เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 8.2 ตั้งเกณฑ์สูง อย่าตั้งความหวังสูง

อ้างอิง: หนังสือเพลงชีวิต “ศิลปินครูบ้านป่า สลา คุณวุฒิ” สำนักพิมพ์มิ่งมิตร เขียนโดย ชูเกียรติ ฉาไธสง , คมทัพแสง บรรณาธิการ แคน สาลิกา เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 8.2 ตั้งเกณฑ์สูง อย่าตั้งความหวังสูง โดย: แคน สาลิกา : มีนาคม 2545 -เขาไปค้นดูนิตยสาร “ ถนนหนังสือ “ เล่มเก่าๆ ที่มีบทสัมภาษณ์นักเขียนรุ่นใหญ่หลายๆคน ซึ่งมีผลงานเป็นที่ย้อมรับในวงกว้างแล้ว ก็ไปสะดุดกับบทสัมภาษณ์ ชาติ กอบจิตติ นักเขียนคนหนึ่งที่อยู่ในหัวใจและเป็นจ้นแบบของตัวเองมช้านาน -“ ตอนนั้นพี่ชาติบอกว่า ถ้าผมเป็นนักแต่งนิยายคนใหม่ จะตั้งเกรดไว้ที่ เรื่องคำพิพากษาเลย ซึ่งเป็นเกรดสูงมาก คือได้รับรางวัลซีไรท์ เขียนให้ถึงตรงนั้น หรือชนะได้ยิ่งดี” -เขาตั้งข้อคิดนี้เป็นหลักแต่นำมาปรับใช้ในงานเขียนเพลง โดดตั้งข้อระบบความคิดคงไปได้ไม่ถึงไหน เพราะอาจไม่มีใครแนะนำใครได้ มากกว่ากัน -แต่หากศึกษาเทคนิค และวิธีของครูเพลงรุ่นก่อนๆ อย่างจริงจังน่าจะเป็นประโยชน์ในอนาคตมากกว่า -ครูหนุ่มจากบ้านหมอม้า นั่งนอนทบทวนโดยละเอียดแล้วก็พุ่งเป้าหมายไปที่ครูเพลงลูกทุ่งยิ่งใหญ่ที่สุดของเมืองไทย ไพบูลย์ บุตรขัน ด้วยถือว่าเป็นมวยใหญ่สุดแล้ว -ผลงานของบรมครูผู้นี้อบอวลในความรู้สึกขอสลามาตั้งแต่เยาว์วัยก็ว่าได้ บทเพลงเหล่านั้นบันทึกแน่นในคลังสมองโดยไม่หายไปไหน เพียงแต่ที่ผ่านๆมาเขาฟังเพื่อความไพเราะเพียงอย่างเดียว ไม่ได้นำมาวิเคราะห์ดูอย่างจริงจัง -สลาไปหาหนังสือเพลงของครูไพบูลย์มาอ่านในลักษณะ “ผ่า” โดยละเอียดศึกษาประเด็นว่าผลงานเหล่านั้นประสบความสำเร็จเพราะอะไร ใช้ภาษาแบบไหนหรือแม้กระทั้งเสน่ห์ของเพลงอยู่ตรงไหน -ในขณะที่ศึกษาเปรียบเทียบ สลาก็ฝึกการเขียนเพลงไปด้วย ด้านเทคนิคเพลงเขาพอเข้าใจแล้วว่าควรทำย่างไร แต่ด้านทักษะฝีมือยอมรับตรงๆว่ายังทำไม่ได้อย่างที่ตั้งใจไว้ -เขาสรุปตัวเองในช่วงนั้นว่า เพราะทักษะด้านภาษารวมถึงโลกทัศน์ของเขายังไม่สุกงอม แต่อย่างน้อยก็ทำให้รู้จักแนวทางของครูไพบูลย์ โดยละเอียด และก็อาศัยยุคนี้ฝึกฝนฝีมือมาเรื่อยๆ -“มันเป็นประเด็นให้เก็บไปคิดว่า ถ้าผมแต่งเพลง ตอนแรกแต่งตามใจของผม อยากแต่งก็แต่งไป พอผมได้อ่าน ก็ไปศึกษางาน ของครูไพบูลย์ บุตรขัน ของครูอะไรเป็นเกณฑ์ที่สูงเลย พอแต่งเพลงเสร็จก็ไปประกบกันดูตามความรู้สึกของตัวเอง มันใกล้เคียงกับ ครูบาอาจารย์หรือยัง หรือพอไปวัดไปวาได้หรือยังทำให้มีความมุมานะในการสร้างสรรค์งานแต่อย่าตั้งความหวังสูง” -“อย่างที่ผมทำมาตั้งแต่ปี 2524 จนกว่าจะประสบความสำเร็จ นานนับสิบปีทีเดียว.. ถามว่าผมเหนื่อยไหม ผมไม่เหนื่อย เพราะผมไม่เคย หวังเลยผมเขียนแล้วผมได้ร้อง พอเพื่อนได้มาฟังผมก็ดีใจ พอได้บันทึกเสียงผมก็ดีใจ..ตั้งเกณฑ์สูง แต่อย่าตั้งความหวังสูง พูดตรงนี้เผื่อว่า หลายๆคนอยากเป็นนักเขียน พอจับปากกาเขียนก็คิดถึงเงิน ถ้าได้ลงตอนนี้ 3,000 บาท บวกลบคูณหารในสมองก็เลยกดดัน ใครหนอเป็น บ.ก.เขียนดีแล้วยังไม่ผ่านแล้วทำให้นิสัยเสีย ไปด่า ไปต่อว่าคนอื่นแล้วทำให้เราท้อ คือทำไปเรื่อยๆมีความสุขกับการได้สร้างสรรค์” -ทั้งหมดนี้มาจากข้อคิดของชาติ กอบจิตติ โดยแท้ อ่านต่อตอนต่อไปครับ

เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 8.1 ตั้งเกณฑ์สูง อย่าตั้งความหวังสูง

อ้างอิง: หนังสือเพลงชีวิต “ศิลปินครูบ้านป่า สลา คุณวุฒิ”
สำนักพิมพ์มิ่งมิตร เขียนโดย ชูเกียรติ ฉาไธสง , คมทัพแสง
บรรณาธิการ แคน สาลิกา
เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 8.1 ตั้งเกณฑ์สูง อย่าตั้งความหวังสูง
โดย: แคน สาลิกา : มีนาคม 2545

- จากที่ได้พบเจอบรรยากาศวิพากษ์วิจารณ์อันหนักหน่วงของกลุ่มลำน้ำมูล ทำให้สลาเกิดอาการฝ่อจนแทบหยุดงานเขียน ไปพักหนึ่งความรู้สึกนี้ติดมาขนาดที่ตั้งใจว่าต่อแต่นี้จะขอคบหาเพียงเพื่อนกลุ่มครูด้วยกันดีกว่า ดีกว่า เพราะภาพของนักเขียน เลือดลมร้อนแรงดูน่ากลัว ไม่น้อยสำหรับคนประนีประนอมและคนเรียบร้อยอย่างเขา - สลาลองหาซื้อหนังสือแปลจากต่างประเทศที่เพื่อนๆ ในกลุ่มลำน้ำมูลชอบยกมาอ้างเวลาปริยายกัน อาทิ เฮอร์มาน์ เฮสเส, เออร์เน็ต เฮมมิงเวย์,จอห์น สไตน์เบค หรือกระทั่งใครต่อใครอีกหลายคน แต่ผลงานของนักเขียนเลื่องชื่อเหล่านี้ก็มิได้เป็นที่ ชื่นชอบของเขาเลยสักเท่าไดเลย แม้จะยอมรับว่าเป็นผลงานอันยอดเยี่ยมเท่านั้น - กว่าเขาจะอ่านจบแต่ละเล่มต้องใช้เวลาราวกับการทำงานหนักต่างจากผลงานประเภทไผ่แดง ของ คึกฤทธิ์ ปราโมทย์, คำพิพากษาของ กอบจิตติ หรือ มือที่เปื้อนชอล์ก ของนิมิต ภูมิถาวร ที่จับจิตจับใจมากกว่าอ่านได้ซ้ำแล้วซ้ำอีกโดยไม่มีเบื่อ - ครูหนุ่มหมกมุ่นเพียงคิดว่าตัวเองห่างจากเพื่อนกลุ่มนั้นพอสมควร เห็นทีจะต้องก้มหน้าก้มตาขีดเขียนไปตามทางที่ตังเอง ชอบอย่างโดดเดี่ยวเป็นแน่ -แต่ชีวิตเป็นเรื่องแปลก ในบ้างครั้งคลื่นลมชะตากรรมได้พัดพาให้ตัวตนของเราหันไปสู่ด้านมืดที่อับเฉาโรยรา และในบางขณะ เช่นกันสายลมชนิดนี้กลับช่วยพัดให้หัวใจอ่อนล้าได้พานพบแสงสว่างที่นำพาพลังบางอย่างมาสู่ชีวิต -คลื่นลมด้านนี้ช่วยก่อให้เกิดมิติแห่งความสงบ เป็นความสงบที่สื่อผ่านให้หัวใจคนหนุ่มบางคนได้เริ่มคิดทบทวนและค้นหาทางเดิน ของตังเองอย่างใคร่ครวญมากขึ้น เพื่อจะไปพบถนนชีวิตที่ทอดยาวในวันข้างหน้า -เส้นทางเหล่านี้เต็มไปด้วยซอกมุมและทางโค้งที่ทั้งอันตรายและงดงามบรรจุไปด้วยทั้งรอยยิ้มและหยาดน้ำตา ซึ่งต้องอาศัยพลังใจ และความมุ่งมั่นเท่านั้นจึงจะประสบความปลอดภัยในการเดินทาง - สลาเริ่มคิดค้นหาทางของตัวเองอีกครั้งโดยทบทวนจากผลงานที่ผ่านมาว่ามีจุกบกพร่องหรือจุดเด่นอย่างไรบ้างเพื่อนำมาแก้ไขปรับปรุง และสรุปได้ว่าการแต่งเพลงเป็นศิลปะที่แสดงศักยภาพของเขาได้ดีที่สุด ส่วนวรรณกรรมน่าจะเป็นเรื่องรองๆลงไป

อ่านต่อตอนต่อไป

IT วิธีดึงเสียงจากคลิปของ youtube.com

IT วิธีดึงเสียงจากคลิปของ youtube.com
1.เข้าเว็บ www.youtube.com ถ้าได้คลิปที่เราต้องการเสียงแล้วจากนั้น ไปขั้นตอนที่ 2 ครับ
2.จากนั้น copy โค๊ดของคลิป เช่น http://youtube.com/watch?v=ubw2Zzqt5s1
3.เข้าเว็บ http://www.video2mp3.net/
นำโค๊ดที่ได้มามาวางในช่องตามรูปเลยครับ จากนั้นติ๊กที่ High Quality (?) เพื่อให้คุณภาพเสียงที่ดีครับ
หลังจากนั้นรอสักพัก ก็ ดาวน์โหลด ไปใช้งานได้เลยครับ
**********************************************************************************

เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 7.3 จดหมาย(ไม่)ผิดซอง

อ้างอิง: หนังสือเพลงชีวิต “ศิลปินครูบ้านป่า สลา คุณวุฒิ” สำนักพิมพ์มิ่งมิตร เขียนโดย ชูเกียรติ ฉาไธสง , คมทัพแสง บรรณาธิการ แคน สาลิกา เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 7.3 จดหมาย(ไม่)ผิดซอง โดย: แคน สาลิกา : มีนาคม 2545

-“ เด็กคนนี้มีแวว…อีกไม่กี่ปีต้องดังแน่ๆ” สลาคิดในขณะที่ปู- คัมภีร์ กำลังบรรเลงเพลงบนเวทีกลางผู้คนคับคั่งในหอประชุมแห่งนั้น -หลังเวทีทั้งคู่ไม่ได้พูดคุยอะไรกันนักเพราะเป็นคนขี้อายเหมือนๆกัน นอกจากรอยยิ้มและคำทายเล็กๆน้อยๆแล้วต่างฝ่ายต่างก็มีเงาร่างแห่ง ความประทับใจในความทรงจำเท่านั้น เมื่อย้อนวันเวลากลับไป ภาพหนุ่มน้อยแปลกหน้ากับกีตาร์คู่ใจยังกระจ่างชัดในห้วงคิดคำนึงของครูหนุ่มจนบัดนี้ -การได้สัมผัสกลุ่มลำมูล ซึ่งเป็นคนเขียนหนังสือล้วนๆ นับเป็นสุด ยอดปรารถนาของสลาทีเดียว เพราะอย่างน้อยจะได้เติมไฟสร้างสรรค์และเติมกำลังใจในการทำงานตามที่ตัวเองศรัทต่อไป โดยไม่ต้องโดดเดี่ยวเกินไปนัก -เพียงแต่ไฟสร้างสรรค์ที่เติมให้มันอาจจะร้อนเกินไป ร้อนจนครุหนุ่มจากบ้านนาหมอม้าเกิดความกลัว และใจฝ่อแทบเลิกเอาดีทางเขียนหนังสือไปเลย -“ กลุ่มลำน้ำมูลเขาเป็นมืออาชีพแล้วนะตอนผมเข้าไป… ของผมยังฝึกหัดอยู่เลย … เราก็อยากไปฝึกฝนกับเขาเพราะงานเขียนเรามันยังไม่ผ่าน… แต่พอเข้าไปจริงๆผมก็ผิดหวังมาก เพราะเขาวิพากษ์วิจารณ์กันแรงมาก… แรงจนผมกลัวเพราะเหมือนไปฟังเถียงกันมากกว่า… จากที่เคยมั่นใจนี่ใจฝ่อไปหมดเลย” -สลาย้อนความหลังตรงนี้ให้ฟังว่า -“ ตอนนั้นเขามีโครงการทำสำนักพิมพ์ลำน้ำมูล.. กะว่าจะพิมพ์งาน ของวงเดือน ทองเจียว ก่อ แต่พอแก่เขียนเรื่องไปให้เพื่อนอ่านนี้โดนวิจารณ์แหลกเลย…ดูเหมือนต่างคนต่างไม่ยอมรับงานของกันและกันนี้ขนาดดวงเดือนมีงานรวมเล่มมาก่อนแล้วนะ ยังโดนใจเลย…อย่างฟอนนี้แรงมาก แต่แรงในเหตุผลนะ…ผมนี้กลัวมากกลับจากทัวร์ลำน้ำมูลก็คิดว่าเราอย่าไปยุ่งกับพวกเขาดีกว่า…ตอนนั้นไม่กล้าเขียนหนังสืออีกเลยคิดว่าจะเลิกแล้ว เพราะหมดกำลังใจ…” -“ แต่ย้อนคิดกลุ่มลำน้ำมูลก็มีบุญคุณกับผมมากนะ…ทำให้ได้ประสบการณ์รู้ว่าวงการนี้มันกว้างขนาดไหน…รู้จักเพลงร็อกเพลงบลูส์กับพวกเขาไปด้วย ได้ทฤษฏีเขียนเพลงก็จากพวกเขานี่แหละ” -แม้สลาจะแวะผ่านเข้ามาหา “ กลุ่มวรรณกรรมลำน้ำมูล” เพียงแผ่วผิวแต่ในความเป็นมิตรน้ำหมึก เขาก็ยังผูกพันอยู่กับเพื่อนนักเขียนอีกหลายคนไม่ว่าจะเป็น บุญมา ภูเม็ง , ฟอน ฝ้าฟาง, รวมถึง สัญลักษณ์ ดอนศรี คนลำน้ำมูลอีกคนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จบนเส้นทางนักสร้างเพลง

อ่านต่อ เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 8 ตั้งเกณฑ์สูง อย่าตั้งความหวังสูง

เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 7.2 จดหมาย(ไม่)ผิดซอง

อ้างอิง: หนังสือเพลงชีวิต “ศิลปินครูบ้านป่า สลา คุณวุฒิ” สำนักพิมพ์มิ่งมิตร เขียนโดย ชูเกียรติ ฉาไธสง , คมทัพแสง บรรณาธิการ แคน สาลิกา เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 7.2 จดหมาย(ไม่)ผิดซอง โดย: แคน สาลิกา : มีนาคม 2545
ต่อจากตอน 7.1
- ขณะนั้นมีกลุ่มวรรณกรรมเล็กๆ ทางอีสานเกิดขึ้นมา เป็นการรวมกลุ่มของคนหนุ่มไฟแรงภายใต้ชื่อ “วรรณกรรมลำน้ำมูล “ มีสมาชิกที่ค่อนข้างโดดเด่นคือ ฟอน ฝ้าฟาง ,วงเดือน ทองเจียว, บุญมา ภูเม็ง, ปราโมทย์ ในจิต , สัญญาลักษณ์ ดอนศรี เป็นต้น -สลา เข้ามาสัมผัสกลุ่มนี้โดยการแนะนำของอดีตเพื่อนร่วมสถาบัน วค.อุบลฯ นาม คม ทัพแสง คนหนุ่มผู้มีฝีมือด้านการเขียนเพลงอีกคนหนึ่ง คมทัพแสงเป็นผู้มีส่วนจุดประกายความอยากเป็นนักเขียนให้สลาตั้งแต่ยังเรียนอยู่และมีความสัมพันธ์กับกลุ่มลำน้ำมูลอยู่ก่อนแล้ว -ว่ากันจริง ๆ ความสำเร็จด้านงานเขียนของเขา ยังแตกต่างกับสมาชิกกลุ่มลำน้ำมูลอยู่มาก เพราะอย่าง ฟอน ฝ้าฟาง หรือวงเดือน ทองเจียว ต่างเริ่มมีชื่อเสียงในวงกว้างกันแล้ว ในขณะที่ตัวเขาเองอยู่ในระดับฝึกหัดเพื่อเข้าสู่ถนนนักเขียนเท่านั้น -ปี 2528 -2529 กลุ่มวรรณกรรมลำน้ำมูล จัดโครงการกิจกรรมวรรณกรรมตามโรงเรียนต่าง ๆ ในละแวกภาคอีสาน มีการให้นักเรียนประกวดเขียนกลอน, เรื่องสั้น มีการแสดงดนตรีและละครบนเวทีด้วย โดยผู้รับผิดชอบด้านดนตรี และละคร คือ บุญมา ภูเม็ง และคม ทัพแสง ครั้งนั้นสลามีโอกาส ไปช่วยงานบนเวทีที่ และสีคิ้ว โดยรับหน้าที่ร้องเพลงให้นักเรียนฟังเป็นหลัก -การทัวร์ครั้งนี้ เขาได้พบเพื่อนใหม่ซึ่งเป็นนักเขียนเลือดอีสาน แต่ไปตั้งรกรางอยู่ที่ส่วนกลางหลายคนอาทิ กวีหนวดงามผู้กำลังเลือดลมร้อนแรงนาม “เสรี ทัศนศิลป์ “ หรือพระสึกใหม่ ผู้เป็นฆราวาสได้ไม่กี่ปีนาม “ไพวรินทร์ ขาวงาม “ ที่มาร่วมโครงการนี้ด้วย -ครั้งที่ออกกิจกรรมที่ร้อยเอ็ด ทางกลุ่มมีแขกรับเชิญมาช่วยงานบนเวทีอีกคนหนึ่งจากการชักนำของบุญมา ภูเม็ง เป็นเด็กหนุ่มจากเมืองหนองคายที่กำลังร่อนแร่ในวงการเพลงโดยไม่มีใครรู้จักนาม พงษ์สิทธิ์ คัมภีร์ หรือที่เรียกกันในหมู่เพื่อนๆว่า ปู-คัมภีร์ นั่นเอง -ปู- คัมภีร์ มีแววโดดเด่นมาตั้งแต่ตอนนั้น โดยเฉพาะช่วงร้องเพลงบนเวที เขาคว้ากีตาร์ขึ้นโชว์เพลงชุด คนไกลบ้าน ของคาราวาน ที่มีเพลง เสือร้องไห้ เป็นเพลงเอกด้วยน้ำเสียงกังวานใสทรงพลัง สะกดคนฟังให้นิ่งงันด้วยความประทับใจกันถ้วนหน้า แม้แต่ตัวลาเองที่ออกงานเทียนก้อมมาแล้วยังยอมรับว่าปูนั้นมีบุคลิกทางดนตรีที่พิเศษ และต้องเติบโตบนถนนดนตรีในอนาคตอย่างแน่นอน
อ่านต่อ เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 7.3 จดหมาย(ไม่)ผิดซอง

9 ขั้นตอนการเขียนเพลงของ ครูสลา คุณวุฒิ

โดยครูสลา คุณวุฒิ อ้างอิง : ลูกทุ่งดอทคอม สงวนลิขสิทธ์โดยสโมสรนักเขียนภาคอีสาน 9 ขั้นตอนการเขียนเพลงของ ครูสลา คุณวุฒิ 1.การหาเรื่องราว, ประเด็น 2.การตั้งชื่อเรื่อง, ชื่อเพลง 3.วิเคราะห์แนวทาง 4.คิดหาทำนอง 5.วางแผนการใช้ถ้อยคำ 6.ลงมือเขียน 7.ฟักตัว 8.ทบทวนขัดเกลา 9.ร้องไกด์ - จาก 9 ขั้นตอนการเขียนเพลง ที่นำเสนอเป็นแนวทางให้กับ คนเขียนเพลง เป็นแนวทางหลักที่เชื่อว่า จะทำให้สามารถเขียนเพลงออกมาได้ เพลงหนึ่ง หรือหลายๆเพลง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความสามารถของ นักแต่งเพลงแต่ละคน บางคนอาจมีใช้ขั้นตอนและวิธีการเขียนเพลง แตกต่าง มาก น้อยไป จากนี้ ถือว่าไม่ผิดหลักการแต่ประการใด จากใจ meboon - ความสำเร็จของทุก นักล่าฝัน คือ การนำหลักการของ ผู้ที่สำเร็จแล้วมาตั้งเป็นบทเรียนหลัก จากนั้น ใช้หลักการประยุกค์ ให้เข้ากับ บุคลิก และ ความถนัดของตัวเอง สถานการณ์ปัจจุบัน และอนาคนอันใกล้ หมั่นฝึกฝน จนเกิดความชำนาญ พร้อมกับติดตามข่าวสาร ความเป็นไปของเส้นทางสายฝัน ไม่ว่าจะเร็วหรือช้าเพียงใด ต้องสำเร็จแน่นอนครับ -สำหรับครูสลา คุณวุฒิ ใช้หลักการแต่งเพลง ทั้ง 9 ขั้นตอนนี้ ในการเขียนเพลง มาจนเป็น ครูสลา คุณวุฒิ ในทุกวันนี้ -รายละเอียดที่เหลือในแต่ละหัวข้อจะนำมาลงให้ต่อไปครับ

แนวทางการสร้างเพลง ครูสลา (ตอนที่ 5 )ใช้ภาษาอย่างไรให้โดนใจ

แนวทางการสร้างเพลง ครูสลา (ตอนที่ 5 )ใช้ภาษาอย่างไรให้โดนใจ โดยครูสลา คุณวุฒิ อ้างอิง : ลูกทุ่งดอทคอม สงวนลิขสิทธ์โดยสโมสรนักเขียนภาคอีสาน - การเขียนกลอนลำ ครูสลา คุณวุฒิ มีแนวทางเป็นหลังการเขียนกลอนลำ ของตนเอง โดยใช้ปรัชญา คือ - เขียนงานเข้าหาชาวบ้าน ไม่ใช่ดึงชาวบ้านมาหางานเรา - นั้นคือ การนำเรื่องราวชีวิตของชาวบ้าน มาเขียนกลอนลำให้ชาวบ้านฟัง ไม่ใช่สร้างเรื่อง ของเราขึ้นมาแล้วดึงชาวบ้านมาฟัง - ส่วน “ส่วนวิธีการนำเสนอ” กลอนลำของ สลา คุณวุฒิ ใช้หลักการดังนี้ - ด้านเนื้อหา ยังคงยึดแนวทาง 5 ข้อ แบบเดียวกับการเขียนเพลงลูกทุ่ง คือ 1.ขึ้นต้นต้องโดนใจ 2.เนื้อในต้องคมชัด 3. ประหยัดคำไม่วกวน 4. ทำให้คนฟังคิดว่าเป็นเพลงของเขา 5. จบเรื่องราวประทับใจ - ด้านรูปแบบ กลอนลำแต่ละประเภทมีจังหวะ ทำนองเป็นของตัวเอง การเขียนเนื้อนอกจาก กินใจแล้ว จะต้องไม่ขัดกับทำนองของกลอนลำแต่ละประเภท และการประยุกต์รูปแบบต้อง กลมกลืน ที่สำคัญประยุกต์อย่างไรก็อย่าให้หมอลำเป็นอย่างอื่น เปรียบเหมือนทำส้มตำ แม่ครัว จะใส่อะไรลงไปก็ได้ แต่จะต้องให้คงความมีรสชาติเป็นส้มตำ ถ้าผิดฝืนทำส้มตำให้เป็นพิซซ่า คนกินก็รับไม่ได้ - ด้วยหลักการเขียนกลอนลำดังกล่าวทำให้ ครูสลา คุณวุฒิ สามารถเขียนกลอนลำ ได้อย่างดี มีผลงานมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน - ครูสลา คุณวุฒิ ใช้เวลาในการเขียนเพลง แต่ละเพลงประมาณ 30 นาที แต่ใช้เวลาในการ คิดเพลงแต่ละเพลงไม่เท่ากัน แต่ส่วนมากจะให้หลักการ “ คิดนานเขียนเร็ว” - ฟักตัว - หลังจากที่ลงมือเขียนจนเสร็จ ถือว่างานทุกอย่างเกือบเรียบร้อย นักแต่งเพลงแต่ละคนอาจใช้ เวลาในการเขียนเพลงมากน้อยแต่กต่างกัน แต่โดยวิธีการที่ถูกต้อง น่าจะลงมือเขียนให้เสร็จ รวดเดียวจบทันที เพราะหากปล่อยทิ้งไว้โดยเขียนไม่จบบางทีข้อมูล เรื่องราวต่างๆ ที่ผ่านขั้นตอน เตรียมการต่างๆ มาเป็นอย่างดีอาจมีลืมหายไป - การฟัวตัว คือ ทิ้งเนื้อเพลงที่เขียนเสร็จเรียบร้อยไว้ระยะหนึ่ง แล้วกลับมาทบทวนและขัดเกลา ในขั้นนตอนต่อไป (ทบทวน - ขัดเกลา) - หลังจากผ่านระยะการฟักตัวแล้ว นักแต่งเพลงต้องกลับมาดู เพลง ที่เขียนไว้อีกครั้งหนึ่ง เพื่อ เป็นการทบทวน และขัดเกลาเพลงทั้งหมดอีกครั้งหนึ่ง อาจมีการแก้ไขถ้อยคำบางคำ หรือปรับ ทำนองบางท่อน - ขั้นตอนนี้จะทำให้เพลงมีความสมบูรณ์ที่สุด เพราะถือว่าผ่านกระบวนการ และขั้นตอนการ เขียนเพลงมาตามลำดับแล้ว - นักแต่งเพลงทุกคนจะพอใจเมื่อได้ เพลง ที่ผ่านการทบทวนและขัดเกลา แก้ไขจนเป็นที่พอใจ ของตนเองแล้ว ถือว่างานเขียนเพลงมาถึงขั้นสุดท้าย - ร้องไกด์ - ขั้นตอนสุดท้ายของการเขียนเพลง คือ การทำอย่างไรที่จะทำให้เพลงที่เขียน เสร็จสมบูรณ์ คือ คนอื่นฟังรู้เรื่องด้วยทั้ง เนื้อร้อง และทำนอง นักแต่งเพลงจะต้องทำการร้องเพลง ของตนเอง เรียกว่า การร้องไกด์ พยามให้เหมือนกับตัวเองต้องการที่สุด ขั้นตอนนี้นักแต่งเพลงบางคนมีปัญหา ในการร้องเพลงอาจให้คนอื่นร้องแทน แต่ต้องพยามให้สื่อความหมายตรงกับที่ตัวนักแต่งเพลงต้องการ - การร้องไกด์ มีทั้งแบบที่ง่ายที่สุด ไปจนถึงแบบที่ยากที่สุด ซึ่งทั้งสอบแบบ มีความหมายเดียวกัน คือ ทำให้คนอื่นรู้จักเพลงที่ตนเองแต่งเท่านั้น จึงไม่จำเป็นต้องลงทุนเสียค่าใช้จ่ายแพงๆ อ่านต่อ ตอนที่ 6 ครับ

แนวทางการสร้างเพลง ครูสลา (ตอนที่ 4 ) การตั้งชื่อเพลง

แนวทางการสร้างเพลง ครูสลา (ตอนที่ 4 )
โดยครูสลา คุณวุฒิ
อ้างอิง : ลูกทุ่งดอทคอม
สงวนลิขสิทธ์โดยสโมสรนักเขียนภาคอีสาน
- การตั้งชื่อเรื่องเพลง - ชื่อเรื่อง คือ การสรุปเรื่องราวทั้งหมดที่พบเห็นมาจากการรวบรวมเรื่องราว ประเด็น แลลแรงบันดาลใจ ทั้งหมด สรุปเป็นคำสั้นๆ ที่ครอบคลุมเรื่องราว เนื้อหา ที่อาจจะเป็น นำไปสู่การตั้งเป็น ชื่อเพลง ในขั้นตอน ต่อไป - ชื่อเพลงคือ ส่วนสำคัญที่สุดของเพลง เป็นหัวใจ ของเพลงเพราะเป็นสื่อความหมายอันแรงที่จะทำให้คนรู้จัก เพลงและอย่างฟังเพลง - หลังการตั้งชื่อเพลง คือ ใช้คำสั้นๆ มีความหมายกินใจ ให้คนฟังอย่างฟังเพลง และที่สำคัญต้องสื่อความหมาย ไปยังเนื่อเพลง และครอบคลุมเนื้อหาเพลงทั้งหมด ชื่อเพลงงกับเพลง ต้องสอดคล้องกัน ฟังชื่อเพลงแล้วสามารถ จินตนาการถึงเนื้อเพลงได้ และฟังเพลงจบต้องมีความรู้สึกว่าตรงกับ ชื่อ เพลง - ขั้ตตอนนี้ ครูสลา จะให้ความสำคัญกับตั้งชื่อเพลงก่อน เพื่อให้ง่ายต่อการเขียนเพลง - วิเคราะห์แนวทาง เมื่อผ่านขั้นตอนการนำประเด็น สรุปเป็น ชื่อเพลงแล้ว ต้องนำมาวิเคราะห์หาแนวทางว่า เพลงที่จะแต่งออกมานั้น น่าจะมีลักษณะเป็นอย่างไร ส่วนใหญ่จะกำหนดกรอบแนวทางของเพลงออกเป็น 2 ประการคือ - 1 ควรจะนำเสนออย่างไร กลุ่มเป้าหมาย (คนฟัง) นักร้อง (ผู้นำเสนอ) - 2 ควรจะแต่งเป็นเพลงแบบไหน เพลงช้า เพลงเร็ว - คิดหาทำนอง ทำนองเพลง คือองค์ประกอบสำคัญลำดับที่สองของเพลงรองจากเนื้อเพลง นักแต่งเพลงบางคนแต่งเพลง โดยคิดทำนองก่อนที่จะเขึยนเนื้อเพลง บางคนเขียนเนื้อเพลง ก่อนที่จะใส่ทำนองบางคนเขียนเนื้อเพลงและใส่ทำนองไปพร้อมกัน เป็นเทคนิคของนักแต่งเพลงแต่ละคน ครูสลา คุณวุฒิ ชอบที่จะเขียนเนื้อเพลงไปพร้อมกันการใส่ทำนอง - ใช้ถ้อยคำ คำที่ใช้ในเพลง หรือ ภาษาที่ใช้ในเพลงแตกต่างไปจากภาษาที่ใช้พูดและเขียนทั่วไป เพราะเป็นถ้อยคำที่ จะสื่อความหมายไปยัง ผู้ฟังโดยการฟังเพียงอย่างเดียว นักแต่งเพลงจะต้องมีความสามารถในการใช้ถ้อยคำ เป็นอย่างดี ซึ่งต้องมาจากการฝึกฝน การคิด การค้นหา และมาจากการฝึกหัดการใช้คำมากๆ - นักแต่งเพลงบางคนมีภาษา เป็นลักษณะเฉพาะของตนเอง เมื่อเขียนเพลงออกมาแล้วคนฟัง สามารถบอกได้ว่าเป็นใคร ซึ่งเป็นความสามารถเฉราะตัวของแต่ละคน แต่นักแต่งเพลงทุกคนสามารถที่จะมีภาษา เป็นของตนเอง - การใช้ถ้อยคำในเพลง มีหลักสำคัญที่ครูสลาใช้ในการเขียนเพลง คือ "ทำอย่างไรคนจึงได้ยินและจำได้" - การวางแผนการใช้ถ้อยคำส่วนมากจะคำนึงถึงโครงสร้างของเพลงเป็นหลักในการวางคำ เช่น -คำขึ้นต้น ท่อนแรก -คำที่ใช้ใน ท่อนแยก -คำที่ใช้ใน ท่อนจบ - การวางแผนการใช้ถ่อยคำบางครั้ง จำเป็นจำเป็นต้องใช้วิธีการ ร่าง และบันทึก เมื่อนึกถึง ถ้อยคำ ที่จะนำมาใช้ในบทเพลง แล้วค่อยนำมาเรียบเรียงใหม่ในตอนเขียนเนื้อเพลง - นักแต่งเพลงทุกคนจะต้องมี คลังคำ หรือ หลังภาษา ที่สามารถหยิบมาใช้ได้อย่างทันทีที่ต้องการ -ชอยกตัวอย่าง "นักแต่งเพลง" มือหนึ่งของวงการเพลงไทย ซึ่งมีประสบการณ์ในการเขียนเพลงมากกว่า 300 เพลง ในระยะเวลา 20 ปี โดยเฉพาะ "เพลงรักโดนใจ" เพลงแต่ละเพลงมี ภาษามีถ้อยคำ ที่ทำให้คนฟัง ขอบใจ ทำให้เพลงได้รับความนิยม และทำให้นักร้องดังทั่วประเทศกันหลายคนคือ นิติพงษ์ ห่อนาค อ่านต่อ ตอนต่อไป

เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 7.1 จดหมาย(ไม่)ผิดซอง

อ้างอิง: หนังสือเพลงชีวิต “ศิลปินครูบ้านป่า สลา คุณวุฒิ”
สำนักพิมพ์มิ่งมิตร เขียนโดย ชูเกียรติ ฉาไธสง , คมทัพแสง บรรณาธิการ แคน สาลิกา เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 7.1 จดหมาย(ไม่)ผิดซอง โดย แคน สาลิกา : มีนาคม 2545
- ฝอยสีขาวแผ่คลุมตั้งแต่ริ้วเมฆจรดตีนฟ้า คือสายฝนสุดปลายฤดูที่เชื่อมต่อฤดูหนาว
ซึ่งกำลังจะมาเยือนในอีกไม่กี่วัน เมฆเทาหม่นคลื่นไปมาตามแรงลมกรรโชคกลางหยาดน้ำตกลงกระทบผืนดิน
อย่างไม่ขาดสาย เป็นเสียงเพลงฤดูกาลที่ผ่านไป และย้อนมาเยือนครั้งแล้วครั้งเล่า - บ้านพักครูหลังนั้นดูโดดเดี่ยวกลางม่านฝน เสียงหยาดน้ำกระทบหลังคาบ้าน และกลิ่นหอมของดอนยามฝนตกใหม่ๆ ให้ความรู้สึกเปล่าเปลี่ยวสุดประมาณ นี่เป็นบ้านซึ่งสลาเข้ามาอยู่ได้เพียงระยะหนึ่ง หลังจากที่ช่วงแรกต้องอาศัยห้องเก็บของเสียนาน - กองม้วนเทปวงเทียนก้อมที่เหลือจากการจัดจำหน่ายครั้งล่าสุด วางซ้อนอยู่บนโต๊ะกินข้าว 4-5 ม้วนบนกล่องเทปมีจดหมายฉบับหนึ่งวางอยู่ เป็นจดหมายที่พนักงานไปรษณีย์เพิ่งมาส่งได้ไม่นานนัก - จดหมายฉบับนี้พิเศษตรงที่ส่งผิดคนโดยบังเอิญ เข้าใจว่าคนส่งคงรีบร้อนไปหน่อย แง่มุมเล็กๆเพียงแค่นี้ถ้าเป็นคนทั่วไปคงมองข้ามไม่ได้ใส่ใจ แต่สำหรับคนที่มีวิญญาณศิลปิน เรื่องนี้นับเป็นวัตถุดิบชิ้นยอดที่พึงมิได้ เนื้อความในกระดาษบอกเล่าถึงเรื่องการงานและสารทุกข์สุกดิบธรรมดา แต่สลามานั่งเรียบเรียงด้วยจินตนาการเรื่องความรัก เพราะเป็นสิ่งกระทบใจคนในวงกว้างได้ค่อนข้างดี - แม้จะแต่งเพลงออกมามากพอสมควรแล้วก็ตาม แต่สลาก็ถูกวิจารณ์จากเพื่อนครูเสมอว่าแต่งได้เฉพาะเพลงช้าๆ ส่วนเพลงเร็วแต่งไม่เป็น ดังนั้นเพลงในจังหวะสนุกสนานในชื่อ จดหมายผิดซอง จึงเกิดขึ้นมาเงียบๆ - เริ่มแรกครูหนุ่มไม่ใส่ใจกับเพลงนี้มากนัก เพียงแต่ลองให้เพื่อนครูที่สอนภาษาไทยเอาไปให้เด็กนักเรียนร้องสนุกๆในชั่วโมงเรียนดู ปรากฏว่าเด็กชอบ และกลายเป็นเพลงฮิตในโรงเรียนขึ้นมาทันที ดังนั้น เมื่อมีกิจกรรมที่เด็กต้องเชียร์กีฬาเมื่อไร เพลงนี้ก็ได้รับการขับร้องด้วยความสนุกสนานอยู่ตลอด - “ พี่แสนดีใจ ได้รับจดหมายจากไปรษณีย์…จ่าหน้าซองถึงพี่ สอดซองสีนี้ไม่ใช่ใคร…พี่จำได้แน่นอน ว่าบังอรส่งถึงพี่ชาย เปิดอ่านดูข้างใน ต๊ายตายจดหมายผิดซอง…” - บทเพลงนี้ถูกเก็บไว้เพื่อรอเวลานำไปเผยแพร่ในช่วงอันเหมาะสมต่อไป - ว่ากันถึงวงเทียนก้อมบ้าง ต้นทุนสองหมื่นบาทที่มีคนช่วยออกทุนทำเทปชุดแรก สามารถขายคืนทุนได้หมดในเวลาไม่มากนัก นอกจากนั้นยังมีกำไรเหลือมาอีกไม่น้อย จนสลาต้องวางโครงการจัดกองทุนให้นักเรียนที่ด้อยโอกาสในตัวอำเภออีก เรียกได้ว่าผลงานชุดนี้บรรลุวัตถุประสงค์ทุกประการ - การขายแบบน้ำซึมบ่อทราย พอหมดก็มาปั้มใหม่ของวงเทียนก้อมทำให้นายห้างกรุงไทยออร์ดิโอสนใจจนขอซื้อมาสเตอร์เทปมาจัดจำหน่ายให้สลาและเพื่อนก็ตอบตกลงอย่างยินดี และขาดอัลบั้มนี้ในราคาพอประมาณ พวกเขาต้องเข้ากรุงเทพฯอีกครั้ง เพื่อเซ็นสัญญาและรับค่ามาสเตอร์เทปไปพร้อมๆกัน และนี้เป็นการจำหน่ายแบบเข้าสู้ระบบเป็นครั้งแรกของเทียนก้อม - เข้ากรุงเทพฯคราวนี้ เขาเอาเพลงจดหมายผิดซองไปฝากวิทยา กีฬา ช่วย ติดต่อ เผื่อมีใครสนใจอยากเอาเพลงนี้ไปร้อง ฝากกไปแล้วเขาก็ไม่ได้ใส่ใจอีกเพราะหากไปตั้งความหวังไว้มากเกิน ก็มีแต่เป็นกังวลให้ทุกข์ใจเปล่าๆ - เทียนก้อมมีงานแสดงสดอย่างสม่ำเสมอในละแวกเมืองอำนาจเจริญและอุบลฯ ช่วงนี้สลาซุ่มเขียนเพลงใหม่ๆ เพื่อเตรียมทำอัลบั้มชุดที่ 2 กระตือรือร้น คราวนี้ต้นทุนเพิ่มจากเดิมกลายเป็นสามหมื่นกว่าบาทโดยมีวิทยา กีฬา เจ้าเก่าเป็นผู้ช่วยดูแลดนตรีเหมือนเคย - และชุดที่ 2 นี้เขาใช้ชื่อว่า กระดานร้าง - วงเทียนก้อมของชาวครูอำนาจเจริญ ดำเนินบทบาทของตังเองต่อไประยะหนึ่ง จนกระทั่งถึงจุดอิ่มตัวเพราะเพื่อนสมาชิกในวงหลายคนต้องย้ายข้ามถิ่นไปโรงเรียนอื่น บางคนไปไกลถึงต่างจังหวัด มีผลทำให้องค์ประกอบในวงไม่สมบูรณ์ และต้องเลิกราไปเงียบๆในที่สุด - หากแต่ในใจลึกๆ ของเขา ยังหวังเสมอว่าหากมีโอกาสเขาอยากทำอัลบั้มเทียนก้อมอีกสักชุด อย่างน้อยเพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงการเริ่มต้นของตัวเองในช่วงวัยหนุ่ม - สายลมฤดูกาลโชยพัดเป็นระลอก แผ่คลื่นความปรวนแปรของชีวิตมาด้วย คลื่นอันนี้ถ้าโถมเข้าไปในหัวใจของครูหนุ่มเงียบๆแต่รุนแรง ส่งผลให้รู้สึกเหนื่อยหน่ายท้อแท้ต่อสิ่งรอบตัวอย่างบอกไม่ถูก ไฟฝันที่เคยร้อนแรงบัดนี้ถูกวันเวลาลึกลับกัดกร่อนจนแทบหรี่โทรม แม้จะเริ่มต้นได้ดีกับวงเทียนก้อม แต่ก็ดูเหมือนความก้าวหน้าบนเส้นทางนี้ จะหยุดเพียงแค่ระดับนั้น - หากลองพิเคราะห์ย้อนหลังสาเหตุที่ทำให้สลาเกิดอาการดังกล่าว คงเป็นเพราะวงจรชีวิตที่เรียบง่ายและหยุดนิ่งเกินไป ซึ่งขัดแย้งกับช่วงวัยหนุ่มของตัวเอง - เขาอยู่ในความจำเจในบ้านพักครูหลังเล็กๆ จนกระทั่งมีข่าวดีที่ทำให้กระตือรือร้นขึ้นมาบ้าง นั่นคือเพลง จดหมายผิดซอง ได้รับคำชมเชยจาก สุรินทร์ ภาคศิริ ครูเพลงรุ่นใหญ่ และมีแนวโน้มว่าจะมีค่ายเทปสนใจซื้ออย่างแน่นอน ♫ ♫ ♫ - หากเปรียบเพลง จดหมายผิดซอง กับการเดินทาง บทเพลงก็ใช้เวลาร่วม 2 ปีทีเดียวกว่าได้บันทึกเสียงเป็นรูปเป็นร่างให้คนได้ฟังกันตามสื่อต่างๆแล้วระยะเวลา 2 ปีที่วงเทียนก้อมเลิกไป และจดหมายผิดซองยังไม่มีใครรู้จัก สลากำลังทำอะไรอยู่? - คำตอบคือ คราวนี้เขามุ่งมั่นจะเป็นนักเขียนอย่างจริงจังตามแบบนิมิต ภูมิถาวร ที่หลงใหล ศรัทธาขนาดเจียดเงินครูบ้านนอกซึ่งน้อยอยู่แล้วไปซื้อพิมพ์ดีดมาเครื่องหนึ่ง ฝึกพิมพ์จนช่ำชอง ตั้งหน้าตั้งตาลุยเขียนเรื่องสั้นและบทกวีอย่างหนัก - ระยะนั้นสลาส่งผลงานไปตามนิตยสารต่างๆ มากมาย แต่ก็โดนตีกลับเป็นส่วนใหญ่ มีไดลงพิมพ์ค่อนข้างน้อย ซึ่งทำให้ท้อใจอยู่เหมือนกัน(เรื่องสั้น “ นางเอก” และบทกวี 3-4 บทได้ลงนิตยสารฟ้าเมืองทองในนามปากกา “ศรีลัดดา”) ความหวังอย่างหนึ่งของสลาในตอนนั้นคือ อยากคบหาคนเขียนหนังสือเหมือนๆกัน เพื่อแลกเปลี่ยนทัศนะและช่วยติชมวิพากษ์วิจารณ์ผลงานของกันและกันได้บ้าง อย่างน้อยก็เป็นการฝึกปรือฝีมือได้อีกทางหนึ่ง
อ่าน่ต่อตอน 7.2

เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 6.2 “เทียนก้อม” เทียนแห่งการเริ่มต้น

อ้างอิง: หนังสือเพลงชีวิต “ศิลปินครูบ้านป่า สลา คุณวุฒิ” สำนักพิมพ์มิ่งมิตร เขียนโดย ชูเกียรติ ฉาไธสง , คมทัพแสง
บรรณาธิการ แคน สาลิกา
เรื่องราวครูสลา ตอนที่ 6.2 “เทียนก้อม” เทียนแห่งการเริ่มต้น
โดย แคน สาลิกา : มีนาคม 2545
ต่อจากตอนที่ 6.1
- เหนือสิ่งอื่นใด กระแสของวงคาราวาน ที่เพิ่งกลับคืนเมืองในคอนเสริ์ตฟอร์ยูนิเซฟ ครั้งที่ 1 เป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญที่ทำให้เขาอยากพัฒนาวงเทียนก้อมไปสู่การฟัง “ เอาเรื่อง “ มากกว่าฟังเอาสนุกเพียงอย่างเดียว - วงเทียนก้อม ตระเวนเดินสายตามโรงเรียนมัธยมทั่วไปที่ขออนุญาตได้ เพราะเป็นช่วงที่โรงเรียนระดับประถมศึกษาปิดเทอมพอดี แต่ระดับมัธยมยังไม่ปิด พวกเขาเล่นโดยไม่รับค่าตัว แต่จะให้นักเรียนบริจาคตามความสมัครใจแทน ซึ่งเงินที่ได้จะนำเข้าโครงการอาหารกลางวัน ตามโรงเรียนที่พวกเจาสอนทุกบาททุกสตางค์ - การทำวงเทียนก้อม มีผลอย่างมากในด้านการฝึกปรือทักษะเขียนเพลงของ สลา คุณวุฒิ เพราะต้องหาประเด็นทำเพลงใหม่ๆ ป้อนเทียนก้อมตลอดเวลา นอกจากนี้ เขายังเขียนเพลงลูกทุ่งที่ถนัดเป็นพิเศษส่งไปเสนอตามค่ายต่างๆเหมือนเดิม แต่ถ้าไม่นับ รุ่งเพชร แหลมสิงห์ ซึ่งเอเพลงเขาไปร้องบ้างแล้ว ค่ายเทปอื่นๆต่างมีเพียงความเงียบเป็นคำตอบทั้งสิ้น - ส่วนงานวรรณกรรม สลาก็ยังเขียนบทกวีและเรื่องสั้นอย่างสม่ำเสมอ ผลงานของเขาได้ผลประปรายตามนิตยสารต่างๆ ซึ่งช่วยให้มีกำลังใจขึ้นบ้าง - ขณะนั้น เขาแบ่งความคิดตัวเองไว้ว่า หากเป็นเพลงเกี่ยวกับครูหรือนักเรียนเขาจะแต่งฟรีๆ หรือถ้ามีใครมาขอก็ยินดีมอบให้โดยไม่คิดอะไร แต่ถ้าเป็นเพลงลูกทุ่งแล้ว เขาจะเก็บไว้ส่วนตัวเพื่อเสนอขายตามค่ายเทปทั่วไปเท่านั้น
♫ ♫ ♫♫ ♫ ♫♫ ♫ ♫♫ ♫ ♫♫ ♫ ♫♫ ♫ ♫♫ ♫ ♫♫ ♫ ♫♫ ♫ ♫♫ ♫ ♫♫ - อีกมุมหนึ่ง วิถีทุกข์สุขของคนเปรียบเหมือนบทเพลงสายน้ำที่ส่องให้เห็นความเป็นไปของชีวิต บางช่วงชัดเจนดั่งน้ำไหลเรียบเรื่อย บางช่วงพร่าพร่างดังน้ำที่กระเพื่อมตามแรงลม เต็มไปด้วยครรลองความขัดแย้งและกลมกลืน ดำรงอยู่เช่นนี้มาเนิ่นนาน - ทุกเย็น เสียงเพลงจากห้องพักครูจะดังแว่วมาตามลาเสมอ เหล่าครูซึ่งเป็นสมาชิกวงเทียนก้อม มุ่งมั่นซ้อมเพลงกันออย่างหนัก เพราะมีความหวังที่ได้ทำอัลบั้มของตัวเองโดยทุนจากนักการเมืองคนหนึ่ง - ว่ากันจริงๆเงิน 20,000 บาทที่ได้มานับเป็นจำนวนไม่มากเลยหากนำไปเทียบกับค่ายเพลงใหญ่ๆ ซึ่งต้องใช้เงินเหยียบแสนขึ้นไปต่อการทำงานในแต่ละชุด - สลามองเงินจำนวนนั้นอย่างใคร่ครวญ เขาต้องวางแผนการใช้จ่ายให้รอบคอบที่สุด เพราะโดยส่วนตัวไม่ได้มีความรู้เรื่องการอัดเสียงเลย หากพลาดพลั้งเทปชุดแรกก็คงไม่สำเร็จเป็นแน่ - เขาตัดสินใจนำเรื่องนี้ไปปรึกษาเพื่อนรักวิทยา กีฬา ผู้ซึ่งช่ำชองเรื่องห้องอัดเสียงเป็นอย่างดี วิทยาให้ความช่วยเหลือเพื่อนเก่าเต็มที่ โดยรับปากในในส่วนของการเรียบเรียงดนตรีให้ แม้จะจำกัดวงเงินเพียงน้อยนิดก็ตาม - ครูหนุ่มหอบบทเพลงแห่งความหวังเข้ากรุงเทพฯอีกครั้ง คราวนี้ห้องอัดเสียงย่านบางโพเป็นด่านทดสอบเขาว่าจะบรรลุถึงความหวังที่ซ่อนเร้นมานานหรือไม่ สลาวางเพลงในชุดไว้ 12 เพลงโดยมีเพลงเด่น คือ ผู้สันโดษ และ ติดลบพบรัก แต่เมื่อพิจารณาถี่ถ้วนแล้วเขาก็ตัดสินใจใช้ “ผู้สันโดษ” เป็นชื่อชุด - ตึกรามแออัดเรียงรายและไอเสียของยวดยานที่โชคคลุ้งราวหมอกร้ายห้อมล้อมทุกทิศทาง ทำให้สลาต้องปรับตัวอย่างเร่งรีบ เขาระงับความตื่นเต้นจากการเดินทาง รวบรวมสมาธิเพื่อทำงานให้เร็วและได้ผลที่สุด เพราะเงื่อนไขของตัวเองทำให้มีเวลาแค่ 2 วันเท่านั้น - วันแรกในห้องอัด พวกเขาวางโครงงานไว้ที่การบันทึกดนตรีสดๆทีละชิ้น โดยเริ่มต้นจากกลองซึ่งเป็นหัวใจของภาคดนตรีก่อน วันที่สอง ดนตรีก็ยังไม่เรียบร้อย จนต้องทำอีกครึ่งวันจึงค่อยฟังเป็นเพลงขึ้นมาบ้าง - เวลาจากเที่ยงถึงบ่ายสามโมง สลาเหมาร้องคนเดียว 12 เพลงรวดโดยไม่แก้เลย ร้องก็เป็นขั้นตอนของการมิกซ์เสียงจนจบสิ้นกระบวนการทำงานในวันนั้น - ยามค่ำที่ดวงดาวหลงทางปรากฏบนผืนฟ้ากรุงเทพฯเพียงเลือนราง มาสเตอร์เทป “ผู้สันโดษ “ ของวงเทียนก้อม จึงปรากฏบนสายธารดนตรีเป็นครั้งแรก แม้เป็นผลงานที่ทำอย่างเร่งรีบไปบ้าง แต่ก็ถือเป็นความงดงามเท่าที่คนหนุ่มคนหนึ่งจะฝันได้ในช่วงเริ่มต้น - กระบวนการทำเทปไม่ว่าจะใต้ดินหรือบนดิน หลังจากเสร็จงานที่ห้องอัดเป็นมาสเตอร์แล้ว ในขั้นต่อไปต้องนำไปปั้มเป็นเทปคาสเซ็ทเพื่อรอจัดจำหน่ายซึ่งสลาตัดสินใจนำมาสเตอร์เทปไปปั้มกับนายห้างกรุงไทยออดิโอ โดยวางปกครั้งแรกไว้ที่จำนวน 500 ม้วนก่อน - เขาได้ยุทธวิธีจัดจำหน่ายแบบทำเองขายเอง โดยให้เพทื่อนครูช่วยกันรับไปขายตามโรงเรียน รายได้ส่วนหนึ่งจะหักเข้าการกุศลในโครงการอาหารกลางวันซึ่งไม่น่าเชื่อเลยว่าเทปงวดแรกจะหมดลงอย่างรวดเร็วจนสลาต้องหอบมาสเตอร์เทปเข้ากรุงเทพฯปั้มใหม่อีกหลายครั้ง ครั้งละ 100 -200 ม้วน นับว่าไม่เลวเลยสำหรับเทปจรยุทธ์แบบนี้ - เสร็จจากโครงการทุนอาหารกลางวัน ก็มีโครงการซื้อแปรงสีฟันสำหรับเด็กนักเรียนของกลุ่มโรงพยาบาลตามมาอีก เทียนก้อมช่วยโครงการใหม่นี้อย่างเต็มที่ โดยหักรายได้ส่วนที่เป็นกำไรเข้ากองทุนทั้งหมดจนยอดขายทั้งหมดตกกอยู่ประมาณ 3,000 ม้วน - เทปของครูบ้านนอกกลุ่มนี้ทำให้นายห้างกรุงไทยต้องเหลียวมองด้วยความสนใจ เพราะยอดขายที่วิ่งไปได้เรื่อยๆแม้ไม่ดีมากนักแต่ก็ไม่ถึงกับขาดทุนให้เจ็บตัว - ผลงานชุดผู้สันโดษ เริ่มเป็นที่รู้จักในเขตเมืองอุบลฯ และอำนาจเจริญโดยเฉพาะ เพลงติดลบพบรัก ยังเป็นที่รู้จักมากกว่าเพื่อนในหมู่ราชการครูด้วยกัน - เนื้อหาของเพลงบรรยายสภาพชีวิตครูที่เป็นหนี้ ช่างแทนใจครูส่วนใหญ่ในสังคมไทยยิ่งนัก