโยคแรกหลุดออกมาอย่างรวดเร็ว และประโยคต่อมาก็ติดตามอย่างต่อเนื่องเหมือนสายน้ำไหลหนุนเนื่องตามกันโดยไม่ขาดสาย เพราะภาพที่กระทบใจจนสัญชาตญาณมืออาชีพทำให้อดใจไม่ได้ เป็นเพลงที่สลาพอใจเพลงหนึ่ง และตั้งใจเอาไปให้นักร้องหนุ่มนาม “ไมค์ ภิรมย์พร” ในสังกัดแกรมมี่โกลด์ร้อง แล้วคลื่นชีวิตครูหนุ่มจากบ้านนาหม้อม้า ถูกซัดสาดมาไกลถึงประตูบริษัทเทปยักษ์ใหญ่นี้ได้อย่างไร ความจริงหลังจากที่เวียนว่ายอยู่ใน ยุทธจักรนักแต่งเพลงลูกทุ่งระยะหนึ่งเพลงของสลาก็เริ่มเป็นที่ต้องการของค่ายเพลงต่างๆมากยิ่งข้น แต่เขาตั้งข้อแม้ว่าทุกบริษัทที่ติดต่อมา ขอให้มีเพียงสัญญาทางใจกันเท่านั้น เพราะตัวเองยังไม่อยากมีพันธะผกมัดกับใคร ว่าไปแล้วตอนนั้นรายได้ส่วนใหญ่มาจากการเขียนเพลงลูกทุ่งและหมอลำเป็นหลัก การใช้ชีวิตต่างจังหวัด ก็ทำให้ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายมากมายนัก ถึงขนาดว่าเงินเดือนครูทั้งหมดหลังจากหักลบกลบหนี้ต่างๆแล้ว(เขายืนยันว่าครูส่วนใหญ่เป็นหนี้ทั้งนั้น เช่น หนี้ออมทรัพย์ หรือสหกรณ์)เขาจะนำเงินส่วนที่เหลือทั้งหมดบริจาคเข้าโรงเรียน เพราะตามเกณฑ์แล้วโรงเรียนเล็กๆในชนบทมักได้งบประมาณค่อนข้างน้อย เขาทำอย่างนี้มานาน โดยไม่เคยรายงานไปทางอำเภอเพื่อเอาหน้าเอาตาเลย เพราะถือเป็นหน้าที่ของครูที่ต้องรับผิดชอบอยู่แล้ว “ผมค่อนข้างดวงดีนะ…ส่วนหนึ่งคงมาจากการาที่เราเป็นคนนุ่มนวลเวลาเดือดร้อนหากไปเอ่ยปากกับใครเขาก็ดูแล… ถึงบอกผมว่าเป็นหนี้บุญคุณผู้หลักผู้ใหญ่เกือบทุกค่ายเพลง ผมเจอบริษัทเทปจริงๆ แล้วกลับดีกว่าที่เราคาดหวัง… เคยได้ยินเหมือนกันที่เพื่อนๆเจอปัญหาอะไรต่างๆ แต่งตัวผมกลับไม่เป็นไร… อาจเป็นเพราะเราเป็นครูหรือเปล่าก็ไม่รู้ แต่จะได้รับเกียรติจากนายห้างค่ายต่างๆค่อนข้างดี” ตลาดเพลงลูกทุ่งพุ่งแรงขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นตัวเลือกอันหนึ่งของค่ายเทปนอกจากเพลงแนวอื่นๆทั่วไป ตามปกติค่ายเทปต่างๆ จะมีเพลงตระกูลนี้เอาไว้เป็นตัวเลือกของคนฟังอยู่แล้ว แต่ในยุคที่ยิ่งยง ยอดบัวงาม เอาเรื่องราวชีวิต “สมศรี” มาร้องจนโด่งดังไปทั่วประเทศ ทำให้ค่ายเพลงต่างๆหันมาใส่ใจเพลงตระกูลนี้มากยิ่งขึ้นกว่าเมื่อก่อน แกรมมี่ก็เป็นบริษัทหนึ่งที่บุกเบิกตลาดเพลงลูกทุ่งมานาน ตั้งแต่ยุคก๊อต-จักรพรรณ์ อาบครบุรี มากระทั่งถึงปัจจุบัน ที่รวบรวมศิลปินใหญ่น้อยไว้มากมายไม่แพ้ค่ายอื่น โดยแยกส่วนลูกทุ่งและหมอลำไว้ที่บริษัทแกรมมี่โกลด์ ซึ่งมี กิตติศักดิ์ ช่วงอรุณ เป็นผู้ดูแลอยู่ สลาเข้ามาสู่ชายคาบริษัทแกรมมี่จากการชักนำของเพื่อนรัก วิทยา กีฬา เจ้าเก่า โดยถูกมอบหมายให้เขียนเพลงป้อนนักร้องรุ่นใหม่ที่ยังไม่มีชื่อเสียงนักนาม “ไมค์ ภิรมย์พร” ตอนนั้นไมค์ ภิรมย์พรกำลังออกเทปแนวลูกทุ่งผสมหมอลำของตัวเองในชุดที่ 2 ซึ่งสลาก็มีโอกาสเขียนเพลง น้ำตาหล่นบนโต๊ะจีน ให้ 1 กลอนลำเท่านั้น จนมาถึงชุดที่ 3 ของไมค์ ซึ่งเป็นหมอลำล้วนๆ ชื่อ “ไมค์ลำโสด” สลาจึงมีโอกาสแสดงฝีมือถึง 9 เพลง(อีก 1 เพลงเป็นของครูพงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา)แต่ชุดนี้ก็ยังเจาะตลาดไม่ได้ มาถึงชุด 4 ในชื่อ “หัวใจลอยตัว” ซึ่งเป็นหมอลำล้วนๆก็ยังเงียบอีกจนกระทั่งชุดที่ 5 ทางทีมงานจึงวางแผนที่จะเปลี่ยนแนวเป็นลูกทุ่งล้วนๆบ้างและมอบให้สลาเป็นหนึ่งในผู้วางแนวเพลงในชุดนี้ ครูหนุ่มเดินทางกลับอุบลฯ พร้อมกับความคิดที่หมกมุ่นเพียงเรื่องนี้อย่างเดียว จนในที่สุดท่ามกลางวันเหงาๆที่มีสายฝนพรำหน้าร้านขายเทปและภาพเคียงคู่ของหนุ่มสาวแปลกกหน้านั้น บทเพลงขวัญใจคนยากก็เกิดขึ้นมาเงียบๆ “ขวัญใจคนยาก” ของสลาถูกเปลี่ยนชื่อเพื่อความเหมาะสมจาก อ๊อด อมตะ ซึ่งเป็นโปรดิวเซอร์ในชุดนี้ กลายเป็น ยาใจคนจน แทนในเวลาต่อมา ♫ ♫ ♫ แล้ววันนั้นของสลาก็มาถึง เมื่อแฟนเพลงให้การต้อนรับอัลบั้ม “ยาใจคนจน” อย่างท่วมท้น ทุกค่ายเพลงจับจ้องมาที่ตัวเขา เหมือนยุคหนึ่งที่นายห้างแผ่นเสียงจะมุ่งหน้าไปหาไพบูลย์ บุตรขัน หรือยุคหลังอย่างครูชลธี ธารทอง หรือครูลพ บุรีรัตน์ สลาอาจเป็นนักแต่งเพลงลูกทุ่งที่แตกต่างจากครูเพลงหลายคน ที่ส่วนใหญ่เติบโตมาจากวงลูกทุ่งโดยตรง แต่เขามาจากวงการข้าราชการครูประถมศึกษา และหลังจากวนเวียนสอนหนังสืออยู่ในละแวกนั้นหลายโรงเรียน ปี 2540 เข้าจึงย้ายมาเป็นครูใหญ่โรงเรียนบ้านดอนชี อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ปรากฏการณ์ยุคทองของเพลงลูกท่งในทศวรรษใหม่ เกิดขึ้นเพียงไม่กี่ครั้ง ทว่าแต่ละครั้งก็สร้างความสั่นสะเทือนวงการเพลงในวงกว้างจนน่าตกใจเสมอ โดยเฉพาะผลงานด้านธุรกิจที่นักร้องลูกทุ่งขายเทปได้เกินล้านม้วนติดๆ กันหลายต่อหลายคน จนกลายเป็นตลาดสำคัญที่ค่ายเพลงต่างๆต้องหันมาเอาใจใส่มากขึ้น แทนที่จะมองข้ามแบบในอดีต คนฟังเพลงลูกทุ่งปัจจุบันมีทุกประเภท ทุกระดับ ตั้งแต่รัฐมนตรียันชาวไร่ชาวนา… ท่อนฮุคของเพลงลูกทุ่งดีๆ มักติดปากคนฟังได้เร็วกว่าเพลงประเภทอื่น เพราะโดยนัยบางอย่าง เพลงลูกทุ่งมีกลิ่นอายซึ่งแสดงจิตวิญญาณแบบไทยๆ ค่อนข้างชัดเจนกว่าบทเพลงในแนวอื่น “ ยาใจคนจน” แม้จะเกิดในยุคเศรษฐกิจซบเซา แต่ก็โด่งดังไปทั่วประเทศและทำยอดขายวิ่งผ่านหลักล้านม้วนไปได้แบบสบายๆและอัลบั้มชุดนี้สลาฝากฝีมือเขียนไว้ถึง 6 เพลงรวดซึ่งนับว่าไมใช่ธรรมดาเลย หากจะวัดเอกลักษณ์ในงานเพลงสลา เขาคือตัวเชื่อมของยุคสมัยที่กลมกลืนและลงตัว จนสามารถสร้างรูปแบบเพลงลูกทุ่งในอีกบุคลิกหนึ่งขึ้นมาได้ ในขณะที่รากฐานส่วนหนึ่ง สลารับมาจากครูเพลงอาวุโสอย่างครูไพบูลย์ บุตรขัน และครูพงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา อย่างเต็มๆ ตั้งแต่แรกเริ่ม แต่ทว่าในอีกด้านหนึ่ง เขาก็หลอมรวมเพลงพื้นบ้านอีสาน และหมอลำร่วมสมัยจนกลายเป็นเส้นทางแยกสายใหม่ ตัดจากเส้นทางหลักที่มีคนถางไว้ก่อนแล้ว กระทั้งแนวเพลงเพื่อชีวิต หรือเพลงวัยรุ่นสตริงยุคใหม่ ก็เป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจของครูหนุ่มคนนี้ และยังได้นำกลิ่นอายตรงนั้นมาใส่ในผลงานตัวเองเสมอ แต่เขาจะยึดหลักว่าไม่เน้นส่วนนี้จนกลบส่วนอื่น ซึ่งก็คือพยายามให้องค์รวมของเพลงยังคงความเป็นลูกทุ่งอยู่เช่นนั้น การเดินทางเข้าสู่ถนนนักแต่งเพลงอาชีพในเมืองหลวง มีข้อดีที่เห็นชัดคือ ทำให้สลารู้จักทศนิยมการฟังเพลงของคนในเมือง ว่าต้องการบริโภคงานในลักษณะใด เขาหลอมเพลงเพื่อชีวิตที่ได้รับอิทธิพลจากหงา คาราวาน และแอ๊ด คาราบาว (สมัยทำวงเทียนก้อม) เข้ากับเพลงวัยรุ่นแนวไม่ซึ่งได้รับอิทธิพลจากกริช ทอมมัส หนึ่งในแกนหลักของแกรมมี่โกลด์ (คนนี้มีส่งผลอย่างมากต่อโลกทัศน์การเขียนเพลงของสลาในระยะหลัง) จนกลายเป็นสไตล์ใหม่ของตัวเองในที่สุด ตัวอย่างที่เห็นชัดในงานของสลา คือเพลง ยาใจคนจน ที่เกิดจากส่วนผสมของวัฒนธรรมเพลงเหล่านี้ค่อนข้างเด่นชัดโดยเฉพาะช่วงท่อนแยก… อาทิ “ลำบากยากเข็ญ เช้าเย็นขอให้เห็นหน้า หากมีปัญหา น้องอย่าตัดสายสัมพันธ์ อยู่เป็นแรงใจ เติมไฟให้กันและกัน เพียงเรามีเราเท่านั้น สร้างฝันให้สมดั่งใฝ่” มาลองวิเคราะห์เพลงนี้ให้ลึกๆ คำต้นๆ ตั้งแต่ ลำบากยากเข็ญ มาจนถึง “น้องอย่าตัดสายสัมพันธ์” จะยังได้กลิ่นของเพลงลูกทุ่งแนวเก่าชัดเจน แต่พอมาถึงท่อน “อยู่เป็นแรงใจ เติมไฟให้กันและกัน เพียงเรามีเราเท่านั้น สร้างฝันให้สมดั่งใฝ่” คนฟังจะเห็นภาพเพลงเพื่อชีวิตรวมกับเพลงแนวสตริงยุคใหม่ขึ้นมาทันที ซึ่งหากไปย้อนศึกษาดูเนื้อเพลงแบบนี้จะไม่ค่อยปรากฏในสารบทเพลงลกทุ่งยุคเก่ามาก่อน ครูพงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา นักแต่งเพลงเลื่องชื่อ ผู้สร้างสรรค์งานเพลงอมตะลูกทุ่งไว้มากมายโดยเฉพาะแนวลูกทุ่งอีสาน จนได้สมญานามว่า “ไพบูลย์ บุตรขันแห่งที่ราบสูง” ได้พูดถึงแนวเพลงแบบสลาไว้น่าสนใจ “ เพลงของสลา มันจะมีความแน่นในเนื้อหาสาระ และก็ความคมคาย คือเพลงของเขามันจะไม่หลวม มันจะแน่นทั้งสี่ท่อน และก็ไม่ใช่แน่นแบบยัดเยียดมันจะมีความสละสลวยความงดงามในนั้น ในเนื้อหาสาระ ฟังแล้วได้ทั้งด้านภาษา ได้ทั้งความไพเราะของบทเพลง หรือได้ทั้งความประทับใจ นี้คือลักษณะเด่นของงานเขา” “หรือการพูดถึงความรัก ก็ทำให้มันเป็นเรื่องเป็นราวขึ้น ว่ามีการทำมาหากิน มีชีวิตจริงๆเข้าไปด้วย คืออันนี้มันเป็นการเอาเรื่องชีวิตจริงให้มาเป็นเรื่องที่น่าฟังและก็ค่อนข้างโรแมนติก ค่อนข้างประทับใจ กินใจ นี้เป็นศิลปะที่อาจารย์สลาทำได้ดี อย่างเพลงงยาใจคนจนฟังดูแล้วเหมือนอ่านเรื่องสั้นที่ดีๆเรื่องหนึ่ง” เราจึงพบว่าบทเพลงลูกทุ่งในช่วงต้นทศวรรษใหม่ มีหลายต่อหลายเพลงที่ยึดแนวเพลงแบบ “ยาใจคนจน” หรือที่พูดกันในวงการเพลงลูกทุ่งว่าเป็นเพลงแบบสลา
เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 8.2 ตั้งเกณฑ์สูง อย่าตั้งความหวังสูง

เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 8.1 ตั้งเกณฑ์สูง อย่าตั้งความหวังสูง

- จากที่ได้พบเจอบรรยากาศวิพากษ์วิจารณ์อันหนักหน่วงของกลุ่มลำน้ำมูล ทำให้สลาเกิดอาการฝ่อจนแทบหยุดงานเขียน ไปพักหนึ่งความรู้สึกนี้ติดมาขนาดที่ตั้งใจว่าต่อแต่นี้จะขอคบหาเพียงเพื่อนกลุ่มครูด้วยกันดีกว่า ดีกว่า เพราะภาพของนักเขียน เลือดลมร้อนแรงดูน่ากลัว ไม่น้อยสำหรับคนประนีประนอมและคนเรียบร้อยอย่างเขา - สลาลองหาซื้อหนังสือแปลจากต่างประเทศที่เพื่อนๆ ในกลุ่มลำน้ำมูลชอบยกมาอ้างเวลาปริยายกัน อาทิ เฮอร์มาน์ เฮสเส, เออร์เน็ต เฮมมิงเวย์,จอห์น สไตน์เบค หรือกระทั่งใครต่อใครอีกหลายคน แต่ผลงานของนักเขียนเลื่องชื่อเหล่านี้ก็มิได้เป็นที่ ชื่นชอบของเขาเลยสักเท่าไดเลย แม้จะยอมรับว่าเป็นผลงานอันยอดเยี่ยมเท่านั้น - กว่าเขาจะอ่านจบแต่ละเล่มต้องใช้เวลาราวกับการทำงานหนักต่างจากผลงานประเภทไผ่แดง ของ คึกฤทธิ์ ปราโมทย์, คำพิพากษาของ กอบจิตติ หรือ มือที่เปื้อนชอล์ก ของนิมิต ภูมิถาวร ที่จับจิตจับใจมากกว่าอ่านได้ซ้ำแล้วซ้ำอีกโดยไม่มีเบื่อ - ครูหนุ่มหมกมุ่นเพียงคิดว่าตัวเองห่างจากเพื่อนกลุ่มนั้นพอสมควร เห็นทีจะต้องก้มหน้าก้มตาขีดเขียนไปตามทางที่ตังเอง ชอบอย่างโดดเดี่ยวเป็นแน่ -แต่ชีวิตเป็นเรื่องแปลก ในบ้างครั้งคลื่นลมชะตากรรมได้พัดพาให้ตัวตนของเราหันไปสู่ด้านมืดที่อับเฉาโรยรา และในบางขณะ เช่นกันสายลมชนิดนี้กลับช่วยพัดให้หัวใจอ่อนล้าได้พานพบแสงสว่างที่นำพาพลังบางอย่างมาสู่ชีวิต -คลื่นลมด้านนี้ช่วยก่อให้เกิดมิติแห่งความสงบ เป็นความสงบที่สื่อผ่านให้หัวใจคนหนุ่มบางคนได้เริ่มคิดทบทวนและค้นหาทางเดิน ของตังเองอย่างใคร่ครวญมากขึ้น เพื่อจะไปพบถนนชีวิตที่ทอดยาวในวันข้างหน้า -เส้นทางเหล่านี้เต็มไปด้วยซอกมุมและทางโค้งที่ทั้งอันตรายและงดงามบรรจุไปด้วยทั้งรอยยิ้มและหยาดน้ำตา ซึ่งต้องอาศัยพลังใจ และความมุ่งมั่นเท่านั้นจึงจะประสบความปลอดภัยในการเดินทาง - สลาเริ่มคิดค้นหาทางของตัวเองอีกครั้งโดยทบทวนจากผลงานที่ผ่านมาว่ามีจุกบกพร่องหรือจุดเด่นอย่างไรบ้างเพื่อนำมาแก้ไขปรับปรุง และสรุปได้ว่าการแต่งเพลงเป็นศิลปะที่แสดงศักยภาพของเขาได้ดีที่สุด ส่วนวรรณกรรมน่าจะเป็นเรื่องรองๆลงไป
อ่านต่อตอนต่อไป
IT วิธีดึงเสียงจากคลิปของ youtube.com


เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 7.3 จดหมาย(ไม่)ผิดซอง
อ้างอิง: หนังสือเพลงชีวิต “ศิลปินครูบ้านป่า สลา คุณวุฒิ” สำนักพิมพ์มิ่งมิตร เขียนโดย ชูเกียรติ ฉาไธสง , คมทัพแสง บรรณาธิการ แคน สาลิกา เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 7.3 จดหมาย(ไม่)ผิดซอง โดย: แคน สาลิกา : มีนาคม 2545

เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 7.2 จดหมาย(ไม่)ผิดซอง

9 ขั้นตอนการเขียนเพลงของ ครูสลา คุณวุฒิ
แนวทางการสร้างเพลง ครูสลา (ตอนที่ 5 )ใช้ภาษาอย่างไรให้โดนใจ
แนวทางการสร้างเพลง ครูสลา (ตอนที่ 4 ) การตั้งชื่อเพลง

เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 7.1 จดหมาย(ไม่)ผิดซอง

เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 6.2 “เทียนก้อม” เทียนแห่งการเริ่มต้น

AVG Anti-Virus Free Edition 8.5

ไมโครซอฟท์ยืนยัน Windows 7 Release Candidate ออกวันที่ 30 เมษายน

วิธี Activate Windows 7

สรุป Windows 7 ของเล่นใหม่เพียบ มีทั้งดีและไม่ดี แต่ยังไงก็คงต้องปรับปรุงอีก แต่ถามว่าผิดหวังไหม ไม่น่าผิดหวังเท่ากับ Beta Vista ตอนนั้นอยากจะเผาทิ้ง เพราะทั้งช้าและไม่เถียร แต่สำหรับ Windows 7 7000 นี้ ใช้ได้ ไม่เหมือน Vista ช่วงแรกๆ เริ่ม Activate Windows 7 ทำตามขั้นตอนของรูปภาพด้านล้างเลยครับ






การ Activate ผ่านทางโทรศัพท์ 1 ใส่ Key ที่ได้รับจาก Microsoft 25 หลัก เพื่อ Activate กด next 2 เลือกการ Activate ที่ไม่ใช่แบบ Activate Online 3 เลือกประเทศไทย 4โทรไปที่เบอร์ 00180024681668 (อันนี้เบอร์ของไมโครซอฟประเทศไทยคับ..โทรฟรีครับ..จ ากมือถือก็ได้) 5ฟังระบบอัติโนมัติ (กด 4) 6มีพนักงานรับสาย 7แจ้งเลข Activate by Phone ทั้ง 54 ตัว รอๆๆๆ…แป๊บ…กรอกตัวเลข Activate ที่ได้รับแจ้งจากพนักงาน เรียบร้อย
เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 6.1 “เทียนก้อม” เทียนแห่งการเริ่มต้น

แนะนำอัลบั้มใหม่ : เอิร์น เดอะสตาร์ ชุดที่2 อย่างมองข้ามความเสียใจ

แนะนำอัลบั้มใหม่ พี สะเดิด ชุดที่ 5ปลาร้าขาร็อก

แนะนำอัลบั้มใหม่ : รวมดาวทุกคู่ แด่ครูสลา

เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 5 ความหวังในความเงียบ

-อ้างอิง : หนังสือเพลงชีวิต “ศิลปินครูบ้านป่า สลา คุณวุฒิ” -สำนักพิมพ์มิ่งมิตร - เขียนโดย ชูเกียรติ ฉาไธสง , คมทัพแสง -บรรณาธิการ แคน สาลิกา -เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 5 ความหวังในความเงียบ โดย แคน สาลิกา : มีนาคม 2545 - บางขณะของความรู้สึก บทเพลงบางเพลงราวกับเพื่อนสนิทที่เข้าอกเข้าใจดิ่งลึกสู่ความเป็นจริงในชีวิตของผู้ฟัง เป็นสายใยความสัมพันธ์ระหว่างคนกับโลก และเห่กล่อมจากโลกย้อนมาสู่คนอีกครั้ง - บางครั้งกระซิบกระซาบอ่อนโยนราวท้องทะเลในคืนดาวพราย บางครั้งแข็งกร้าวรุนแรงราวทะเลบ้าในคืนมรสุม บรรเลงสอดคล้องเป็นท่วงทำนองแห่งชีวิต - แก่นของเพลงมาจากรากฐานความประทับใจบางสิ่งบางอย่างของผู้แต่งสิ่งนี้ก่อให้เกิดความหวังและพลังใหม่ ๆ ในการสำท้อนความเป็นจริงของชีวิตมนุษย์และยุคสมัยที่ดำรงอยู่ออกมา ส่วนที่ว่าจะทำได้ “ถึง” ขนาดไหนนั้นขึ้นอยู่กับฝีมือของผู้แต่งแต่ละคน - ข่าวที่เพลงของสลาได้ถูกนำไปบันทึกเสียงและขับร้องโดย รุ่งเพชร แหลมสิงห์ ลือกระฉ่อนในย่านหมู่บ้านที่เขาเป็นครูอยู่ ทำให้เกิดความภาคภูใจไม่น้อย เพราะสำหรับชนบทที่นี่ การได้ลงข่าวหนังสือพิมพ์ถือว่าไม่ใช่เรื่องธรรมดาเลย - เพลงของสลาได้บันทึกเทป 2 เพลงโดยได้เป็นเพลงแรกของทั้งหน้าเอ และหน้าบี คือเพลง สาวชาวหอ และเพลง กบร้องให้ และที่สำคัญสาวชาวหอ ยังได้รับเกียรติเป็นชื่ออัลบั้ม ของนักเพลงรุ่นใหญ่คนนั้นด้วย นัยว่าเป็นการกลับมาของรุ่งเพชร แหลมสิงห์ ที่งดงามพอสมควร - ข่าวดียังไม่หยุดอยู่แค่นั้น สาวชาวหอ ยังได้รับการบันทึกเสียงเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ไทยเรื่อง พ่อตาจิ๊กโก๋ ซึ่งกำกับการแสดงโดย ประยูร วงศ์ชื่น ด้วย และมีจดหมายจากกรุงเทพฯ นัดหมายให้เขาเดินทางไปเซ็นมอบลิขสิทธิ์ และรับเงินพร้อมๆ กันไป - ด้วยวิถีชีวิตที่วนเวียนจำเจในเมืองอุบลฯ และอำนาจเจริญตั้งแต่อ้อนแต่ออก ทำให้ครูหนุ่มจากบ้านไร่ขีต้องลงทุนจ้างชาวบ้านคนหนึ่ง ซึ่งเคยไปทำงานในกรุงเทพฯ บ้างแล้วให้เป็นเพื่อนพาไป เราะตัวเขานั้นตั้งแต่เกิดมายังไม่เคยเห็นหน้าตาของเมืองกรุงเทพฯ เลยว่าเป็นยังไง - ค่าจ้างให้ชาวบ้านคนนั้นเดินทางเป็นเพื่อนพอให้อุ่นใจเป็นเงิน 500 บาท ซึ่งมากพอดูในสมัยนั้น ส่วนค่ากิน ค่าอยู่ สลสออกคนเดียวหมด ครั้นนั้นเขาได้รับเงินค่าเพลงเบ็ดเสร็จ 3,000 บาท ซึ่งก็ถือว่าเป็นราคาพอสมควรสำหรับนักแต่งเพลงหน้าใหม่ - ที่สำคัญกว่านั้น เหตุการณ์นี้น่าจะเป็นใบเบิกทางที่ดีในเส้นทางนักแต่งเพลงของเขาด้วย - แต่เรื่องราวในชีวิตคนก็ไม่ได้เป็นไปตามความคาดหวังเสมอไป บางครั้งความสมหวังและความผิดหวัง ต่างผลัดกันเข้ามาเยี่ยมเยือนเราราวผู้ผ่านทางแปลกหน้าที่เต็มไปด้วยความปรวนแปรซับซ้อน สุดที่จะคาดเดาได้ - แต่ถึงที่สุดแล้วในความผิดหวัง ก็มีความงามของมันอยู่ เป็นความงามที่หล่อหลอมเคี่ยวกรำความรู้ให้แกร่งจนหัวใจซอกลึกเปิดเผยรอยยิ้มในความมือมิดของวันเวลาออกมา - นับจากวันนั้นสลาลุยแต่งเพลงใหม่ ๆ เป็นการใหญ่ ด้วยไฟฝันที่คุโชนเขาอัดเพลงตัวเองใส่เทปส่งไปตามค่ายเพลงที่เปิดรับแนวลูกทุ่งแทบทุกแห่งทำประวัติย่อ ๆ ชี้แจงไปด้วยว่า เคยแต่งเพลงให้นักร้องระดับ รุ่งเพชร แหลมสิงห์ ร้องมรแล้วเพราะคิดว่าน่าจะเป็นเครดิตที่ทำให้การพิจารณาซื้อขายง่ายขึ้น - แต่ผลที่ออกมาคือความเงียบ แทบไม่มีค่ายเพลงไหนสนใจงานนักแต่งเพลงหน้าใหม่คนนี้เลย นอกจากเจ้าเก่า รุ่งเพชร แหลมสิงห์ ที่เอาเพลงเขาไปร้องอีก 2-3 เพลงซึ่งก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าไรนัก - ช่วงนี้สลา ผิดหวังและท้อแท้พอสมควร แต่เมื่อย้อนพิจารณาผลงานตัวเองใหม่ เขาก็สรุปได้ว่า เพลงที่แต่งอย่างเป็นบ้าเป็นหลังนั้น คุณภาพยังไม่ถึงขั้นจริงๆ สมควรแล้วที่ไม่ผ่านการพิจารณา - สลาเขียนจดหมายไปหา “ลพ บุรีรัตน์” ครูเพลงที่อยู่ในหัวใจเขาคนหนึ่งเพื่อขอคำและนำในการแต่งเพลง คราวนี้ไม่ผิดหวัง เพราะครูลพตอบกลับมาเป็นใบโรเนียวว่าด้วยเทคนิคการแต่งเพลงและช่องทางที่จะเอาเพลงไปเสนอค่ายเทปเป็นข้อ ๆ โดยละเอียด ซึ่งเป็นประโยชน์ขพอสมควร - ขณะนั้นเกิดวงดนตรีที่มีนักดนตรีข้าราชการครูล้วน ๆ ในชื่อ “คนโคก” ขึ้นมา วงคนโคกนับเป็นวงที่มีชื่อเสียงในภาคอีสานพอสมควรโดยเฉพาะในแวดวงชาวครูด้วยกัน เพราะมีผลงานเป็นอัลบั้มเพลงของตัวเองด้วย - มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ คนโคก มีโอกาสมาแสดงที่หอประชุมใหญ่ของอำเภออำนาจเจริญ ในงานประชุมข้าราชการครู ครั้งนั้นเขาและเพื่อนครูหนุ่มๆ ในโรงเรียนได้ไปรอดูอย่างสนใจ เพราะกระแสความนิยมวงนี้ในหมู่ชาวครูแรงมาก คนโคแสดงในวันนั้นได้น่าประทับใจจนสลาเกิดความคิดแวบเข้ามาว่า เขาและเพื่อนครูที่พอจะมีฝีมือทางดนตรีน่าจะทำวงดนตรีของชาวครูล้วน ๆ ขึ้นมาบ้าง - แต่นั้นก็เป็นเพียงความลึกๆ เท่านั้น -แดดยามบ่ายจัดจ้าจนลานดินบ้านไร่ขีราวกับมีประกายระริกแต้มเป็นจุดๆ เหมือนผิวน้ำต้องประกายแดด หมูเงาเข้มดำใหญ่น้อยต่างพากันหลบเร้น ซุกใต้กิ่งก้านของมวลไม้และกองดินที่พูนสูง เป็นหย่อม ๆ นั้นเป็นสัญญาณของเทศกาลทำบุญใหญ่ที่มักมีคนต่างถิ่นมรทอดผ้าป่าในละแวกชนบทแห่งนี้ทุกปี - คณะกรรมการวัดบ้านนาดี ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กันเข้ามาปรึกษาสลาเรื่องการเตรียมมหรสพไว้ต้อนรับชาวกรุงเทพฯ ที่จะมาทำบุญ เพราะเขามีชื่อพอสมควรในฐานะนักเพลงประจำท้องถิ่น - “ทำยังไงดีครับครู...” เราไม่มีเงินพอจะจ้างหมอลำมาแสดงซะด้วย...ครูพอมีหนทางอะไรช่วยทางวัดเราไหมครับ ไม่งั้นขายหนาคนกรุงเทพฯ แน่เลย”
แนวทางการสร้างเพลง ครูสลา (ตอนที่ 3 )

แนวทางการสร้างเพลง ครูสลา (ตอนที่ 2 )

แนวทางการสร้างเพลง ครูสลา (ตอนที่ 1 )
เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 4 นักแต่งเพลงมือใหม่
อ้างอิง : หนังสือเพลงชีวิต “ศิลปินครูบ้านป่า สลา คุณวุฒิ” สำนักพิมพ์มิ่งมิตร เขียนโดย ชูเกียรติ ฉาไธสง , คมทัพแสง บรรณาธิการ แคน สาลิกา เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 4 นักแต่งเพลงมือใหม่ โดย แคน สาลิกา : มีนาคม 2545 - “เดียวพี่จะรับไว้พิจารณานะ...เก่งนี่ แต่เพลงเองได้” ชายวัยกลางคนผิวคล้ำพูดพลางยิ้มอย่างใจดี “แต่น้องให้พี่ดูเนื้ออย่างเดียวไม่ได้หรอก..ต้องใส่ทำนองให้พี่ด้วย...อืมม์..เอาอย่างงี้ เดี๋ยวพี่จะให้ที่อยู่ไว้แล้วอัดเทปเพลงพวกนี้ส่งไปให้ฟังอีกครั้งดีกว่า” เด็กหนุ่มหน้าซื่อรับคำ ปากคอสั่นด้วยความประหม่าและตื่นเต้นเพราะนี่เป็นครั้งแรกที่ได้พูดกับนักร้องระดับประเทศนาม รุ่งเพชร แหลมสิงห์ - นั่นเป็นงานของชมรมวิทยุอุบลฯ ซึ่งจัดเวทีแสดงดนตรีลูกทุ่งที่ทุ่งศรีเมือง งานนี้เชิญนักร้องชั้นนำมามากมาย อาทิ ชาย เมืองสิงห์ ,คัมภีร์ แสงทอง,รุ่งเพชร แหลมสิงห์ ฯลฯ มีแฟนเพลงเข้ามาดูอย่างล้นหลาม และหนึ่งในผู้คนเรือนพันนั้น มีเด็กหนุ่มจากบ้านนาหมอม้าที่กำกระดาษเนื้อเพลงร่วม 10 เพลง จนเหงื่อซึม รวมอยู่ด้วยคนหนึ่ง - สลา ลุยฝ่าผู้คนไปถึงหลังเวที ชะเง้อมองนักร้องดังซึ่งกำลังนั่งพักอยู่อย่างตื่นเต้น แล้วก็ตัดสินใจเดินเข้าไปหา รุ่งเพชร แหลมสิงห์ ที่เขาชื่นชอบเป็นพิเศษ แม้มีเวลาพูดคุยไม่นานนัก แต่น้ำใจไมตรีที่นักร้องรุ่นใหญ่มีให้ก็ยังอบอวลในความทรงจำจนทุกวันนี้ ตอนนั้นเขาหวังเพียงแค่ได้พูดคุยกับศิลปินคนโปรดก็ถือว่าโชคดีแล้ว แต่นี้ยังได้รับความหวังเป็นกำลังใจแถมมาอีก ทำให้ปลาบปลื้มจนแทบทำอะไรไม่ถูกไปทั้งวัน - หลังจากนั้น สลาอัดเพลงที่แต่งร่วม 10 เพลง ใส่เทปส่งไปให้รุ่งเพชร แหลมสิงห์ ตามที่อยู่ซึ่งให้ไว้ พร้อมกับรอคอยฟังผลด้วยใจระทึก - ดอกจานสีแดงร่วงหล่นจากลำต้นพร้อมเวลาที่สลาใกล้เรียนสำเร็จจาก ว.ค.อุบลฯ พอดี นักศึกษาปีสุดท้ายทุกคนต้องอ่านหนังสือเตรียมสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเป็นครูตามสาขาที่ร่ำเรียนมา ซึ่งนับว่าหนักหนาสาหัสไม่น้อย สลาสอบบรรจุครูได้ที่โรงเรียนบ้านไร่ขี เป็นโรงเรียนชนบทที่เงียบสงบและห่างไกลจากตัวเมืองพอสมควร ครูใหม่หนุ่มโสดคนนี้เป็นที่สนใจของชาวบ้านทั่วไปเพราะบุคลิกประจำตัวที่อ่อนน้อมรวมทั้งอัธยาศัยไมตรีอันดีทำให้ครูสลากลายเป็นที่ชื่นชอบของชาวบ้านไร่ขีไปโดยปริยาย - เริ่มแรกที่ไปสอนนั้น บ้านพักครูในโรงเรียนค่อนข้างแออัดไม่สะดวกนัก สลาต้องอาศัยนอนในโรงเก็บของซึ่งอยู่ติดกับกำแพงวัดก่อน บรรยากาศที่นี่เงียบเชียบ และวังเวง เพียงเปิดหน้าต่างห้องก็จะเห็นที่ฝักศพ และเจดีย์ใน่กระดูกถนัดตา - มันเงียบเหงาจนบางวันเขานั่งน้ำตาซึมอยู่คนเดียว สิ่งที่พอคลายเหงาได้ก็มีเพียงจดหมายของเพื่อน ๆ และหญิงสาวคนรักในเมืองเท่านั้น ช่วงนั้นเขายอมรับว่ามีหญิงสาวที่เรียนจบมารด้วยกันนั่งอยู่ในหัวใจแล้วคนหนึ่งแม้จะเป็นแค่ความผูกพันแบบวัยรุ่นทั่ว ๆ ไปก็ตาม เพิ่งห่างหันก็ช่วงมาเป็นครูนี่เอง - สลานั่งอ่านและเขียนจดหมายทุกวันด้วยความสุข การได้เขียนจดหมายบ่อย ๆ ทำให้ได้คิดค้นถ้อยคำต่างๆ ไปด้วยในตัว ความช่างคิดช่างฝันของครูหนุ่มสื่อผ่านในกระดาษจดหมายแผ่นแล้วแผ่นเล่า ซึ่งถือเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการฝึกคิดความหมายของคำในงานเพลงของเขา - สายลมวันเวลาโชยผ่านลำห้วยบ้านไร่ขี พร้อมความเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่เริ่มก่อตัวขึ้น ความสัมพันธ์ของครูหนุ่มบ้านนอกกับหญิงสาวในเมืองเริ่มเหินห่างตามระยะทางที่ไกลกัน เขาคุ้นชินกับสิ่งแวดล้อมใหม่ในหมู่บ้านแห่งนี้มากขึ้น ครูหนุ่มโสดสำหรับบ้านนอกไกลๆ นับเป็นจุดเด่นไม่น้อยโดยเฉพาะกับสาวๆ ด้วยแล้ว หากเปรียบเทียบกับหนุ่มชาวบ้านธรรมดาก็ยิ่งเห็นข้อแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเจน - ดวงจันเต็มดวงลอยเด่นเหนือท้องฟ้าสีหม่นในคืนลอยกระทงสายลมบางๆ หอบกระซิบความอ่อนหวานมาทักทายพร้อมกับกระทงใบตองขนาดกะทัดรัด ซึ่งสาวคนงามของหมู่บ้านทำมาฝากครูหนุ่ม - ประเพณีลอยกระทงในวัดไร่ขีจะเริ่มตอนหัวค่ำ ชาวบ้านทั้งหมู่บ้านมาทำบุญร่วมกันเสร็จแล้วก็จะตั้งขบวนไปลอยกระทงในลำห้วย ซึ่งไกลออกไปราวหนึ่งกิโลเมตร ครูหนุ่มพาลูกศิษย์ตัวเล็กๆ เดินไปเป็นกลุ่ม มีสาวๆ ชาวบ้านเดินเมียงมองไม่ห่างหันนัก ภาพนั้นงดงามและชัดเจนในความรู้สึกจนไม่มีวันลิมไปได้ - กระทงน้อยของครูหนุ่ม ลอยตามลำห้วยบ้านไร่ขีไปช้า ๆ กลางเงาดวงจันทร์ซึ่งสะท้อนวับวามในแผ่นน้ำ ปลาตัวโตพลิกตัวจนผิวน้ำกระเพื่อมแผ่วงเป็นชั้นๆ ราวไม่มีที่สิ้นสุด ขับคลอด้วยเสียงแคนของนักเพลงพื้นบ้านบางคน ภาพนี้กลายเป็นเรื่องราวของบทเพลง กระทงหลงทาง ที่สร้างชื่อให้เขาในอีกหลายปีต่อมา - บรรยากาศของบ้านไร่ขี เป็นวัตถุดิบสำคัญที่สลานำมาใช้แต่งเพลงได้ตลอดเวลา กระจ่างชัดและนุ่มลึกกว่าช่วงเวลาใด ๆ ที่จะย้อนรำลึกได้ - ยามว่างเขาจะเข้าป่าหากะปอมหรือไม่ก็สอยไข่มดแดงมาทำลาบก้อยกับลูกศิษย์ตัวเล็ก ๆ เมื่อชาวบ้านไปหาปลาในลำห้วย ครูหนุ่มก็จะแบกแหตามไปด้วยอย่างสุขใจ - ล่วงเข้า 5 เดือนเศษๆ ที่มาใช้ชีวิตเป็นครู วันหนึ่ง ขณะนั่งซักผ้าอยู่คนเดียวก็มีเพื่อนครูคนหนึ่งถือหนังสสือพิมพ์ไทยรัฐ วิ่งกระหืดกระหอบเข้ามาหา - “เฮ้ยสลานายชายเพลงได้แล้ว ข่าวไทยรัฐลงว่า รุ่งเพชร แหลมสิงห์ ซื้อเพลงนายไปร้อง และเอาชื่อเพลงเป็นชื่ออัลบั้มด้วย โอ้ยดีใจด้วยนะ ”
แนวทางแต่งเพลงของครูสลา
คุณสมบัติของนักแต่งเพลงที่ดี
เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 3 "อ้อคำ" และ "บวกควาย"

เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 2 อดีตรักทุ่งนาแห้ง

ลมว่าวโชยพัดหอบเศษฟางปลิวคว้างทุกทิศทาง เสียงแคนเสียงซอดังแว่วมาตามลมเหนือแผ่นดินบ้านป่าอย่างอ้อยสร้อย ประสานกับเสียงร้องหมอลำของใครบางคน ราวคำกระซิบบอกข่าวของอาคันตุกะจากแดนไกลอยู่เช่นนี้วันแล้ววันแล้ววันเล่าปลอบประโลมหมู่บ้านแห่งนี้ให้พอคลายเหงาได้บ้าง ว่ากันว่า แหล่งกำเนิดมีอิทธิพลที่ส่งผลต่อทางเดินชีวินคนไม่มากก็น้อยอย่างน้อยก็ในแง่ทัศนะเชิงวัฒนธรรมที่เจนตาเจนใจจนคุ้นชินตั้งแต่เยาว์วัยหล่อหอมเป็นรากฐานที่แน่นหนา สลา คุณวุฒิ ก็เช่นกัน อิทธิพลเพลงพื้นบ้านอีสานที่บ้านนาหมอม้า อำเภอเมือง จัดหวัดอำนาจเจริญ กล่อมเกลาหัวใจมาตั้งแต่เด็กๆโดยมีต้นแบบมาจากแม่บังเกิดเกล้าของเขานั้นเอง ศิลปินต้องเป็นคนช่างคิดช่างฝัน ภาพวัยเยาว์ของสลาถูกเขาเก็บไว้ในซอกมุมหนึ่งของความทรงจำเสมอมา - บางขณะยังได้ดึงออกมาใช้เป็นวัตถุดิบในงานเพลงตัวเองบ่อย ๆ ภาพทุ่งนากว้างเต็มไปด้วยต้นข้าวเหลืองอร่ามกลางแสงตะวัน และท้องฟ้ายามค่ำที่มีดาวแซมระยิบติดตาตรึงใจเขามาตลอด บางครั้งเมื่อทำนาที่บ้านนาหมอม้าไม่ได้ผล พ่อก็จะพาครอบครัวร่อนเร่เข้าไปในหมู่บ้านบึกซึ่งไกลไปอีก ดังนั้น วิถีชีวิตคนบ้านป่าจึงถูกสลาซึงซับไว้จนหมดสิ้น ช่วงนั้นภาพชีวิตของสลาคล้ายดังโทนภาพจิตรกรรมอิมเพรสชั่นนิสม์ซึ่งเน้นความรู้สึกสุขและเศร้า งดงามและอ้างว้าง แต่ก็เต็มไปด้วยบรรยากาศสีสันอันประทับใจ "จารย์แก้ว" ลุงของเขาเป็นศิลปินพื้นบ้าน แต่งเพลงร้องรำได้เองด้วยปฏิภาณกวีอันโดดเด่น เป็นที่เลื่องลือในหมู่บ้านมาช้านานจนแม้ลุกเสียชีวิตไปแล้วแต่บทเพลงที่แต่งก็มิได้สูญหายไปไหน เพราะมีน้องสาวซึ่งก็คือแม่ของสลา นำมาร้องรำให้ฟังอยู่เนืองๆ โดยเฉพาะเพลงกล่อมลูก ซึ่งนับเป็นบทเพลงชีวิตเพลงแรกของเขา ผลงานเพลงของลุกมีมากมาย แต่ที่น่าเสร้าก็คือ สลาไม่มีโอกาสเห็นหน้าลุกคนี้เลย เพราะได้จากโลกนี้ไปตั้งแต่เขายังไม่เกิด เหลือแต่เพียงผลงานไว้แทนตัว วิทยุทรานซิสเตอร์เป็นมหรสพที่ทันสมัยที่สุดสำหรับเด็กชายบ้านป่าผู้เกิดในคืนที่มีหนังกลางเปลงมาฉายที่วัดใกล้บ้าน เป็นหนังญี่ปุ่นเรื่อง"สิงห์สลาตัน" เมื่อ พ.ศ. 2505 จึงเป็นที่มาของชื่อ สลา บุตรชายคนที่ 5 ของครอบครัวพ่อ บุญหลาย - แม่ก้าน คุณวุฒิ วัฒนธรรมเพลงรำวงในหมู่บ้านนาหมอม้า ก็เป็นมหรสพใกล้ตัวอีกอย่างหนึ่ง และบทเพลงในแนวนี้เป็นฝีมือการเขียนของลุกหลายเพลง กระทั่งบัดนี้ก็ยังมีคนนำมาขับร้องอยู่ นอกจากเพลงรำวงแล้ว เพลงพื้นบ้านอย่าง "หมอลำ" ประเภทต่าง ๆ ก็เป็นที่นิยมของสาวบ้านไม่แพ้กัน ลักษณะหมอลำนี้จะแตกต่างกันไป แล้วแต่สำเนียงหรือที่มา และสิ่งนี้เป็นรากฐานวัฒนธรรมที่ประสมเข้าในตัวสลาตอนวัยเยาว์ทั้งสิ้น เสียงซอจากก้านนิ้วนักเพลงตาบอดนาม "ครูบุญมา" เอ็นดั่งดนตรีบรรเลงขับกล่อมบ้านป่า - นาหมอหม้อ ในทุกค่ำคืนครูบุญมาเป็นนักเพลงตาบอดที่จัดระดับความสามารถเป็นศิลปินประจำหมู่บ้านได้คนหนึ่ง ซอของแกทำจากไม่ไผ่ติดกับปี๊ใส่ลูกอม (ฮอลล์)ฝีมือสีซอและด้นกลอนสดนับว่าฉกาจฉกรรจ์ ทั้งเล่นทั้งร้องได้แพรวพราวรอบตัว หนุ่งๆ ในหมู่บ้านมักไปขอให้ครูบุญมาแต่งกลอนสำหรับเกี่ยวสาวให้เสมอ จ.ส.อ. อุทาน คุณวุฒิ พี่ชายของสลาเป็นคนหนึ่งซึ่งชอบเขียนกลอนและมักชวนน้องชายไปดูครูบุญมาสีซอ ด้นกลอนสด แทบทุกวัน ครูบุญมาแม้ตาบอดทั้งสอบข้าง แต่ชีวิตก็มีบางมุมที่น่าอิจฉาเพราะแกมีผู้หยฺงมาหลงไหลมากมาย จนบางคนถึงขนาดยอมเป็นเมียเลยที่เดียว นี้เป็นผลพวงจากเสน่ห์ความเป็นศิลปินของแกโดยแท้ และครูบุญมาคนนี้ก็นับเป็นครูเพลงในยุคเริ่มต้นของเขาได้คนหนึ่ง นอกจากเเพลงพื้นบ้านแล้ว งานลักษณะวรรณกรรมก็มีผลต่อแรงบันดาลใจของสลาไม่น้อย ช่วงเรียนชั้น ป.7 เขามีโอกาสอ่านหนังสือรวมเรื่องสั้น ชุด มือที่เปื้อนชอล์ก ของ นิมิตร ภูมิถาวร ซึ่งหนึ่งในเล่มนั้นมีเรื่อง "เด็กที่ครูไม่ต้องการ" ที่เขาประทับใจเป็นพิเศษอยู่ด้วย หนังสือเล่มนี้เป็นแรงบันดาลใจสำคัญทำให้อยากเป็นนักเขียนแบบ นิมิตร ภูมิถาวร และฝึกฝนการเขียนบทกลอน,เรื่องสั้น และนวนิยายตั้งแต่บัดนั้น แต่เส้นทางสายวรรณกรรมของสลาดูช่างขรุขระสิ้นดี เขาบอกว่าช่วงเรียนระดับมัธยมได้ฝึกเขียนหนังสือค่อนข้างมาก แต่เขียนไม่เคยจบสักครั้ง เรื่มได้แค่ 9-10 บรรทัดก็เริ่มตันแล้ว...ไม่มีทางไป เขาเล่า อย่างไรก็ตาม นิสัยรัการเขียนก็เป็นผลดีที่ทำให้สลาเริ่มเขียนกลอนเป็น และนับเป็นพื้นฐานสำคัญของการเขียนเพลงในเวลาต่อมา หลังจากพี่ชายกับเขาแอบชื่นชมศิลปินบุญมาแต่งกลอนจีบสาวแล้ว ก็คิดว่าพวกเขาน่าจะแต่งกันเองบ้าง จึงเริ่มต้นจากพี่ชายนำเอานำนองเพลงดังมาแปลงเนื้อใหม่ พอแต่งเสร็จก็นำไปร้องในวงโปงลางประจำหมู่บ้าน แต่ผมคิดว่า เอาทำนองเขามาไม่ดีก็เลยอยากแต่งใหม่ แต่งเสร็จก็ร้องอวดเพื่อน ไม่ได้จริงจังอะไร แต่ที่มุ่งมั่นจริงคือการอยากเป็นนักเขียน ดังนั้นในระหว่างการปั่นจักรยานจากบ้านนาหมอม้าไปเรียนหนังสือ ชั้นมัธยมที่โรงเรียนป่าติ้ววิทยา สลาจะร้องเพลงๆ หนึ่งให้เพื่อนฟังอยู่เสมอ มันเป็นเพลงแรกในชีวิตที่เขาแต่งขึ้นมาจากแรงบันดาลใจในวัยเด็ก ที่เคยไล่ตั๊กแตนหรือไต้กบไต้เขียนที่ทุ่งนาแห้งท้ายบ้าน จึงให้ชื่อเพลงนั้นว่า อดีตรักทุ่งนาแห้ง สลายอมรับว่า การเขียนเพลงนี้ได้รับอิทธิพลมาจากเพลง คอยรักใต้ต้นกระโดน ที่ครูพงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา แต่งให้ "ดาว บ้านดอน" บันทึกแผ่นเสียงและครูเพลงเมืองนักปราชญ์คนนี้ก็คือ ต้นแบบในการแต่งเพลงในเวลาต่อมา หลังจบชั้นมัธยม สลาเข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยครูอุบลราชธานี ช่วงนี้เขาได้รับแรงบันดาลใจจากนักเขียนหลาย ๆ คน อาทิ คมทวน คันธนู,คำพูน บุญกวี,ชาติ กอบจิตติ,คำหมาน คนไค ทำให้ฝึกฝนการเขียนต่อไปอย่างหนักโดยไม่ยอมแพ้ ขณะนั้นความฝันในการดำเนินชีวิตของเขามีเพียง 2 อย่างเท่านั้น คือถ้าไม่เป็นครูตามที่เรียนมา ก็ต้องเป็นนักเขียนอาชีพให้ได้ เรื่องจะเป็นนักแต่งเพลงหรือนักร้อง ไม่เคยอยู่ในความคิดเลย